อุบัติการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อการเชื่อมติดและการกร่อนสลายของกะโหลกเดิมหลังการผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะในโรงพยาบาลบุรีรัมย์

Main Article Content

รวีนุช เบี่ยงกลาง

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: กะโหลกเดิมเป็นวัสดุที่นิยมใช้ในการผ่าตัดปิดกะโหลก พบว่ามีปัญหาการเชื่อมติดและการกร่อนสลาย ซึ่งผู้ป่วยบางรายต้องเข้ารับการผ่าตัดใหม่
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อการเชื่อมติดและการกร่อนสลายเพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาเลือกวัสดุที่เหมาะสมเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนในการผ่าตัดปิดกะโหลก
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบ retrospective study ในผู้ป่วยที่ผ่าตัดปิดกะโหลกเดิมที่ โรงพยาบาลบุรีรัมย์ทุกรายที่มีภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองหลังผ่าตัด ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 - 31 มกราคม พ.ศ. 2566
ผลการศึกษา: ผู้ป่วย 54 ราย อุบัติการณ์การเชื่อมติดดี 33 ราย (ร้อยละ 61.1) การเชื่อมติดปานกลาง 10 ราย (ร้อยละ18.5) การเชื่อมติดน้อย 11 ราย (ร้อยละ 20.4) อุบัติการณ์ภาวะกร่อนสลายพบว่าไม่มีภาวะกร่อนสลาย 27 ราย (ร้อยละ 50.0) กร่อนสลายเล็กน้อย 14 ราย (ร้อยละ25.9) กร่อนสลายปานกลาง 6 ราย (ร้อยละ 11.1) กร่อนสลายมากเสียการป้องกันสมอง 3 ราย (ร้อยละ 5.6) กร่อนสลายมากเข้ารับการผ่าตัดใหม่ 4 ราย (ร้อยละ7.4) พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการเชื่อมติดดีคืออายุ กะโหลกแตกและระยะห่างระหว่างขอบ ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะกร่อนสลายสูงคืออายุ กะโหลกแตก ระยะห่างระหว่างขอบและภาวะแทรกซ้อน โดยปัจจัยที่ช่วยพยากรณ์การเกิดการเชื่อมติดดีและปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการกร่อนสลายสูงคืออายุ แต่เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยที่ทำการศึกษามีน้อยจึงไม่สามารถคำนวณอายุที่เหมาะสมในการเลือกใช้กะโหลกเดิมได้
สรุป: กะโหลกเดิมสามารถป้องกันการกระทบกระเทือนสมองได้ดีในผู้ใหญ่ การผ่าตัดควรยึดกะโหลกให้แน่นและมีระยะห่างน้อย ผู้ป่วยอายุน้อยหรือมีกะโหลกแตกควรหลีกเลี่ยงการใช้กะโหลกเดิมในการผ่าตัดปิดกะโหลกเนื่องจากพบว่ามีการกร่อนสลายสูง ส่งผลให้ภาวะแทรกซ้อนและค่าใช้จ่ายสูงขึ้น

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Aydin S, Kucukyuruk B, Abuzayed B, Aydin S, Sanus GZ. Cranioplasty: Review of materials and techniques. J Neurosci Rural Pract 2011;2(2):162-7. doi: 10.4103/0976-3147.83584.

Honeybul S, Morrison DA, Ho KM, Lind CR, Geelhoed E. A randomized controlled trial comparing autologous cranioplasty with custom-made titanium cranioplasty. J Neurosurg 2017;126(1):81-90. doi: 10.3171/2015.12.JNS152004.

Yadla S, Campbell PG, Chitale R, Maltenfort MG, Jabbour P, Sharan AD. Effect of early surgery, material, and method of flap preservation on cranioplasty infections: a systematic review. Neurosurgery 2011;68(4):1124-9; discussion 1130. doi:10.1227/NEU.0b013e31820a5470.

อเนชา พูลสวัสดิ์, เอกพจน์ จิตพันธ์. ภาวะแทรกซ้อนหลังการปิดกะโหลกศีรษะระหว่างการปิดด้วยกะโหลกศีรษะผู้ป่วยและกะโหลกศีรษะเทียมในผู้ป่วยกะโหลกศีรษะแหว่งหลังการผ่าตัดเอากะโหลกศีรษะออกจากอุบัติเหตุ. พุทธชินราชเวชสาร 2563;37(3):347-55.

Adaaquah D, Gates M, Van Gompel JJ. Rate of Craniotomy Fusion After Free Bone Flap. World Neurosurg 2018;118:e283-e287. doi: 10.1016/j.wneu.2018.06.172.

Kumar P, Kumar A, Jaiswal G, Gupta TK. Bone Flap Preservation in Abdominal Wall after Decompressive Craniectomy in Head Injury: A Single Institute Experience. Rom neurosurg 2018;32(3):491-5.

Jeon JP, Heo Y, Kang SH, Yang JS, Choi HJ, Cho YJ. Retrospective Chronologic Computed Tomography Analysis of Bone Flap Fusion and Resorption After Craniotomy and Autologous Cryopreserved Cranioplasty. World Neurosurg 2019;129:e900-e906. doi: 10.1016/j.wneu.2019.06.088.

Hopewell JW. Radiation-therapy effects on bone density. Med Pediatr Oncol 2003;41(3):208-11. doi: 10.1002/mpo.10338.

Lerch KD. Reliability of cranial flap fixation techniques: comparative experimental evaluation of suturing, titanium miniplates, and a new rivet-like titanium clamp (CranioFix): technical note. Neurosurgery 1999;44(4):902-5. doi: 10.1097/00006123-199904000-00137.

Korhonen TK, Salokorpi N, Niinimäki J, Serlo W, Lehenkari P, Tetri S. Quantitative and qualitative analysis of bone flap resorption in patients undergoing cranioplasty after decompressive craniectomy. J Neurosurg 2018;130(1):312-21. doi: 10.3171/2017.8.JNS171857.

Carvi Y Nievas MN, Höllerhage HG. Early combined cranioplasty and programmable shunt in patients with skull bone defects and CSF-circulation disorders. Neurol Res 2006;28(2):139-44. doi: 10.1179/016164106X98008.

Ying K, Hsu S-K, Huang C-T. Bone flap malunion and resorption after cranioplasty with bioabsorbable implants in an adult drug abuser. Resuscitation & Intensive Care Med 2016;1:168–72.