การศึกษาปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับและปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณรังสีจากการตรวจเต้านมด้วยเครื่องเอกซเรย์เต้านมระบบดิจิตอลในโรงพยาบาลบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: ปริมาณรังสีและปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณรังสีจากการตรวจเอกซเรย์เต้านมเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเพื่อให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัยได้รับปริมาณรังสีไม่เกินค่าปริมาณรังสีอ้างอิง
วัตถุประสงค์: เพื่อหาปริมาณรังสีและปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณรังสีจากการตรวจเอกซเรย์เต้านม
วิธีการศึกษา: ช่วงที่ 1 เก็บข้อมูลผู้ป่วยและหาปัจจัยที่มีผลต่อการได้รับปริมาณรังสี ช่วงที่ 2 เก็บข้อมูลหลังทราบปัจจัยที่มีผลต่อการได้รับปริมาณรังสี การวิเคราะห์ข้อมูลหาค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมประสิทธิ์การตัดสินใจจากสถิติวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้น
ผลการศึกษา: ช่วงที่ 1 ปริมาณรังสีดูดกลืนเฉลี่ยที่เต้านมด้านขวาท่าตรง ท่าด้านข้าง ด้านซ้ายท่าตรง ท่าด้านข้างระดับควอไทล์ที่ 3 เท่ากับ 1.84, 2.24, 1.97 และ 2.35 มิลลิเกรย์ ปริมาณรังสีดูดกลืนที่ผิวหนังทางเข้าระดับควอไทล์ที่ 3 เท่ากับ 6.41, 8.97, 7.39 และ 9.05 มิลลิเกรย์ตามลำดับ ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณรังสี ค่า kVp ค่า mAs และค่าความหนาของเต้านมค่าสัมประสิทธิ์ในการตัดสินใจ 0.61 – 0.94 ช่วงที่ 2 ผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีดูดกลืนเฉลี่ยที่เต้านมเกินค่าปริมาณรังสีอ้างอิงเต้านมด้านขวาท่าตรง ท่าด้านข้าง ด้านซ้ายท่าตรง ท่าด้านข้างลดลงเหลือร้อยละ 5.8, 7.5, 5.0 และ 7.5 ปริมาณรังสีดูดกลืนที่ผิวทางเข้าเกินค่าปริมาณรังสีอ้างอิงลดลงเหลือร้อยละ 4.2, 7.5, 5.0 และ 10.8 ตามลำดับ
สรุป: ปริมาณรังสีดูดกลืนเฉลี่ยที่เต้านมมีค่าไม่เกิน 2.35 มิลลิเกรย์ และปริมาณรังสีดูดกลืนที่ผิวหนังทางเข้ามีค่าไม่เกิน 9.05 มิลลิเกรย์ต่อภาพ เพื่อลดปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยจะได้รับควรกดเต้านมให้มีความหนาไม่เกิน 65 มิลลิเมตร
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
หน่วยงานเวชระเบียนและฐานข้อมูลโรคมะเร็ง กลุ่มงานดิจิตอลการแพทย์ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล พ.ศ. 2563. [ออนไลน์]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https://www.nci.go.th/e_book/hosbased_2563/index.html
สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ข่าวเพื่อสื่อมวลชน. [ออนไลน์]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 15 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จากhttps://pr.moph.go.th/index.php?url=pr/detail/2/02/172408/
อนงค์ สิงกาวงไซย์. การวัดปริมาณรังสีเฉลี่ยที่ต่อมน้ำนมจากการเอกซเรย์ เต้านมในโรงพยาบาลเขตภาคกลางของประเทศไทย. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2559; 58 (1): 33-38.
Schaeffer RL, Mendenhall W, Ott L. Elementary survey sampling. Fourth Edition. Duxbury Press, Belmont, California 1990.
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. ค่าปริมาณรังสีอ้างอิงในการถ่ายภาพรังสีวินิจฉัยทางการแพทย์ของประเทศไทย 2564. กรุงเทพมหานคร: บริษัท บียอนด์ พับสิสชิ่ง จำกัด; 2564.
ยุวดี แต่งประกอบ. ปริมาณรังสีดูดกลืนเฉลี่ยที่เต้านมจากการตรวจเอกซเรย์เต้านมระบบดิจิตอล. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2557; 29 (1): 24-27
American college of radiology. Mammography quality control manual, medical physicist section. Reston, VA: ACR 1999.
สุชาวลี เชื้อมหาวัน. การศึกษาปริมาณรังสีดูดกลืนเฉลี่ยที่ต่อมน้ำนมของผู้ป่วยในการถ่ายภาพรังสีเต้านมของโรงพยาบาลในเขตภาคตะวันออก. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี 2554; 133-140
ศิรินารถ ปริยชาตเกสร. การวัดปริมาณรังสีดูดกลืนเฉลี่ยที่ต่อมเต้านมได้รับจากเครื่องเอกซเรย์เต้านม โดยใช้แบบจำลองในโรงพยาบาลศรีนครินทร์. ศรีนครินทร์เวชสาร 2550; 166-167
Cherie M, Kuzmiak DO, Etta D, Pisano MD. Factors affecting decreasing radiation dose for mammography in North Carolina after 2002: An analysis of food and drug administration annual surveys. ACAD RADIOL 2007; 14(6): 685-691.
ปริศนา ตราชู, จิราภรณ์ ศรีนัครินทร์, อมรรัตน์ มังษา. ปริมาณรังสีจากการถ่ายภาพเอกซเรย์เต้านมด้วยเครื่องแมมโมกราฟฟี่ระบบดิจิตอลของโรงพยาบาลศรีนครินทร์. ศรีนครินทร์เวชสาร 2558; 30(6): 604-608.
Xiang Du, Ningle Yu, Yimei Zhang, Jin Wang. The relationship of the mean glandular dose with compressed breast thickness in mammography. J Public Health Eerg 2017; 1(2): 1-8.