ปัจจัยเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุที่เข้ารับบริการในคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลแก้งคร้อจังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

เอมอร ส่วยสม

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: การหกล้มเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญในผู้สูงอายุทำให้เกิดการบาดเจ็บที่รุนแรงและส่งผลต่อสุขภาพผู้สูงอายุ ครอบครัวและสังคมเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในผู้สูงอายุ การประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อการหกล้มจะเป็นการเตรียมความพร้อมในการดูแลและวางแผนในการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุโรคเรื้อรังให้เหมาะสมกับบริบทสังคมของผู้สูงอายุได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอัตราการเกิดความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มและปัจจัยเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุโรคเรื้อรังโรงพยาบาลแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ
วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (cross-sectional descriptive study) ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม 2566–30 กรกฎาคม พ.ศ 2566 จำนวน 347 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติการถดถอยโลจิสติคแบบทวิ (Binary Logistic Regression)
ผลการศึกษา: พบว่าการประเมินโดย Thai-FRAT มีผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่มีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มร้อยละ 51.8 และไม่มีความเสี่ยงร้อยละ 48.1 ส่วนการประเมินด้วย Time Up and Go Testพบว่าผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่มีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม ร้อยละ 54.4 และไม่มีความเสี่ยงร้อยละ 45.5 และปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุโรคเรื้อรังพบว่าปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะพลัดตกหกล้มประกอบด้วยเพศ (Adj.OR=2.1, 95% CI=1.1-3.7) ความดันโลหิต (Adj.OR=1.9, 95% CI=1.1-3.4) การเดินในบ้าน (Adj.OR=2.6, 95% CI=1.1-6.1) และลักษณะพื้นในตัวบ้าน (Adj.OR=0.4, 95% CI=0.2-0.9) และสามารถทำนายโอกาสเกิดภาวะพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุโรคเรื้อรังได้ร้อยละ 33.8
สรุป: การวิจัยในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าอัตราการเกิดความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุที่เข้ารับบริการในคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง พบว่าการประเมินโดย TUGT มีความเสี่ยงร้อยละ 54.5 และการประเมินโดย Thai-FRAT มีความเสี่ยงร้อยละ 51.9 ปัจจัยเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มผู้สูงอายุโรคเรื้อรังได้แก่เพศ ความดันโลหิตการเดินในบ้าน และลักษณะพื้นในตัวบ้านเป็นปัจจัยที่สามารถทำนายความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ
Author Biography

เอมอร ส่วยสม, กลุ่มงานการแพทย์ โรงพยาบาลแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ ประเทศไทย 36000

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

References

ปราโมทย์ ประสาทกุล, บรรณาธิการ. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์พริ้นท์ติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) ; 2565.

กรรณิกา ทองเกลียว. ภาวะสุขภาพผู้สูงอายุตำบลเขินอำเภอน้ำเกลี้ยงจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษสุรินทร์บุรีรัมย์ 2564;36(2):283-92.

Ganz DA, Latham NK. Prevention of Falls in Community-Dwelling Older Adults. N Engl J Med 2020;382(8):734-43. doi: 10.1056/NEJMcp1903252.

ศิริวรรณ เชาว์โน, พรชัย ขุนคงมี. ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะเสี่ยงหกล้มของผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบคลินิกหมอครอบครัวตากสิน อำเภอเมือง จังหวัดตาก. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2565;18(1):31-44.

World Health Organization. Preventing injuries and violence: an overview. [internet]. 2022. [cited 2023 July 17]. Available from:URL: https://reliefweb.int/report/world/preventing-injuries-and-violence-overview.

Schoene D, Heller C, Aung YN, Sieber CC, Kemmler W, Freiberger E. A systematic review on the influence of fear of falling on quality of life in older people: is there a role for falls? Clin Interv Aging 2019;14:701-19. doi: 10.2147/CIA.S197857.

การป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ตารางแสดงจำนวนและอัตราผู้ป่วยนอกจากการพลัดตกหกล้มนอกผู้สูงอายุที่มีอายุ60 ปขึ้นไป ตอประชากรผู้สูงอายุแสนคน จำแนกรายจังหวัด ป พ.ศ. 2560-2565. [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2566]. ค้นได้จาก:URL: https://ddc.moph.go.th/uploads/files/3470120230612083716.pdf.

การป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. Fall Data ข้อมูลการพลัดตกหกล้ม(W00 - W19) ในผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป. [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2566]. ค้นได้จาก:URL: https://ddc.moph.go.th/dip/news.php?news=23567&deptcode=.

เมทินี ศรีสุบิน, นพดล แซ่ตัน, สริตา ชุมภูศรี, รัญชนา ทาอุปรงค์, อาทิตยา อ่อนน้อม. ความชุกของการใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสมและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะหกล้มในผู้ป่วยนอกสูงอายุ กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลลำปาง: การศึกษาภาคตัดขวาง. J Gerontol Geriatr Med 2022;21(3):1-12.

สุรินทร์รัตน์ บัวเร่งเทียนทอง, อรทัย ยินดี. การศึกษาความเสี่ยงความกลัวการหกล้ม และแนวทางการจัดการป้องกันการพลัดตกหกล้มผู้ที่มารับบริการในคลินิกผู้สูงอายุ. วชิรสารการพยาบาล 2564;23(2):30-43.

Rivasi G, Kenny RA, Ungar A, Romero-Ortuno R. Predictors of Incident Fear of Falling in Community-Dwelling Older Adults. J Am Med Dir Assoc 2020;21(5):615-20. doi: 10.1016/j.jamda.2019.08.020.

Cuevas-Trisan R. Balance Problems and Fall Risks in the Elderly. Phys Med Rehabil Clin N Am 2017;28(4):727-37. doi: 10.1016/j.pmr.2017.06.006.

Daniel WW, Cross CL. Biostatistics: A Foundation of Analysis in Health Sciences. 6th.ed. USA : John Wiley & Sons, Inc.;1995.

จุฑามาศ วงจันทร์, สุวรรณา วุฒิรณฤทธิ์, ลัดดา เหลืองรัตนมาศ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในเขตสุขภาพที่ 6. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ 2565;12(1).32-49.

กัลยา วานิชย์บัญชา. การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for Windows. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : สามลดา ; 2558.

สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและประเมินภาวะหกล้มในผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ : สินทวีการพิมพ์ ; 2562.

Ansai JH, Andrade LP, Masse FAA, Gonçalves J, Takahashi ACM, Vale FAC, et al. Risk Factors for Falls in Older Adults With Mild Cognitive Impairment and Mild Alzheimer Disease. J Geriatr Phys Ther 2019;42(3):E116-E121. doi: 10.1519/JPT.0000000000000135.

ฉัตรสุดา มาทา, กุลธิดา ทาไชยวงศ์, ลักษิกา มูลศรี, เรณุกา ตติยะ, วิภาพร สุภา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะเสี่ยงหกล้มของผู้สูงอายุในอำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งประเทศไทย 2565;4(4):79-86.

วิภาวี กิจกำแหง, นิพัธ กิตติมานนท์, ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย. ปัจจัยเสี่ยงต่อการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2549;15(5);787-99