การพัฒนารูปแบบบริการพยาบาลช่องทางผ่านด่วน ในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้รับการสวนหลอดเลือดหัวใจ

Main Article Content

ศศิธร กระจายกลาง
สายรุ้ง กะลีพัด
สิริมาส ผลเจริญ

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: การพยาบาลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้รับการสวนหลอดเลือดหัวใจ เป็นหัตถการที่ต้องอาศัยบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในการดูแลผู้ป่วย จากสถานการณ์ ปี พ.ศ. 2560-2562 ผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยยังไม่บรรลุตามเป้าหมาย อัตราการเสียชีวิตร้อยละ 10.9, 14.6 และ 10.0 ตามลำดับ รูปแบบบริการพยาบาลเดิมไม่ชัดเจน และการเข้าถึงบริการมีความล่าช้า
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนารูปแบบบริการพยาบาลและประเมินผลของการใช้รูปแบบบริการพยาบาลช่องทางผ่านด่วนในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้รับการสวนหลอดเลือดหัวใจ
รูปแบบการศึกษา: การวิจัยและพัฒนา
วิธีการศึกษา: ดำเนินการวิจัย ระหว่างเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2565 ถึง กรกฎาคม พ.ศ.2566 ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาสถานการณ์ 2) การพัฒนารูปแบบการพยาบาล 3) ทดลองใช้ และ 4) ประเมินผลการนำรูปแบบไปใช้ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ 10 คน บุคลากรทางการแพทย์ 39 คน และผู้ป่วย 609 คน (ได้ข้อมูลจากเวชระเบียนและจากผู้ป่วยโดยตรง) ผ่านคณะกรรมการจริยธรรมโรงพยาบาลสุรินทร์ เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการวัดคุณภาพ ได้แก่ แบบบันทึกคุณภาพบริการ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความเหมาะสม แบบวัดความรู้ แบบสอบถามความคิดเห็น แบบตรวจสอบการปฏิบัติ แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบประเมินพฤติกรรม และแบบวัดคุณภาพชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ t-test
ผลการศึกษา: ได้รูปแบบบริการพยาบาลช่องทางผ่านด่วนในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้รับการสวนหลอดเลือดหัวใจที่พัฒนาขึ้น และประเมินผลของการใช้รูปแบบบริการพยาบาล พบว่า พยาบาลวิชาชีพเห็นด้วยกับรูปแบบบริการพยาบาลที่สร้างขึ้นอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\fn_phv&space;\bar{x}= 4.7, SD= 0.4) ปฏิบัติตามร้อยละ 99.5 ผู้ป่วยเข้าช่องทางผ่านด่วนทันเวลาเพิ่มจากร้อยละ 65.6 เป็น 77 Onset to door time ลดลงจาก 123 นาที เป็น 112 นาที Door to EKG time ลดลงจาก 6 นาทีเหลือ 4 นาที Diagnosis to PPCI time ลดลงจาก 85 นาที เหลือ 68 นาที อัตราการเสียชีวิตลดลงจากร้อยละ 13.4 เป็น 6.3 ผู้ป่วยมีคะแนนความรู้เพิ่มขึ้นจาก 14.7 เป็น 19.8 (p <0.001) รวมทั้งพฤติกรรมการดูแลตนเองอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\fn_phv&space;\bar{x}= 4.6, SD= 0.2) มีคุณภาพชีวิตระดับดี (gif.latex?\fn_phv&space;\bar{x}= 5.0, SD= 0.8) และพึงพอใจต่อบริการช่องทางผ่านด่วนอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\fn_phv&space;\bar{x}= 4.8, SD= 0.3)
สรุป: รูปแบบบริการพยาบาลช่องทางผ่านด่วน ส่งผลให้มีกระบวนการดูแลผู้ป่วยตามมาตรฐาน ผู้ป่วยเข้าถึงบริการสวนหลอดเลือดหัวใจได้เร็วขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดี และอัตราการเสียชีวิตลดลง

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

World Health Organization. Cardiovascular disease (CVDs). [Internet] 2021. [cited 2022 April 5]. Available from:URL:http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs317/en/.

กระทรวงสาธารณสุข สำนักโรคไม่ติดต่อ. จำนวนและอัตราตายโรคไม่ติดต่อและอุบัติเหตุทางถนน ต่อ ประชากรแสนคน จำแนกตามจังหวัดในเขตบริการสาธารณสุข และจำแนกตาม สคร. 12 เขต และภาพรวมประเทศ (รวมกรุงเทพมหานคร). [อินเตอร์เน็ท]. 2557. [สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2565]. ค้นได้จาก:URL:http://www.thaincd.com.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.). ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลับ ชนิด STEMI ต้องรักษาให้ทันภายใน 3 ชั่วโมง [อินเตอร์เน็ท]. 2558. [สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2565]. ค้นได้จาก :URL:https://www.niems.go.th/1/upload/migrate/file/256011140933239017_ sYwXnxlXvLpwL9XR.pdf.

ประดิษฐ์ ปัญจวีณิน. กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด. ใน: อายุรศาสตร์ทันยุค. วันชัย เดชสมฤทธิ์ฤทัย, รุ่งโรจน์ กฤตยพงษ์, อภิรดี ศรีจิตรกมล, บรรณาธิการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : ภาพพิมพ์ ; 2553.

กัมปนาท วีรกุล, จิตติ โฆษิตชัยวัฒน์, บรรณาธิการ. 7 R การลดอัตราการตายในโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน. นนทบุรี : ศรีนคร ดีไซน์ พริ้นติ้ง ; 2557.

De Luca G, Suryapranata H, Ottervanger JP, Antman EM. Time delay to treatment and mortality in primary angioplasty for acute myocardial infarction: every minute of delay counts. Circulation 2004;109(10):1223-5. doi: 10.1161/01.CIR.0000121424.76486.20.

สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล (ปรับปรุงครั้งที่ 2). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ; 2551.

นิพิฐพนธ์ สนิทเหลือ, วัชรีพร สาตร์เพ็ชร์, ญาดา นภาอารักษ์. การคำนวณขนาด ตัวอย่างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป G*POWER. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ 2562;5(1):496- 507.

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. เอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว ; 2545.

สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. แนวเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน พ.ศ.2563. สมุทรปราการ : เนคสเตป ดีไซน์ ; 2563.

วศินี สมศิริ, จินตนา ชูเซ่ง. ผลของการให้ความรู้อย่างมีแบบแผนต่อความรู้ การรับรู้ความสามารถ และพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ที่เข้ารับการทำหัตถการหลอดเลือดหัวใจ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2554;3(3):33-46.

Ferrans CE, Powers MJ. Quality of life index: development and psychometric properties. ANS Adv Nurs Sci 1985;8(1):15-24. doi: 10.1097/00012272-198510000-00005.

Sahatorn Petvirojchai. 5 หลักการระบบลีน (LEAN) วิธีการใช้งานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพองค์กร. [อินเตอร์เน็ท] .2021. [สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2566]. ค้นได้จาก:URL: https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/lean-management-210621/.

พรรษา โนนจุ้ย. การให้สุขศึกษา. ศรีนครินทร์เวชสาร 2564;36(2):246-51.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. การวิจัยและการพัฒนา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 2552;1(2):1-12.

เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ. วงจรการควบคุมคุณภาพ. [อินเตอร์เน็ท]. 2561. [สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2563]. ค้นได้จาก:URL:https://www.iok2u.com/index.php/article/innovation/240-pdca-cycle-deming-cycle.

วรรณา สัตย์วินิจ, อภินันท์ ชูวงษ์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันด้วยกระบวนการควบคุมคุณภาพ หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน 2553;16(1):91-104.

นพมาศ พงษ์ประจักษ์, พิธา พรหมลิขิตชัย, ทิตยา ด้วงเงิน. การประเมินผลการพัฒนารูปแบบการจัดบริการผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ST ยก ในสถานบริการสาธารณสุข จังหวัดสระบุรี. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2560;28(1):69-80.

รัตนาภรณ์ ยนต์ตระกูล, นิสากร วิบูลชัย, วิไลพร พิณนาดิเลย์, จุลินทร ศรีโพนทัน, เบญจพร เองวานิช. การพัฒนาระบบบริการช่องทางด่วนสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันภายใต้บริบทของโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง และเครือข่ายบริการ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2560;27(2):80-95.

บุหลัน เปลี่ยนไธสง, รัชนี ผิวผ่อง, ธัญสุดา ปลงรัมย์, วิไลวรรณ เงาศรี. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI ที่ได้รับการเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านสายสวน โรงพยาบาลบุรีรัมย์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2564;36(1):36-76.

จรินทร์ ขะชาตย์, เจริญพิศ ปรียาศักดิ์สกุล, สมควร สุขสัมพันธ์. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ชนิด ST-Segment Elevation Myocardial Infarction (STEMI) ที่ได้รับการเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจโรงพยาบาลพระปกเกล้า. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2557;24(1):136-48.

Keeley EC, Boura JA, Grines CL. Primary angioplasty versus intravenous thrombolytic therapy for acute myocardial infarction: a quantitative review of 23 randomised trials. Lancet 2003;361(9351):13-20. doi: 10.1016/S0140-6736(03)12113-7.

นิตญา ฤทธิ์เพชร, ชนกพร จิตปัญญา. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2555;23(2):2-16.