การผ่าตัดเนื้องอกต่อมหมวกไตด้วยวิธีส่องกล้อง ประสบการณ์ 10 ปี ที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทนำ: ปัจจุบันการผ่าตัดผู้ป่วยเนื้องอกต่อมหมวกไตด้วยวิธีส่องกล้องถือว่าเป็นวิธีการรักษาแบบมาตรฐาน (Gold Standard) หน่วยศัลยกรรมยูโรวิทยา โรงพยายาลมหาราชนครราชสีมาได้เริ่มทำการผ่าตัดผู้ป่วยเนื้องอกต่อมหมวกไตด้วยวิธีส่องกล้องตั้งแต่ ปี พ.ศ.2555 จนถึงปัจจุบัน ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาข้อมูลผลการรักษาของผู้วิจัย (อัตราการสำเร็จของการผ่าตัด ผลการวินิจฉัยทางพยาธิวิทยา ขนาดของเนื้องอก ระยะเวลานอนโรงพยาบาลหลังผ่าตัด ปริมาณการเสียเลือด ภาวะแทรกซ้อน) และเปรียบเทียบเวลาที่ใช้ผ่าตัด, ระยะเวลานอนโรงพยาบาล ปริมาณการเสียเลือดระหว่างประสบการณ์ช่วงแรกและช่วงหลัง
วิธีการศึกษา: งานวิจัยนี้ใช้วิธีการศึกษาข้อมูลย้อนหลัง (Retrospective) ระหว่างตุลาคม พ.ศ.2555 ถึงกันยายน พ.ศ.2565 ผู้ป่วยเนื้องอกต่อมหมวกไตด้วยวิธีส่องกล้องหน่วยศัลยกรรมยูโรวิทยา โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 80 รายเพศชาย 22 ราย (ร้อยละ 28.7) เพศหญิง 58 ราย (ร้อยละ 71.3) อายุเฉลี่ย 46.5 ปี (23-74) การวินิจฉัย Aldosterone Producing adenoma (APA) 63 ราย (ร้อยละ 78.7) Pheochromocytoma 6 ราย (ร้อยละ 7.5) Cushing syndrome 6 ราย(ร้อยละ 7.5) อัตราประสบความสำเร็จในการผ่าตัด ร้อยละ 97.5 อัตราการเปลี่ยนเป็นผ่าตัดเปิด ร้อยละ 2.5 (2 ราย) ขนาดเนื้องอกเฉลี่ย 2.3 เซนติเมตร (0.7–6) ระยะเวลาผ่าตัดเฉลี่ย 138 นาที (72-310) ระยะเวลานอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 4.7 วัน (2-10) ปริมาณเสียเลือดเฉลี่ย 86.6 มิลลิลิตร pancreatic injury ร้อยละ 1.3 (1 ราย) เวลาที่ใช้ผ่าตัด,ระยะเวลานอนโรงพยาบาลหลังผ่าตัดและปริมาณการเสียเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ระหว่างประสบการณ์ช่วงแรกและช่วงหลัง สรุปการผ่าตัดผู้ป่วยเนื้องอกต่อมหมวกไตด้วยวิธีส่องกล้อง สามารถทำได้ในโรงพยาบาลส่วนภูมิภาค และผลการผ่าตัดจะดีขึ้นเมื่อมีประสบการณ์ผ่าตัด 40 รายขึ้นไป
สรุป: การผ่าตัดผู้ป่วยเนื้องอกต่อมหมวกไตด้วยวิธีส่องกล้อง สามารถทำได้ในโรงพยาบาลส่วนภูมิภาคและผลการผ่าตัดจะดีขึ้นเมื่อมีประสบการณ์ผ่าตัด 40 รายขึ้นไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Chow GK, Blute ML. Surgery of the adrenal glands. In: Wein AJ, Kavoussi LR, Novick AC, Partin AW, Peters CA, editors. Campbell-Walsh Urology. 9th. ed. Philadelphia : WB Saunder ; 2007 : 1868-88.
Smith CD, Weber CJ, Amerson JR. Laparoscopic adrenalectomy: new gold standard. World J Surg 1999;23(4):389-96. doi: 10.1007/pl00012314.
Gagner M, Lacroix A, Bolté E. Laparoscopic adrenalectomy in Cushing's syndrome and pheochromocytoma. N Engl J Med 1992;327(14):1033. doi: 10.1056/NEJM199210013271417.
McKinlay R, Mastrangelo MJ Jr, Park AE. Laparoscopic adrenalectomy: indications and technique. Curr Surg 2003;60(2):145-9. doi: 10.1016/S0149-7944(02)00801-2.
Sung GT, Gill IS. Laparoscopic adrenalectomy. Semin Laparosc Surg 2000;7(3):211-22. PMID: 11359245
Santingamkun A, Panumatrassamee K, Wisawasukmongchol W. Outcomes of Laparoscopic Adrenalectomy: 19-Year Experience after 500 Cases. J Med Assoc Thai 2022;105:61-7. doi: 10.35755/jmedassocthai.2022.01.13236
Wittayapairoch J, Jenwitheesuk K, Punchai S, Saeseow OT, Thanapaisal C, Paonariang K. Laparoscopic Adrenalectomy: 6 Years Experience in Srinagarind Hospital. J Med Assoc Thai 2015;98(Suppl 7):S174-8. PMID: 26742387
Nimitrvanich C. Laparoscopic lateral transabdominal adrenalectomy for small and medium sized benign functioning adrenal disease. Thai J Surg 2001;22(1):1-6.
จักรพันธ์ วิทยาไพโรจน์, เกรียงศักดิ์ เจนวิถีสุข. การผ่าตัดต่อมหมวกไตผ่านกล้อง. ศรีนครินทร์เวชสาร 2556;28(Suppl):135-9.
Santi-ngamkun A, Ratchanon S, Aksornnit K, Sunthornyothin S. Laparoscopic adrenalectomy : First 50 cases in King Chulalongkorn Memorial Hospital. Chula Med J 2005;49(6):325-32.
Miron A, Enciu O, Toma EA, Calu V. Risk Assessment and Learning Curve in Laparoscopic Transperitoneal Adrenalectomy - Early and Late Experience of a Single Team. Chirurgia (Bucur) 2019;114(5):622-9. doi: 10.21614/chirurgia.114.5.622.