ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

Main Article Content

กุลลดา เลียวเสถียรวงค์
ปทมพร อภัยจิตต์

บทคัดย่อ

หลักการเหตุผล: ประชากรโลกกำลังเผชิญกับวิกฤติสังคมผู้สูงอายุ และการเปลี่ยนแปลงค่านิยมทางสังคม ที่ส่งผล ต่อสุขภาพ การบริโภคอาหารที่ทำให้เกิดโรคที่ซับซ้อน จากอาหารที่มีโซเดียมสูง น้ำตาลสูงหรือสารสังเคราะห์ต่าง ๆ จึงเกิดภาวะไตเสื่อม จนถึงโรคไตเรื้อรังที่เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ ทั้งแง่ปริมาณ และความรุนแรง
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อภาวะไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
วิธีการศึกษา: เป็นวิจัยเชิงวิเคราะห์ แบบภาคตัดขวางย้อนหลัง โดยศึกษาจากเวชระเบียนผู้ป่วย โรคไตเรื้อรัง จำนวน 170 คน ช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2565 ในคลินิกรักษ์ไต โรงพยาบาลนางรอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติอนุมาน ได้แก่ Chi-square test, Fisher’s exact และ Binary logistic regression analysis
ผลการศึกษา: พบว่า 1) กลุ่มไม่มีภาวะไตเสื่อม จำนวน 77 คน (ร้อยละ 45.3) และกลุ่มมีภาวะไตเสื่อมจำนวน 93 คน (ร้อยละ 54.7) โดยพบว่า 1) ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ได้แก่ โรคร่วม (OR 2.083, 95% CI (1.482 - 9.011)), โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 (OR 18.736, 95% CI (7.378 -27.577)), โรคความดันโลหิตสูง (OR 7.775, 95% CI (1.915-66.049)), โรคเกาต์ (OR 10.358, 95% CI (12.282 – 14.455)), ภาวะไขมันในเลือดสูง (OR 1.225, 95% CI (1.624 – 2.402)) และระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (OR 1.249, 95% CI (1.174 – 2.316)) เรียงตามลำดับ 2) ปัจจัยที่ร่วมกันทำนายโอกาสการเกิดภาวะไตเสื่อมของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง (p<0.05) ได้แก่ โรคร่วม โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 โรคความดันโลหิตสูง โรคเกาต์ และภาวะไขมันในเลือดสูง ได้ร่วมกันทำนายโอกาสเกิดภาวะไตเสื่อมของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังได้ร้อยละ 88.2 (p<0.05)
สรุป: 1. ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ได้แก่ โรคร่วม ได้แก่ โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 โรคความดันโลหิตสูง โรคเกาต์ ภาวะไขมันในเลือดสูง และระดับน้ำตาลสะสมในเลือด
2. ปัจจัยที่ร่วมกันทำนายโอกาสการเกิดภาวะไตเสื่อมของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังได้แก่ โรคร่วม โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 โรคความดันโลหิตสูง โรคเกาต์ และภาวะไขมันในเลือดสูง

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัด ทดแทนไต พ.ศ. 2565. [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2566]. ค้นได้จาก:URL: https://www.hfocus.org/content/2023/03/27217.

National Collaborating Centre for Chronic Conditions (UK). Chronic Kidney Disease: National Clinical Guideline for Early Identification and Management in Adults in Primary and Secondary Care. London : Royal College of Physicians ; 2008.

คณะอนุกรรมการป้องกันโรคไตเรื้อรัง สมาคมโรคไตแห่งปะเทศไทย. Summary of Update in Thai Clinical Practice Recommendations for CKD 2022. [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2566]. ค้นได้จาก: URL: https://cimjournal.com/confer-update/update-ckd-2022/.

Delanaye P, Glassock RJ, De Broe ME. Epidemiology of chronic kidney disease: think (at least) twice! Clin Kidney J 2017;10(3):370-4. doi: 10.1093/ckj/sfw154.

โรงพยาบาลนางรอง. สถิติรายโรคไตเรื้อรังประจำปี 2563-2565. บุรีรัมย์ : โรงพยาบาลนางรอง ; 2 566. (เอกสารอัดสำเนา).

Hulley SB, Cummings SR, Browner WS, Grady D, Hearst N, Newman TB. Design Clinical Research. 2nd. ed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2001.

Glantz SA. Primer of biostatistics. 7th ed. New York: McGraw-Hill; 2012.

Murphy EL, Murtagh FE, Carey I, Sheerin NS. Understanding symptoms in patients with advanced chronic kidney disease managed without dialysis: use of a short patient-completed assessment tool. Nephron Clin Pract 2009;111(1):c74-80. doi: 10.1159/000183177.

Agarwal R. Developing a self-administered CKD symptom assessment instrument. Nephrol Dial Transplant 2010;25(1):160-6. doi: 10.1093/ndt/gfp426.

พรพิมล วดีศิริศักดิ์, วิไลวรรณ ทองเจริญ, จันทนา รณฤทธิ์วิชัย, อรวมน ศรียุกตศุทธ. ประสบการณ์การมีอาการอ่อนล้า กลวิธีการจัดการกับอาการสนับสนุนจากครอบครัวและคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2558;27(3):26-37.

อนุชา ไทยวงษ์ นิโรบล, กนกสุนทรรัตน์, สุชิรา ชัยวิบูลย์ธรรม. ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มอาการไม่พึงประสงค์และคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2560; 35(3) :120-8.

Berger TG, Steinhoff M. Pruritus and renal failure. Semin Cutan Med Surg 2011;30(2):99-100. doi: 10.1016/j.sder.2011.04.005.

Patel TS, Freedman BI, Yosipovitch G. An update on pruritus associated with CKD. Am J Kidney Dis 2007;50(1):11-20. doi: 10.1053/j.ajkd.2007.03.010.

อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์, ภาณุวัฒน์ คำวังสง่า, สุธิดา แก้วทา. รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง พ.ศ.2564. พิมพ์ครั้งแรก. นนทบุรี : อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์ ; 2563.

สุขเกษม อมรสุนทร. ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการเสื่อมของไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 และ 4 ของโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์. วารสารแพทย์ เขต 4-5 2566;42(2)211-24.

สมคิด สุภาพันธ์. การพัฒนารูปแบบการชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ด้วยการจัดการรายกรณีโรงพยาบาลภูสิงห์จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2562;28(5):857-66.

กวิศรา สอนพูด, ลัฆวี ปิยะบัณฑิตกุล. การดูแลสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อมของผู้ป่วยโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง และประชาชนในชุมชนแห่งหนึ่ง จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2563;40(1):101-14.

Wijesuriya MA, De-Abrew WK, Weerathunga A. Association of chronic complications of type 2 diabetes with the biochemical and physical estimations in subjects attending single visit screening for complications. J Diabetes 2012;3(1):3.

Kazancioğlu R. Risk factors for chronic kidney disease: an update. Kidney Int Suppl (2011) 2013;3(4):368-71. doi: 10.1038/kisup.2013.79.

ธัญญพัทธ์ สุนทรานุรักษ์, นวลอนงค์ หุ่นบัวทอง, อัชพร แสงอุทัย. ผลของโปรแกรมการควบคุมอาหารชะลอไตเสื่อมในคลินิกชะลอไตเสื่อมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านใหม่อำเภอเมืองจังหวัดปทุมธานี. PCFM 2563;3(2): 87-97.

กมลวรรณ สาระ, สมชาย สุริยะไกร, จุไรรัตน์ ทุมนันท์. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดไตวายเรื้อรังระยะที่ 3-5 ในโรงพยาบาลตระการพืชผล จ. อุบลราชธานี. The National and International Graduate Research Conference 2016. Graduate School, Khon Kaen University, and Universitas Muhammadiyah Yogyakarta, Indonesia. Khon Kaen ; 2016 : 887-94.