ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคในกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจในตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

ปัณณทัต บนขุนทด
ปิยลักษณ์ จันทร์สม
ชญานิศ เขียวสด
วาสนา จันทร์ดี
กิติพงษ์ เรือนเพ็ชร
กัลยา มั่นล้วน

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการป่วยและการตายที่สำคัญของคนไทย การป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ โดยใช้ข้อมูลที่เหมาะสมจะทำให้สามารถวางแผนเพื่อลดความเสี่ยงต่อปัญหานี้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคในกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจและปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคในกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ
วิธีการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยหาความสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ บุคคลที่เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ ที่มารับบริการที่คลินิกโรคไม่ติดต่อ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองโพรง ตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 217 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้การสุ่มแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน พ.ศ.2565 และสถิติเชิงพรรณนาและสถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการป้องกันโรคโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ การออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร การจัดการความเครียด และการตรวจสุขภาพประจำปี มีค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ 66.6 และปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคในบุคคลที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ได้แก่ แรงจูงใจด้านสุขภาพ การรับรู้ความรุนแรง และการรับรู้อุปสรรค สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคของกลุ่มตัวอย่างได้ร้อยละ 42 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
สรุป: การส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจในบุคคลกลุ่มเสี่ยง โดยเน้นการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันโรคที่สอดคล้องกับวิถีการดำเนินชีวิต ตลอดจนต้องสร้างความตระหนักรู้ถึงความรุนแรงของโรค และลดอุปสรรคที่ขัดขวางการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจเป็นสำคัญ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

World Health Organization. Cardiovasculardisease. 2014. [Internet]. [cited 2022 February 15]. Available from:URL: http://www.who.int/cardiovascular-diseases/en/

ศูนย์ข้อมูลโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. 2557. สถิติผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2565]. ค้นได้จาก:URL: http://www.thaincd.com/2016/mission

ณัฐธยาน์ ภิรมย์สิทธิ์, จารีศรี กุลศิริปัญโญ, อรุณ นุรักษ์เข, กิตติศักดิ์ หลวงพันเทา. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคในประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสาร มฉก.วิชาการ 2561;22(43-44):55-69.

ณรงค์กร ชัยวงศ์, ปัณณทัต บนขุนทด. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคในบุคคลที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2562;37(2):6-15.

World Health Organization. Prevention of Cardiovascular disease: guidelines for assessment and anagement of total cardiovascular risk : Geneva : World Health Organization ; 2007.

Saffitz JE. The heart. In: Rubin R, Strayer DS. Rubin’s pathology clinicopathologic of medicine. 5th ed. hiladelphia : Lippincott Williams & Wilkins ; 2008 : 427-81.

Bunker SJ, Colquhoun DM, Esler MD, Hickie IB, Hunt D, Jelinek VM, et al. "Stress" and coronary heart disease: psychosocial risk factors. Med J Aust 2003;178(6):272-6. doi: 10.5694/j.1326-5377.2003.tb05193.x.

วิไลวรรณ คมขำ, กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม, นพนัฐ จำปาเทศ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานร่วมกับโรคความดันโลหิตสูงที่มีระดับความเสี่ยงสูงในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี 2565;5(2):44-56.

Rosenstock IM, Strecher VJ, Becker MH. Social learning theory and the Health Belief Model. Health Educ Q 1988;15(2):175-83. doi: 10.1177/109019818801500203.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองโพรง. สถิติผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อ (NCDs) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองโพรง ประจำปี พ.ศ.2564. บุรีรัมย์ : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองโพรง ; 2564. (เอกสารอัดสำเนา).

Krejcie RV, Morgan DW. Determining Sample Size for Research Activities. Educ Psychol Meas 1970;30(3):607-10. https://doi.org/10.1177/0013164470030003

Becker MH, Haefner DP, Kasl SV, Kirscht JP, Maiman LA, Rosenstock IM. Selected psychosocial models and correlates of individual health-related behaviors. Med Care 1977;15(5 SUPPL):27-46. doi: 10.1097/00005650-197705001-00005.

Rosenstock IM. The health belief model: Explaining health behavior through expectancies. In: Glanz K, Lewis FM, Rimer BK, eds. Health behavior and health education: Theory, research, and practice. San Francisco,CA : Jossey-Bass/Wiley ; 1990 : 39-62.

นพวรรณ ธีระพันธ์เจริญ. ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดของบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2562;28(ฉบับพิเศษ):137-45.

พรรษมน คัฒมาตย์, จงจิต เสน่หา, วิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิช. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2563;31(1):62-77.