การพัฒนารูปแบบการพยาบาลตามหน้าที่หลักทางคลินิก ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: การดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ที่เข้ารับการรักษาในห้องคลอด โรงพยาบาลบุรีรัมย์ที่ผ่านมา พบว่าการดูแลส่วนใหญ่จะเป็นการดูแลทางด้านร่างกาย ให้ยาตามแผนการรักษา และคำแนะนำการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะทำให้หญิงตั้งครรภ์ตระหนักในการดูแลตนเอง ทำให้อัตราการคลอดก่อนกำหนดเพิ่มขึ้นทุกปี
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของรูปแบบการพยาบาลตามหน้าที่หลักทางคลินิก ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
วิธีการศึกษา: ศึกษาแบบวิจัยและพัฒนา (Research & Development) ทำการศึกษาในหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด อายุครรภ์ 26-36 สัปดาห์ เข้ารับการรักษาระหว่างเดือน กรกฎาคม พ.ศ.2566 ถึง ตุลาคม พ.ศ.2566 ดำเนินการวิจัย 3 ระยะ โดยระยะที่ 1 วิเคราะห์สภาพการณ์ และศึกษากรอบแนวคิดหน้าที่หลักทางคลินิกของพยาบาลวิชาชีพ แนวคิดการสนับสนุนการจัดการตนเอง ระยะที่ 2 สร้างรูปแบบการพยาบาลตามหน้าที่หลักทางคลินิก ศึกษาผลลัพธ์ในกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 23 คน และพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในห้องคลอด จำนวน 21 คน ระยะที่ 3 ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบได้แก่ ความรู้เรื่องภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด พฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด การกลับมารักษาซ้ำ อายุครรภ์เมื่อคลอด น้ำหนักทารกแรกเกิด และ ความพึงพอใจของหญิงตั้งครรภ์และพยาบาลวิชาชีพต่อรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเปรียบเทียบความแตกต่าง วิเคราะห์ด้วย Independent t-test และ Chi square test
ผลการศึกษา: 1) ได้รูปแบบการพยาบาลที่หญิงตั้งครรภ์ได้รับการพยาบาลแบบองค์รวมและพยาบาลได้ปฏิบัติบทบาทอิสระชัดเจน 2) ผลการพัฒนาพบว่า 2.1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้หลังการทดลองระหว่างกลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) 2.2) พฤติกรรมการดูแลตนเองหลังการทดลองระหว่างกลุ่มแตกต่างกันทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) 2.3) การกลับมารักษาซ้ำกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) 2.4) ค่าเฉลี่ยอายุครรภ์เมื่อคลอดกลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) 2.5) ค่าเฉลี่ยน้ำหนักทารกแรกเกิดกลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) 3) ความพึงพอใจของหญิงตั้งครรภ์ต่อการได้รับการพยาบาลตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นภาพรวมอยู่ในระดับมาก (Mean = 4.23, SD = 2.14) 4) ความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพภาพรวมอยู่ในระดับมาก (Mean = 4.52, SD = 0.51)
สรุป: รูปแบบการพยาบาลตามหน้าที่หลักทางคลินิก ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดสามารถยืดอายุครรภ์ให้คลอดครบกำหนดและน้ำหนักทารกแรกเกิดมากกว่า 2,500 กรัม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. การดูแลรักษาภาวะเจ็บครรภ์คลอดและถุงน้ำคร่ำรั่วก่อนกำหนด (The Management of Preterm Labor and Preterm Premature Rupture of Membranes). [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2566] ค้นได้จาก:URL: https://pct.yahahospital.com/pct/cpg/Preterm.pdf
นิจ์สากร นังคลา. ผลการดูแลต่อเนื่องต่อความพึงพอใจในการพยาบาล การกลับมารักษาซ้ำ อายุครรภ์เมื่อคลอดของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดและคะแนนแอปการ์ของทารกแรกเกิด. [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2566] ค้นได้จาก:URL: https://www.vachiraphuket.go.th/links/j131
อุ่นใจ กออนันตกุล. การคาดการณ์การคลอดก่อนกำหนด เพื่อป้องกันรักษา. สูตินรีแพทย์สัมพันธ์ 2562;28(1):8-15.
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. รายงานตรวจราชการกรมการแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดรอบที่ 2 ปีงบประมาณ 2565 วันที่ 13 กันยายน 2565. [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2566] ค้นได้จาก: URL: https://r8way.moph.go.th/r8wayNewadmin/page/upload_file/20220920065021.pdf.
งานห้องคลอด โรงพยาบาลบุรีรัมย์. สถิติการบริการห้องคลอด ปี 2563-2565. บุรีรัมย์ : งานห้องคลอด โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ; 2565. (เอกสารอัดสำเนา).
จุฬารัตน์ ห้าวหาญ, พรจิต จันโทภาส, คีตรา มยูขโชติ, บุญสืบ โสโสม, ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง. รูปแบบการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ตามกรอบมิติคุณภาพการพยาบาลผู้คลอด. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2564;36(3):503-11.
พรจิต จันโทภาส, คีตรา มยูขโชติ, จุฬารัตน์ ห้าวหาญ. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ตามกรอบมิติคุณภาพการพยาบาลผู้คลอด. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2564;8(2);123-37.
สุรีพร กัฬหะสุต, พนิดา เชียงทอง, สุรัชนา พงษ์ปรสุวรรณ์, นุชมาศ แก้วกุลฑล, ศุจิรัตน์ ศรีทองเหลือง. ผลของโปรแกรมลดสิ่งก่อความเครียดร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมต่อความเครียดและอายุครรภ์เมื่อคลอดของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ที่เข้ารับการรักษาในห้องคลอด โรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2565;16(1):59-74.
ทิพสุดา นุ้ยแม้น. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการป้องกันการคลอดก่อนกำหนดในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นมุสลิม. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ภาควิชาการพยาบาลสูติ-นรีเวชและผดุงครรภ์ ; คณะพยาบาลศาสตร์ ; บัณฑิตวิทยาลัย, สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ; 2554.
อัสมะ จารู. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่ประสบความสำเร็จในการยับยั้งการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ]. ภาควิชาการพยาบาลสูติ-นรีเวชและผดุงครรภ์ ; คณะพยาบาลศาสตร์ ; บัณฑิตวิทยาลัย, สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ; 2561.
หทัยกาญจน์ หวังกูล. การพัฒนารูปแบบการดูแลอย่างต่อเนื่องสำหรับสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ; คณะสาธารณสุขศาสตร์ ; บัณฑิตวิทยาลัย, มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ; 2564.
ศิริรัตน์ สัตนา. การพัฒนารูปแบบการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด เครือข่ายงานอนามัยแม่และเด็กอำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน 2565;7(2);109-16.
ปิยะพร กองเงิน, วิไลลักษณ์ วงศ์อาษาและกาญจนา สมบัติศิรินันท์. ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจแก่สตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนดและสามีต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพจำนวนของการคลอดก่อนกำหนด และทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย. วารสารสภาการพยาบาล 2559;31(3);67-82.
ชลทิชา รักษาธรรม, ทวีศักดิ์ กสิผล, กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม. แนวปฏิบัติการดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดอย่างต่อเนื่อง. วารสารพยาบาลทหารบก 2561;19(พิเศษ);348-56.
Dolatian M, Sharifi N, Mahmoodi Z. Relationship of socioeconomic status, psychosocial factors, and food insecurity with preterm labor: A longitudinal study. Int J Reprod Biomed 2018;16(9):563-70. PMID: 30643863
Dahlberg U, Aune I. The woman's birth experience---the effect of interpersonal relationships and continuity of care. Midwifery 2013;29(4):407-15. doi: 10.1016/j.midw.2012.09.006.
Mete S, Ozberk H. Relaxation–Focused Nursing Care in Threatened Preterm Birth: Can it be a Complementary Treatment? Int J Caring Sci 2020;13(3):2110-21.