เชื้อดื้อยา Klebsiella pneumoniae กับโอกาสในการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรงพยาบาลศรีสะเกษ

Main Article Content

เอนก จัดดี

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: เชื้อดื้อยา Klebsiella pneumoniae (K. pneumoniae) เป็นเชื้อดื้อยาที่ทำให้เกิดปอดอักเสบ โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ และโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล เป็นสาเหตุการเสียชีวิตมากที่สุดในเขตสุขภาพที่10 ผลการทดสอบยาปฏิชีวนะ จะช่วยวางแผนการรักษาพยาบาล เพื่อลดการเสียชีวิตได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยด้าน เพศ อายุ หอผู้ป่วย ตัวอย่างสิ่งส่งตรวจ ชนิดของเชื้อดื้อยา ผลการทดสอบยาปฏิชีวนะ ระยะเวลาการนอนรักษาพยาบาล การใส่ท่อช่วยหายใจกับโอกาสการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่ติดเชื้อดื้อยา K. pneumoniae
รูปแบบการศึกษา: การศึกษาแบบย้อนหลัง (Retrospective study)
วิธีการศึกษา: ประชากรคือ ผู้ป่วยติดเชื้อ K. pneumoniae จำนวนทั้งสิ้น 766 รายเครื่องมือการวิจัย คือหอ ผู้ป่วยตัวอย่างสิ่งส่งตรวจ ชนิดของเชื้อดื้อยา ผลการทดสอบยาปฏิชีวนะ ระยะเวลาการนอนรักษาพยาบาล การใส่ท่อช่วยหายใจ สถิติที่ใช้ข้อมูลทั่วไป คือจำนวน ร้อยละ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปร ใช้สถิติวิเคราะห์ Chi Square Test, Phi correlation, Cramer’V และ Contingency Coefficient
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเป็นเพศชาย ร้อยละ 59 อายุมากกว่า 61 ปี ร้อยละ 55.6 ระยะเวลาการนอนรักษาพยาบาลน้อยกว่า 10 วัน ร้อยละ 38.9 เข้ารักษาพยาบาลที่หอผู้ป่วยอายุรกรรม ร้อยละ 56.1 ตัวอย่างส่งตรวจเป็นเสมหะ ร้อยละ 68.4 ใส่ท่อช่วยหายใจ ร้อยละ 42.9 และเสียชีวิต ร้อยละ 27.6 เชื้อดื้อยา K. pneumoniae มีความไวต่อยา Netilmicin, Amikacin, Meropenem, Imipenem, Doripenem และ Ertapenem ผู้ป่วยที่เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 60.1 มีอายุมากกว่า 61 ปี ร้อยละ 59.6 นอนรักษาพยาบาลที่หอผู้ป่วยอายุรกรรม ร้อยละ 51.3 ตัวอย่างส่งตรวจเป็นเสมหะ ร้อยละ 70.4 และใส่ท่อช่วยหายใจ ร้อยละ 59.6 และการเสียชีวิตของผู้ป่วย มีความสัมพันธ์กับผู้ป่วยที่มีตัวอย่างส่งตรวจเป็นเสมหะ และใส่ท่อ ช่วยหายใจขณะเข้ารับการรักษาพยาบาลที่หอผู้ป่วยอายุรกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่
สรุป: ผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากการติดเชื้อดื้อยา K. pneumoniae เป็นผู้ที่มีตัวอย่างส่งตรวจเป็นเสมหะ และใส่ท่อช่วยหายใจขณะเข้ารับการรักษาพยาบาลที่หอผู้ป่วยอายุรกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

นิตยา อินทราวัฒนา, มุทิตา วนาภรณ์. โรคติดเชื้อในโรงพยาบาลและสถานการณ์การดื้อยา. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2558;22(1):81-92.

พรรณนิกา ฤตวิรุฬห์. แบคทีเรียดื้อยา. พิมพ์ครั้งที่ 1. พิษณุโลก : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร ; 2563.

Pobpad. การติดเชื้อเคลบเซลลา นิวโมนิอี (Klebsiella pneumoniae). [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 9 มกราคม 2566]. ค้นได้จาก: URL: https://www.pobpad.com/โรคติดเชื้อเคลบเซลลา-นิ.

Thottacherry E, Nunez K. What You Need to Know About a Klebsiella pneumoniae Infection. [Internet]. 2022. [cited 2023 Jan 9] .Available from:URL: https://www.healthline.com/health/klebsiella-pneumonia.

สุกัญญา บัวชุม, ไพโรจน์ โจวตระกูล, สุชาดา วงพระจันทร์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อแบคทีเรียกลุ่ม Enterobacteriaceae ที่ดื้อต่อยา Carbapenem: CRE ในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในผู้ป่วยใน โรงพยาบาลพิจิตร. วารสารวิจัยและวิชาการสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร 2563;1(1):1-9.

Ashurst JV, Dawson A. Klebsiella Pneumonia. England : StatPearls Publishing LLC. ; 2023. [Internet] 2023. [cited 2023 Aug 9]. Available from:URL: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK519004/.

รัชดาพร รุ้งแก้ว. การศึกษาย้อนหลังการอักเสบติดเชื้อบริเวณช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา แผนกผู้ป่วยใน กลุ่มงานโสต ศอ นาสิกโรงพยาบาลศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ ระหว่างปี พ.ศ 2560-2562. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น 2563;2(2):213-29.

ภริตา บุญรักษา, คมกฤษณ์ ปัญญวัฒนกิจ, ทอม กำภู ณ อยุธยา, วีรวรรณ แก้วทอง, กชกร พงศ์พิศาล, วิน เตชะเคหะกิจ. โรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อในโรงพยาบาลในผู้ใหญ่ สาเหตุและความชุกของการดื้อต่อยาปฏิชีวนะช่วงปี พ.ศ. 2554-2555 โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุข 2556;7(2):296-301.

สำนักงานเขตสุขภาพที่ 10. สถานการณ์ 10 อันดับโรคที่ถูก Diag ผู้ป่วยใน 2564 ที่เสียชีวิต รับส่งต่อ และส่งต่อ ที่มีผลรวม CMI มากที่สุด ในเขตสุขภาพที่ 10.[อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้น 9 มกราคม 2566]. ค้นได้จาก: URL: https://healthregion10.moph.go.th/ข้อมูลทั่วไป-เขตสุขภาพท/.

Rojas LJ, Salim M, Cober E, Richter SS, Perez F, Salata RA, et al. Colistin Resistance in Carbapenem-Resistant Klebsiella pneumoniae: Laboratory Detection and Impact on Mortality. Clin Infect Dis 2017;64(6):711-8. doi: 10.1093/cid/ciw805.

กำธร มาลาธรรม, สุนทรียา ศิริโชติ. การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยา. [อินเตอร์เน็ท] [สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2566]. ค้นได้จาก:URL: https://www.rama.mahidol.ac.th/ic/sites/default/files/public/pdf/IC%20book.pdf.

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางการพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ; 2553.

กระทรวงสาธารณสุข. ระบบข้อมูลสำหรับการติดตามสถานการณ์การติดเชื้อในโรงพยาบาลและสถานการณ์เชื้อดื้อยา. [อินเตอร์เน็ท] [สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2566]. ค้นได้จาก: URL: http://phdbreport.moph.go.th/hssd1/.

ธนิตดา เลิศลอยกุลชัย. อุบัติการณ์และสาเหตุของปอดอักเสบติดเชื้อในโรงพยาบาลและปอดอักเสบติดเชื้อที่สัมพันธ์กับเครื่องช่วยหายใจในโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี 2564;46(2):121-30.

พุทธิชาติ ขันตี, กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ. Update of Carbapenem-Resistant Enterobacteriaceae. [อินเตอร์เน็ท] [สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2566]. ค้นได้จาก: URL: http:// www.pidst.or.th/A464.html.