ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA test จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

เอนก จัดดี

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: การติดเชื้อไวรัส Human Papillomavirus (HPV) เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูกหากไม่ถูกตรวจพบหรือรักษาแต่เนิ่นๆ มะเร็งจะลามจากปากมดลูกไปยังอวัยวะเพศและเนื้อเยื่อชั้นในรอบๆ มดลูก จากนั้นจะแพร่ลามไปที่ต่อมน้ำเหลืองและกระดูกเชิงกราน ส่งผลให้ไต กระเพาะปัสสาวะ ตับ และปอดทำงานผิดปกติ และทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในที่สุด
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยของผู้ป่วย (อายุ การตั้งครรภ์ การคลอดลูก การแท้งลูก การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การผ่าตัด การคุมกำเนิด การมีประจำเดือน ผลตรวจ Liquid-based cytology (LBC) ผลตรวจชิ้นเนื้อ ดัชนีมวลกาย และ โรคประจำตัว กับผลตรวจ HPV DNA test
รูปแบบการศึกษา: การศึกษาแบบย้อนหลัง (Retrospective study)
วิธีการศึกษา: ประชากร คือ ผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก จำนวน 5,250 ราย เครื่องมือการวิจัยคือแบบบันทึกข้อมูลที่ได้จากเวชระเบียนที่ประกอบด้วยข้อมูล อายุ การตั้งครรภ์ การคลอดลูก การแท้งลูก การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การผ่าตัด การคุมกำเนิด การมีประจำเดือน ผลตรวจ LBC ผลตรวจชิ้นเนื้อ ดัชนีมวลกาย และโรคประจำตัว สถิติที่ใช้ข้อมูลทั่วไป คือ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรใช้สถิติวิเคราะห์ Chi Square Test, Phi correlation, Cramer’V และ Contingency Coefficient
ผลการศึกษา: 1) ผู้ป่วยมีอายุเฉลี่ย 47.5 ปี อายุน้อยที่สุด 19 ปี อายุมากที่สุด 77 ปี ผู้ป่วยเคยตั้งครรภ์มาแล้ว ร้อยละ 47.7 ผู้ป่วยที่เคยคลอดมาแล้ว ร้อยละ 47.5 ผู้ป่วยแท้งลูก ร้อยละ 4.2 ผู้ป่วยมีลูก ร้อยละ 47.5 ผู้ป่วยใช้การคุมกำเนิด ร้อยละ 18.4 ผู้ป่วยยังมีประจำเดือนอยู่ ร้อยละ 44.6
2) ผลตรวจ HPV DNA test ให้ผลบวก ร้อยละ 5.5 ผลตรวจชิ้นเนื้อเป็นมะเร็งปากมดลูกชนิด adenocarcinoma ร้อยละ 0.3 และเป็นมะเร็งปากมดลูกชนิด Squamous cell carcinoma ร้อยละ 0.4 ผลตรวจ LBC เป็นเซลล์ผิดปกติ ร้อยละ 4.0 ดัชนีมวลกายของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก เฉลี่ย 23.4
3) ผลการศึกษาความสัมพันธ์ของผลตรวจ HPV DNA test พบว่าผู้ป่วยที่มีผลตรวจเป็นบวกมีความสัมพันธ์กับอายุของผู้ป่วย ผู้ป่วยที่เคยคลอดลูก ผู้ป่วยที่มีลูก และผู้ป่วยที่ยังมีประจำเดือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HPV จะพบมากขึ้นในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยที่เคยคลอดลูก ผู้ป่วยที่มีลูก และผู้ป่วยที่ยังมีประจำเดือน
สรุป: ผู้ป่วยที่มีผลตรวจ HPV DNA test เป็นบวกจะพบมากขึ้นในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยที่เคยคลอดลูก ผู้ป่วยที่มีลูก และผู้ป่วยที่ยังมีประจำเดือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์. มะเร็งปากมดลูก โรคร้ายที่คุณป้องกันได้. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2566]. ค้นได้จาก:URL:https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/January2008/be-prepared-for-cervical-cancer-prevention.

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยวิธี HPV DNA Test. กรุงเทพฯ : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ ; 2563.

วารุณี วังชัย, รัชนีวรรณ จันทร์สว่าง, ปาจรีย์ วรรโณทัย. ศึกษาผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีที่มารับบริการตรวจสุขภาพค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรก ณ งานพยาบาลผู้ป่วยเฉพาะทางโรคมะเร็งกลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยนอกปีงบประมาณ 2558. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2566]. ค้นได้จาก: URL:https://https://www.lpch.go.th/km/uploads/20170125142453800508.pdf.

เขตสุขภาพที่ 10. สาเหตุการตายด้วยมะเร็งทุกชนิด ปี พ.ศ. 2564 เขตสุขภาพที่ 10. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2566]. ค้นได้จาก:URL:https://healthregion10.moph.go.th/ข้อมูลทั่วไปเขตสุขภาพที่ 10.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA Test ค้นความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกในระดับพันธุกรรม. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2566]. ค้นได้จาก: URL: https://www.nhso.go.th/news/3634

Abbott. Alinity M Instrument User Manual. Illinois : Abbott Park ; 2023.

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. แนวทางการตรวจคัดกรองวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งปากมดลูก. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : โฆสิตการพิมพ์ ; 2561.

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางการพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ; 2553.

ภุชงค์ ลิขิตธนสมบัติ. มะเร็งปากมดลูก. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2566]. ค้นได้จาก: URL:https://https://www.rama.mahidol.ac.th/cancer_center/th/protfolio/knowledge/gyne/servix.

เกื้อหนุน บัวไพจิตร. ความสัมพันธ์ของผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกกับผลการตรวจทางพยาธิวิทยาในโรงพยาบาลสกลนคร. วารสาร โรงพยาบาลสกลนคร 2561;21(3):1-11.

สุขุมาล โพธิ์ทอง. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีในพื้นที่อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร.วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2561;32(2):965-79.

ศิริญญา เพชรพิชัย, ณัฐพร คล้ายคลึง,อมรรัตน์ โพธิ์ตา, อนุกูล บุญคงและปาริชาติ กัญญาบุญ. ความชุกของการติดเชื้อ Human papillomavirus สายพันธุ์เสี่ยงสูงของสตรีไทยในพื้นที่จังหวัดพิจิตร อุทัยธานี ชัยนาท และกำแพงเพชร. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2564;63(4):766-81.

ธิดารัตน์ มละสาร. ความชุกและการกระจายตัวของการติดเชื้อไวรัสฮิวแมนแปปปิโลม่าของสตรีในพื้นที่อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา 2565;7(4):114-22.

Dignity Health. Human papillomavirus HPV. [Internet]. [Cited [cited 2023 Jun 21]. Available from:URL:https://www.dignityhealth.org/conditions-and-treatments/womens-services/gynecology/oldhuman-papillomavirus-hpv.