เปรียบเทียบผลการวางสายระบายช่องท้องแบบป้องกันกับไม่วางสายระบายช่องท้องแบบป้องกันในผู้ป่วยกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นทะลุในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน

Main Article Content

พชร เตโชพิริยะกุล

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: โรคกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น ทะลุ เป็นสาเหตุของภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบที่พบได้บ่อยและต้องการการผ่าตัดรักษาอย่างเร่งด่วน ภายหลังการผ่าตัดรักษาศัลยแพทย์มักจะวางสายระบายในช่องท้องแบบป้องกันเพื่อใช้ตรวจภาวการณ์รั่วของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น ที่ทำการเย็บซ่อมไว้ แต่ในปัจจุบันการวางสายระบายช่องท้องแบบป้องกัน ภายหลังการผ่าตัด ไม่ได้มีหลักฐานเชิงประจักษ์ถึงประโยชน์ที่ชัดเจนบาง สถาบันในต่างประเทศก็ไม่ได้สนับสนุนให้ทำการวางสายระบายช่องท้องในผู้ป่วยทุกราย
วัตถุประสงค์: ศึกษาเปรียบเทียบ ผลการรักษาระหว่างกลุ่มที่ใส่สายระบายป้องกันและไม่ใส่สายระบายป้องกันในแง่มุมต่างๆ
วิธีการศึกษา: การศึกษาย้อนหลัง ในผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น ทะลุตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2562 จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 มีผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการศึกษาทั้งสิ้น 70 ราย โดยแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับการวางสายระบายในช่องท้อง (Drain) จำนวน 46 ราย และกลุ่มที่ไม่ได้รับการวางสายระบาย (No drain) จำนวน 24 ราย โดยศึกษาเปรียบเทียบเวลาที่ใช้ในการพักรักษาตัวในโรงพยาบาล, เวลาที่ใช้ในการผ่าตัด, ความเจ็บปวดภายหลังการผ่าตัด และภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด
ผลการศึกษา: ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย เช่น อายุเฉลี่ย, ดัชนีมูลกาย (BMI), และ ASA score ระหว่างกลุ่ม Drain และ No drain ไม่ได้มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (อายุ 59.7±12.2 ปีกับ 53.8±13.4 ปี; p= 0.069, ตามลำดับ, BMI 20.7±2.0 กับ 21.3±3.5; p= 0.493, ตามลำดับ, และ ASA score 11.4% กับ 88.6%; p= 0.320, ตามลำดับ) ในด้านผลการรักษาพบว่าระยะเวลาที่ใช้ในการนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล (Hospital stay) และความเจ็บปวดภายหลังการผ่าตัด 24 ชั่วโมงแรก (Post-operative pain) มีความแตกต่างระหว่างกลุ่ม Drain และ No drain อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ (Hospital stay 7.1±1.6 วัน กับ 5.7±0.7; p= <0.001, ตามลำดับ, คะแนน Post-operative pain 4.8±2.1 กับ 3.1±1.9; p= <0.001, ตามลำดับ) ส่วนระยะเวลาการผ่าตัด ขนาดของแผล และภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างสองกลุ่ม (Operative duration 43.1±9.6 นาที กับ 40.6±8.7 นาที; p= 0.300, ตามลำดับ Perforation size 0.5±0.1ซม. กับ 0.4±0.1 ซม.; p= 0.064, ตามลำดับ ภาวะแทรกซ้อนร้อยละ 17.4 กับร้อยละ 8.3; p= 0.304)
สรุป: จากการศึกษานี้ผู้ป่วยที่ไม่ได้วางสายระบายภายหลังการผ่าตัดกระเพาะและลำไส้เล็กทะลุ มีเวลาที่ใช้ในการนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลที่สั้นกว่ากลุ่มที่วางสายระบายและมีระดับความเจ็บปวดหลังผ่าตัดที่น้อยกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการวางสายระบายอย่างมีนัยสำคัญ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

O'Connor TW, Hugh TB. Abdominal drainage: a clinical review. Aust N Z J Surg 1979;49(2):253-60. doi: 10.1111/j.1445-2197.1979.tb04951.x.

Gilas T, Schein M, Frykberg E. A surgical Internet discussion list (Surginet): a novel venue for international communication among surgeons. Arch Surg 1998;133(10):1126-30. doi: 10.1001/archsurg.133.10.1126.

Petrowsky H, Demartines N, Rousson V, Clavien PA. Evidence-based value of prophylactic drainage in gastrointestinal surgery: a systematic review and meta-analyses. Ann Surg 2004;240(6):1074-84; discussion 1084-5. doi: 10.1097/01.sla.0000146149.17411.c5.

Schein M. To drain or not to drain? The role of drainage in the contaminated and infected abdomen: an international and personal perspective. World J Surg 2008;32(2):312-21. doi: 10.1007/s00268-007-9277-y.

Khan S, Rai P, Misra G. Is Prophylactic Drainage of Peritoneal Cavity after Gut Surgery Necessary?: A Non-Randomized Comparative Study from a Teaching Hospital. J Clin Diagn Res 2015;9(10):PC01-3. doi: 10.7860/JCDR/2015/8293.6577.

Pai D, Sharma A, Kanungo R, Jagdish S, Gupta A. Role of abdominal drains in perforated duodenal ulcer patients: a prospective controlled study. Aust N Z J Surg 1999;69(3):210-3. doi: 10.1046/j.1440-1622.1999.01524.x.

Kumar R, Ankur H, Lakshay C, Sonali J, Walai R, Subhash G. Role of drains in cases of peptic ulcer perforations : comparison between single drain versus on drain. Int J Surg 2020;7(2):404-7. DOI:10.18203/2349-2902.isj20200287

Urbach DR, Kennedy ED, Cohen MM. Colon and rectal anastomoses do not require routine drainage: a systematic review and meta-analysis. Ann Surg 1999;229(2):174-80. doi: 10.1097/00000658-199902000-00003.

Jesus EC, Karliczek A, Matos D, Castro AA, Atallah AN. Prophylactic anastomotic drainage for colorectal surgery. Cochrane Database Syst Rev 2004;2004(4):CD002100. doi: 10.1002/14651858.CD002100.pub2.

Okumura K, Hida K, Kunisawa S, Nishigori T, Hosogi H, Sakai Y, et al. Impact of Drain Insertion After Perforated Peptic Ulcer Repair in a Japanese Nationwide Database Analysis. World J Surg 2018;42(3):758-65. doi: 10.1007/s00268-017-4211-4.

Rosner B. Fundamentals of Biostatistics. 5th.ed. Belmont : Duxbury Press ; 2000.

Kawai M, Tani M, Terasawa H, Ina S, Hirono S, Nishioka R, et al. Early removal of prophylactic drains reduces the risk of intra-abdominal infections in patients with pancreatic head resection: prospective study for 104 consecutive patients. Ann Surg 2006;244(1):1-7. doi: 10.1097/01.sla.0000218077.14035.a6.

Dougherty SH, Simmons RL. The biology and practice of surgical drains. Part II. Curr Probl Surg 1992;29(9):633-730. doi: 10.1016/0011-3840(92)90028-2.

Mawalla B, Mshana SE, Chalya PL, Imirzalioglu C, Mahalu W. Predictors of surgical site infections among patients undergoing major surgery at Bugando Medical Centre in Northwestern Tanzania. BMC Surg 2011;11:21. doi: 10.1186/1471-2482-11-21.

Shahane V, Bhawal S, Lele U. Surgical site infections: A one year prospective study in a tertiary care center. Int J Health Sci (Qassim) 2012;6(1):79-84. doi: 10.12816/0005976.

Levy M. Intraperitoneal drainage. Am J Surg 1984;147(3):309-14. doi: 10.1016/0002-9610(84)90156-9.

Dougherty SH, Simmons RL. The biology and practice of surgical drains. Part 1. Curr Probl Surg 1992;29(8):559-623. doi: 10.1016/0011-3840(92)90022-u.

Kähler G. Anastomotic Leakage after Upper Gastrointestinal Surgery: Endoscopic Treatment. Visc Med 2017;33(3):202-6. doi: 10.1159/000475783.

McCaffery M, Beebe A. Pain: Clinical Manual for Nursing Practice. St. Louis : Mosby ; 1989.