การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองไม่รุนแรง โรงพยาบาลบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: ผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมองที่พบส่วนใหญ่ ร้อยละ 70-80 มีความรุนแรงระดับไม่รุนแรง อาการบาดเจ็บทางร่างกายไม่รุนแรง แต่ทำให้เกิดการกระทบกระเทือนต่อสมอง ทำให้โครงสร้าง และการทำหน้าที่ของสมองเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้เกิดกลุ่มอาการภายหลังสมองได้รับการกระทบกระเทือน ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะถูกละเลยจากการเฝ้าระวังมากกว่าผู้ป่วยบาดเจ็บสมองปานกลาง และรุนแรง ทำให้ได้รับการรักษาล่าช้าและมีอาการทรุดลง
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองไม่รุนแรง และเพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองไม่รุนแรง
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 52 คน และผู้ป่วย จำนวน 180 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองไม่รุนแรง แบบบันทึกผลลัพธ์ด้านคุณภาพการบริการผู้ป่วยบาดเจ็บสมองไม่รุนแรง แบบประเมินสมรรถนะการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองไม่รุนแรง แบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพผู้ใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองไม่รุนแรง และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยบาดเจ็บสมองไม่รุนแรง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Independent T-test
ผลการศึกษา: รูปแบบการพยาบาลที่พัฒนาขึ้น เป็นการจัดระบบการพยาบาล ตั้งแต่แรกรับต่อเนื่องจนถึงหลังจำหน่าย ผลการพัฒนา พบว่า การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองไม่รุนแรงมีคุณภาพมากกว่าก่อนพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) พยาบาลมีสมรรถนะการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองไม่รุนแรงเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 79.8 เป็น 90.3 มีความพึงพอใจในระดับมาก คิดเป็น ร้อยละ 84.2 ผู้ป่วยบาดเจ็บสมองไม่รุนแรงมีความพึงพอใจต่อการดูแลโดยใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองไม่รุนแรงในระดับมากที่สุด ร้อยละ 91.0
สรุป: รูปแบบการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพ สามารถนำไปใช้กับผู้ป่วยบาดเจ็บสมองไม่รุนแรง ตั้งแต่แรกรับจนถึงหลังการจำหน่าย ช่วยให้ผู้ป่วยปลอดภัย ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. สถานการณ์และแนวโน้มสุขภาพและการแพทย์ฉุกเฉิน. [อินเตอร์เน็ท]. 2562. [สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2566]. ค้นได้จาก:URL: PowerPoint Presentation (niems.go.th)
World Health Organization. Global Status Report on Road Safety 2015. Geneva : World Health Organization ; 2015.
นครชัย เผื่อนปฐม, ธีรเดช ศรีกิจวิไลกุล, บรรณาธิการ. แนวทางเวชปฏิบัติกรณีสมองบาดเจ็บ. กรุงเทพฯ : บริษัท พรอสเพอรัสพลัส จำกัด ; 2562.
สวิง ปันจัยสีห์, นครชัย เผื่อนปฐม, กุลพัฒน์ วีรสาร. แนวทางเวชปฏิบัติกรณีสมองบาดเจ็บ. กรุงเทพฯ : ธนาเพรส ; 2556.
TEA-UNIT โรงพยาบาลบุรีรัมย์. รายงานสถานการณ์ผู้ป่วยกรณีสมองบาดเจ็บ โรงพยาบาลบุรีรัมย์. บุรีรัมย์ : โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ; 2566. (เอกสารอัดสำเนา).
Katz D, Kahn, RL. The social psychology of organization. 2nd ed. New York : McGraw-Hill ; 1978.
กัญญ์สิริ จันทร์เจริญ. การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง. ใน: ประกาย จิโรจน์กุล, บรรณาธิการ. การวิจัยทางการพยาบาล แนวคิด หลักการและวิธีปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บริษัทสร้างสื่อ จำกัด ; 2552 : 85-144.
อรอนงค์ โกเมศ, สุดศิริ หิรัญชุณหะ, หทัยรัตน์ แสงจันทร์. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง กับการเฝ้าระวัง ภาวะเลือดออกในสมองตามการรับรู้ของผู้บาดเจ็บศีรษะเล็กน้อยและผู้ดูแล. วารสารสภาการพยาบาล 2553;25(2):54-63.
สุภา ตันติวิสุทธิ์, อำภาพร นามวงศ์พรหม, ศศิธร ศิริกุล. ประสิทธิผลของการพัฒนาระบบการพยาบาลการใช้แนวปฏิบัติที่สร้างจากหลักฐานเชิงประจักษ์ต่อคุณภาพการดูแลผู้บาดเจ็บที่ศีรษะชนิดรุนแรง. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2554;29(3):5-14.
อัญชลี ถิ่นเมืองทอง, อรทัย ศิลป์ประกอบ, ศรีวรรณ มีบุญ, เยาวรัตน์ รุ่งสว่าง. การพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะจากอุบัติเหตุทางถนนในโรงพยาบาลปทุมธานีโดยใช้แนวคิดการพยาบาลผู้จัดการรายกรณีในห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน. วารสารกองการพยาบาล 2559;43(3):5-24.
นงลักษณ์ บุญเยีย. ผลการพัฒนารูปแบบทีมการพยาบาลต่อคุณภาพการพยาบาลในผู้ป่วยหนักศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2558;24(5): 927-36.