อุบัติการณ์และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการกลับเป็นซ้ำหลังผ่าตัดต้อเนื้อในโรงพยาบาลบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: ต้อเนื้อเป็นโรคที่พบบ่อยในประเทศไทยโดยเฉพาะแถบชนบท อุบัติการณ์การกลับเป็นซ้ำหลังผ่าตัดแตกต่างกันในแต่ละการศึกษาขึ้นกับลักษณะประชากรและวิธีผ่าตัดที่ต่างกัน
วัตถุประสงค์: ศึกษาอัตราการกลับเป็นซ้ำหลังผ่าตัดต้อเนื้อในโรงพยาบาลบุรีรัมย์และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบ Prospective cohort study เก็บข้อมูลผู้ป่วยที่ผ่าตัดต้อเนื้อในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ช่วง พฤศจิกายน พ.ศ.2565 ถึง กรกฎาคม พ.ศ.2566 โดยใช้แบบบันทึกข้อมูล ข้อมูลที่วิเคราะห์ประกอบด้วย อายุ เพศ ขนาดและชนิดของต้อเนื้อ แพทย์ผู้ผ่าตัด วิธีผ่าตัด การใช้ adjuvant treatment ภาวะแทรกซ้อน ระยะเวลาในการติดตามหลังผ่าตัด ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน และสถิไคสแควร์ในการหาความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ ได้แก่ เพศ อายุ และอื่นๆกับการกลับเป็นซ้ำของต้อเนื้อ
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 87 ราย อายุเฉลี่ย 62.7±10.1 ปี เป็นการผ่าตัดต้อเนื้อครั้งแรก 84 ตา (ร้อยละ 96.6) ใช้เทคนิคผ่าตัด 3 วิธี ได้แก่ Bare sclera technique 41 ตา (ร้อยละ 47.1) Pterygium excision with amniotic membrane graft 29 ตา (ร้อยละ 33.3) Pterygium excision with conjunctival autograft 17 ตา (ร้อยละ 19.5) มี 1 ราย (ร้อยละ 1.1) ที่ได้รับ adjuvant treatment ระหว่างผ่าตัด ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยที่สุดคือการกลับเป็นซ้ำของต้อเนื้อ 33 ตา (ร้อยละ 37.9) ระยะเวลาเฉลี่ยที่เกิด 13.6±8.8 สัปดาห์ ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้แก่ ความดันลูกตาสูง 6 ตา (ร้อยละ 6.8) แกรนูโลมาที่เยื่อบุตา 2 ตา (ร้อยละ 2.3) corneal dellen 2 ตา (ร้อยละ 2.3) ไม่พบความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ กับการกลับเป็นซ้ำของต้อเนื้อ แต่พบว่าปัจจัยด้านอายุ (p <0.001) เพศ (p= 0.026) ชนิดของต้อเนื้อ (p= 0.045) มีผลต่อการเลือกเทคนิคผ่าตัดของแพทย์
สรุป: พบอุบัติการณ์การกลับเป็นซ้ำของต้อเนื้อในจังหวัดบุรีรัมย์ร้อยละ 37.9 มากกว่าพื้นที่อื่นๆ เล็กน้อย ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ กับการกลับเป็นซ้ำ แต่พบว่าอายุ เพศ และชนิดของต้อเนื้อ มีผลต่อการเลือกเทคนิคการผ่าตัดของแพทย์อย่างมีนัยสำคัญ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Liu L, Wu J, Geng J, Yuan Z, Huang D. Geographical prevalence and risk factors for pterygium: a systematic review and meta-analysis. BMJ Open 2013;3(11):e003787. doi: 10.1136/bmjopen-2013-003787.
Phathanthurarux S, Chantaren P. A Survey of Surgical Techniques in Pterygium, Thailand 2016. Asia Pac J Ophthalmol (Phila) 2019;8(6):476-80. doi: 10.1097/01.APO.0000605100.25659.f7.
Kampitak K, Wanichsetakul P, Suphachearaphan W. Influencing Factors for Recurrent Pterygium. J Med Assoc Thai 2017;100(Suppl.5): S1-S6.
Fernandes M, Sangwan VS, Bansal AK, Gangopadhyay N, Sridhar MS, Garg P, et al. Outcome of pterygium surgery: analysis over 14 years. Eye (Lond) 2005;19(11):1182-90. doi: 10.1038/sj.eye.6701728.
Torres-Gimeno A, Martínez-Costa L, Ayala G. Preoperative factors influencing success in pterygium surgery. BMC Ophthalmol 2012;12:38. doi: 10.1186/1471-2415-12-38.
Ti SE, Chee SP, Dear KB, Tan DT. Analysis of variation in success rates in conjunctival autografting for primary and recurrent pterygium. Br J Ophthalmol 2000;84(4):385-9. doi: 10.1136/bjo.84.4.385.
Aidenloo NS, Motarjemizadeh Q, Heidarpanah M. Risk factors for pterygium recurrence after limbal-conjunctival autografting: a retrospective, single-centre investigation. Jpn J Ophthalmol 2018;62(3):349-56. doi: 10.1007/s10384-018-0582-9.
Kaufman SC, Jacobs DS, Lee WB, Deng SX, Rosenblatt MI, Shtein RM. Options and adjuvants in surgery for pterygium: a report by the American Academy of Ophthalmology. Ophthalmology 2013;120(1):201-8. doi: 10.1016/j.ophtha.2012.06.066
Nuzzi R, Tridico F. How to minimize pterygium recurrence rates: clinical perspectives. Clin Ophthalmol 2018;12:2347-62. doi: 10.2147/OPTH.S186543.
Ono T, Mori Y, Nejima R, Lee J, Abe K, Nagata Y, et al. Long-term changes and effect of pterygium size on corneal topographic irregularity after recurrent pterygium surgery. Sci Rep 2020;10(1):8398. doi: 10.1038/s41598-020-65376-4.
Mohammed I. Treatment of pterygium. Ann Afr Med 2011;10(3):197-203. doi: 10.4103/1596-3519.84695.
Alsarhani W, Alshahrani S, Showail M, Alhabdan N, Alsumari O, Almalki A, et al. Characteristics and recurrence of pterygium in Saudi Arabia: a single center study with a long follow-up. BMC Ophthalmol 2021;21(1):207. doi: 10.1186/s12886-021-01960-0.
Kampitak K, Bhornmata A. The results of pterygium excision at Thammasat hospital. J Med Assoc Thai 2015;98(5):495-500.
Mahar PS, Manzar N. Pterygium recurrence related to its size and corneal involvement. J Coll Physicians Surg Pak 2013;23(2):120-3. PMID: 23374515
Avisar R, Arnon A, Avisar E, Weinberger D. Primary pterygium recurrence time. Isr Med Assoc J 2001;3(11):836-7. PMID: 11729580
Said DG, Faraj LA, Elalfy MS, Yeung A, Miri A, Fares U, et al. Intra-lesional 5 fluorouracil for the management of recurrent pterygium. Eye (Lond) 2013;27(10):1123-9. doi: 10.1038/eye.2013.135.
Wu K, Lee HJ, Desai MA. Risk factors for early onset elevated intraocular pressure after pterygium surgery. Clin Ophthalmol 2018;12:1539-47. doi: 10.2147/OPTH.S159592.
Ozkurt YB, Kocams O, Comez AT, Uslu B, Dogan OK. Treatment of primary pterygium. Optom Vis Sci 2009;86(10):1178-81. doi: 10.1097/OPX.0b013e3181baac1a.