ความชุกและผลการรักษาวัณโรคเส้นเอ็นอักเสบบริเวณมือและข้อมือในโรงพยาบาลศรีสะเกษ

Main Article Content

ชวลิต โพธิ์งาม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของการเกิดโรควัณโรคเส้นเอ็นอักเสบบริเวณมือและข้อมือ ลักษณะของประชากร อาการแสดง และผลการรักษาด้วยการผ่าตัดร่วมกับกินยาต้านวัณโรค
วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive study) โดยการเก็บข้อมูลย้อนหลัง 10 ปีในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นวัณโรคเส้นเอ็นอักเสบที่มือและข้อมือ (Tuberculous tenosynovitis of hand and wrist) ที่เข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดและกินยาต้านวัณโรคในโรงพยาบาลศรีสะเกษ ตั้งแต่ตุลาคม พ.ศ.2556 ถึงกันยายน พ.ศ.2565
ผลการศึกษา: พบผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อวัณโรคทุกระบบที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในในโรงพยาบาลศรีสะเกษระหว่างตุลาคม พ.ศ.2556 ถึงกันยายน พ.ศ.2565 ทั้งหมด 5,561 ราย เป็นผู้ป่วยวัณโรคระบบกระดูกและข้อ 771 ราย คิดเป็นร้อยละ 13.9 และเป็นผู้ป่วยวัณโรคเส้นเอ็นอักเสบบริเวณมือและข้อมือ 58 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.0 ของกลุ่มผู้ติดเชื้อวัณโรคทั้งหมดที่เข้ารับบริการ พบมีผู้ป่วยวัณโรคเส้นเอ็นอักเสบบริเวณมือและข้อมือที่เข้าเกณฑ์การศึกษาวิจัยจำนวน 29 ราย เป็นชาย 17 คน หญิง 12 คน อายุเฉลี่ย 60.2 ปี ส่วนใหญ่มาด้วยก้อนที่บริเวณข้อมือ (ร้อยละ 75.9) ชามือ และกำมือได้ไม่สุด มักพบเป็นการติดเชื้อวัณโรคเฉพาะที่ข้อมือ (ร้อยละ 72.4) แต่ยังคงพบวัณโรคในระบบอื่นร่วมด้วย ได้แก่ วัณโรคปอด 6 ราย วัณโรคกระดูกสันหลัง 1 ราย และวัณโรคข้อเท้า 1 ราย ผู้ป่วยทุกรายได้รับผ่าตัดปลอกหุ้มเส้นเอ็นและกินยาต้านวัณโรคนาน 9–12 เดือน พบว่าทุกรายที่รักษาครบหายดีและไม่มีประวัติติดเชื้อวัณโรคเส้นเอ็นซ้ำจากการติดตามข้อมูลการรักษาในระยะเวลา 10 ปี อีกทั้งภาวะข้อนิ้วติดและความสามารถใช้งานในชีวิตประจำวันดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับก่อนรักษา อย่างไรก็ตามพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยหรือเริ่มการรักษาล่าช้าและผู้ป่วยที่กินยาต้านวัณโรคไม่ต่อเนื่องเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้บ่อย เช่น แผลแยก เป็นหนองเรื้อรัง เส้นเอ็นฉีกขาด รวมถึงการติดเชื้อวัณโรคหลายระบบจนนำไปสู่การเสียชีวิตได้ โดยพบมีผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยคลาดเคลื่อนแต่แรกมีจำนวนถึง 13 ราย (ร้อยละ 44.8) และผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะเส้นเอ็นฉีกขาด จะมีผลการรักษาที่ไม่ดีนัก
สรุป: วัณโรคเส้นเอ็นอักเสบบริเวณมือและข้อมือ เป็นการติดเชื้อที่พบน้อยมาก แต่สามารถพบได้มากขึ้น ในพื้นที่ที่มีความชุกของวัณโรคสูง การได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่ระยะเริ่มต้นมีความสำคัญต่อผลการรักษา การผ่าตัดร่วมกับการกินยาต้านวัณโรคอย่างสม่ำเสมอนาน 9-12 เดือนยังคงเป็นมาตรฐานการรักษา ซึ่งพบว่าได้ผลการรักษาที่ดี และสามารถช่วยลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ จากโรคได้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Tuli SM. General principles of osteoarticular tuberculosis. Clin Orthop Relat Res 2002;(398):11-9. doi: 10.1097/00003086-200205000-00003.

ศรีประพา เนตรนิยม, บรรณาธิการ. แนวทางการควบคุมวัณโรคแห่งชาติ พ.ศ. 2556. พิมพ์ครั้งที่ 2 (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์ ; 2556.

วิภา รีชัยพิชิตกุล, เพชรวรรณ พึ่งรัศมี, บรรณาธิการ. แนวทางการบริหารจัดการผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย ; 2558.

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการต่อต้านวัณโรค พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ : อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์ ; 2560.

Kotwal PP, Khan SA. Tuberculosis of the hand: clinical presentation and functional outcome in 32 patients. J Bone Joint Surg Br 2009;91(8):1054-7. doi: 10.1302/0301-620X.91B8.22074.

กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการดำเนินงานวัณโรคของประเทศไทย ปีพ.ศ. 2559 – 2563. กรุงเทพฯ : อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์ ; 2564.

กลุ่มระบาดวิทยาและตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์และการเฝ้าระวังวัณโรคประเทศไทย. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2566]. ค้นได้จาก:URL: รายงานสถานการณ์วัณโรคประเทศไทย Oct 2020- Feb 2021_pp edit 3.pdf (tbthailand.org)

Yushan M, Yalikun A, Hamiti Y, Lu C, Yusufu A. Clinical features and treatment outcome of wrist tuberculosis in adult- a retrospective study of 84 consecutive cases with minimum of 2 years follow up. BMC Musculoskelet Disord 2022;23(1):618. doi: 10.1186/s12891-022-05563-8.

Daniel WW, Cross CL. Biostatistics: A foundation of analysis in the health sciences. 6th ed. New York : John Wiley & Sons ; 1995.

Ruhwald M, Aabye MG, Ravn P. IP-10 release assays in the diagnosis of tuberculosis infection: current status and future directions. Expert Rev Mol Diagn 2012;12(2):175-87. doi: 10.1586/erm.11.97.

Sanders CJ, Schucany WG. Tuberculous tenosynovitis. Proc (Bayl Univ Med Cent) 2008;21(1):71-2. doi: 10.1080/08998280.2008.11928362.