ค่าปริมาณรังสีอ้างอิงสำหรับการถ่ายภาพรังสีวินิจฉัยทางการแพทย์ในโรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

แสงชัย สมนาค
กฤษณา ร้อยศรี
รังสี ทรงประโคน

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ค่าปริมาณรังสีอ้างอิงในการถ่ายภาพรังสีวินิจฉัยทางแพทย์ (DRLs) เป็นค่าตัวเลขอ้างอิงที่ใช้ตรวจสอบและพิจารณาถึงความเหมาะสมของระดับปริมาณรังสีที่ใช้กับผู้ป่วยในการถ่ายภาพรังสีวินิจฉัย
วัตถุประสงค์: เพื่อสำรวจค่าปริมาณรังสีอ้างอิงสำหรับการถ่ายภาพรังสีวินิจฉัยทางการแพทย์ในโรงพยาบาลสุรินทร์และเปรียบเทียบกับค่าปริมาณรังสีอ้างอิงของประเทศไทย
วิธีการศึกษา: เก็บข้อมูลทั่วไปและข้อมูลค่าปริมาณรังสีของผู้ป่วย ดังนี้ ค่า ESAK และ DAP สำหรับการถ่ายภาพเอกซเรย์ทรวงอกด้วยเครื่องเอกซเรย์วินิจฉัยทั่วไปแบบดิจิทัล ค่า MGD และ ESAK สำหรับการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์เต้านม ค่า CTDIvol และ DLP สำหรับการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และความแรงรังสีของสารเภสัชรังสีในผู้ป่วยที่ตรวจวินิจฉัยทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ จากนั้นคำนวณหาค่ามัธยฐานของค่าปริมาณรังสีอ้างอิงและนำไปเปรียบเทียบกับค่าปริมาณรังสีอ้างอิงของประเทศไทย
ผลการศึกษา: ค่า ESAK และ DAP ของการถ่ายภาพเอกซเรย์ทรวงอก เท่ากับ 0.24 mGy และ 178.5 mGy.cm2 ตามลำดับ ค่า MGD และ ESAK ของการเอกซเรย์เต้านม เท่ากับ 2.15 และ 10.50 mGy ตามลำดับ สำหรับการถ่ายภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ส่วนสมอง ทรวงอกและช่องท้อง แบบไม่ฉีดสารทึบรังสี มีค่า CTDIvol เท่ากับ 33.6 4.53 และ 6.57 mGy ตามลำดับ และค่า DLP เท่ากับ 676.50 170 และ 311 mGy.cm ตามลำดับ ในขณะที่แบบฉีดสารทึบรังสี มีค่า CTDIvol เท่ากับ 67.4, 8.57, และ 12.43 mGy ตามลำดับ และค่า DLP เท่ากับ 1355 321 และ 588 mGy.cm สำหรับค่าความแรงรังสีของสารเภสัชรังสี การตรวจ Bone scan ใช้ 99mTc-MDP = 20.23 mCi, การตรวจกล้ามเนื้อหัวใจ ขณะ Rest และ Stress ใช้ 99mTc-MIBI = 7.30 และ 24 mCi ตามลำดับ MUGA scan ใช้ 99mTc-RBC = 19.31 mCi, Lung Ventilation scan ใช้ 99mTc-DTPA aerosol = 20.87 mCi ส่วน Lung Perfusion scan ใช้ 99mTc-MAA = 7.04 mCi, Thyroid scan ใช้ 99mTcO4- = 5.25 mCi, และ Dual-isotope parathyroid scan ใช้ 99mTcO4-และ 99mTc-MIBI = 7.57 และ 21.04 mCi ตามลำดับ
สรุป: ค่าปริมาณรังสีอ้างอิงของโรงพยาบาลสุรินทร์ส่วนใหญ่มีค่าน้อยกว่าค่าปริมาณรังสีอ้างอิงของประเทศไทย อย่างไรก็ตามยังมีบางรายการตรวจที่มีค่าปริมาณรังสีมากกว่าค่าปริมาณรังสีอ้างอิงของประเทศไทย ควรหาแนวทางในการปรับปรุงการตรวจให้เหมาะสมต่อไป ซึ่งจะช่วยลดปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับโดยที่ยังคงรักษาคุณภาพของภาพรังสีวินิจฉัยทางการแพทย์ให้มีความเหมาะสม

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Huda W, Abrahams RB. Radiographic techniques, contrast, and noise in x-ray imaging. AJR Am J Roentgenol. 2015;204(2):W126-31. doi: 10.2214/AJR.14.13116.

Vañó E, Miller DL, Martin CJ, Rehani MM, Kang K, Rosenstein M, Ortiz-López P, et al. ICRP Publication 135: Diagnostic Reference Levels in Medical Imaging. Ann ICRP 2017;46(1):1-144. doi: 10.1177/0146645317717209.

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. ค่าปริมาณรังสีอ้างอิงในการถ่ายภาพรังสีวินิจฉัยทางการแพทย์ของประเทศไทย 2564. กรุงเทพมหานคร : บียอนด์ พับสิสชิ่ง ; 2564.

อนงค์ สิงกาวงไซย์, ศุภวัฒน์ ทัพสุริย์, ปานฤทัย ตรีนวรัตน์, บรรณาธิการ. ค่าปริมาณรังสีอ้างอิงในการถ่ายภาพรังสีวินิจฉัยทางการแพทย์ของประเทศไทย 2566. กรุงเทพฯ : บียอนด์ พับลิสซิ่ง ; 2566.

Goenka AH, Dong F, Wildman B, Hulme K, Johnson P, Herts BR CT. Radiation Dose Optimization and Tracking Program at a Large Quaternary-Care Health Care System. J Am Coll Radiol 2015;12(7):703-10. doi: 10.1016/j.jacr.2015.03.037.

MacGregor K, Li I, Dowdell T, Gray BG. Identifying Institutional Diagnostic Reference Levels for CT with Radiation Dose Index Monitoring Software. Radiology 2015;276(2):507-17. doi: 10.1148/radiol.2015141520.

. National Radiological Protection Board. National Protocol for Patient Dose Measurements in Diagnostic Radiolog. Chilton : Institute of Physical Sciences in Medicine ; 1992.

International Atomic Energy Agency. Dosimetry in diagnostic radiology: an international code of practice, TRS No.457. Vienna : International Atomic Energy Agency ; 2007.

Suliman II, Mohammedzein TS. Estimation of adult patient doses for common diagnostic X-ray examinations in Wad-madani, Sudan: derivation of local diagnostic reference levels.

Australas Phys Eng Sci Med 2014;37(2):425-9. doi: 10.1007/s13246-014-0255-z.

สุมนัส พิริยะอุดมพร. การประเมินปริมาณรังสีที่ผ่านผิวผู้ป่วยจากการถ่ายภาพเอกซเรย์ทรวงอกในโรงพยาบาลคลองท่อม. วารสารรังสีเทคนิค 2566;48(1):11-7.

วิชัย วิชชาธรตระกูล, สมศักดิ์ วงษ์ศานนท์, บรรจง เขื่อนแก้ว. ปริมาณรังสีที่ผิวหนังของผู้ป่วยที่ได้รับจากการถ่ายภาพรังสีทรวงอก ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัย ขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร 2553;25(2):120–4.

ต้องจิต มหาจันทวงศ์, ธวัชชัย ปราบศัตรู, วรนันท์ คีรีสัตยกุล, สมศักดิ์ วงษาศานนท์, วราภรณ์ สุดใจ. การประเมินปริมาณรังที่ผิวที่ผู้ป่วยได้รับในการถ่ายภาพทางรังสีดิจิทัลในโรงพยาบาลศรีนครินทร์. ศรีนครินทร์เวชสาร 2564;36(1):31-8.

Theerakul, K and Krisanachinda, A. The patient dose from digital mammography systems using molybdenum and tungsten targets. CHULA MED J 2011;55(6):587-95.

DOI: https://doi.org/10.58837/CHULA.CMJ.55.6.6

International Atomic Energy Agency. Safety Series No.115. International Basic safety Standards for Protection against Ionizing Radiation and for the Safety of Radiation Sources. Vienna : International Atomic Energy Agency ; 1996.

Hendrick RE, Bassett L, Botsco MA, Deibel D,Feig S,Gray J,et al. Mammography quality control manual, medical physicist section. USA : American College of Radiology ; 1999.

Rego, S, Yu, L, Bruesewitz, M, Vrieze, T, Kofler, J, McCollough, C, CARE Dose4D CT Automatic Exposure Control System: Physics Principles and Practical Hints. [Internet]. [Cited 2004 Jan 15]. Available from:URL:doc-20086815 (mayo.edu)

ศุภวิทู สุขเพ็ง. ระบบควบคุมปริมาณกระแสหลอดในเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์: หลักการทำงานและปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณรังสี. สงขลานครินทร์เวชสาร 2558;33(4):197-206.