การพัฒนารูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อการบริการสุขภาพที่เป็นเลิศของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่โอนย้ายไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรี

Main Article Content

ประสิทธิ มีแก้ว
ยอดชาย สุวรรณวงษ์
สุพจน์ จิตสงวนสุข
โสรญา สุดสาระ

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: หลังการถ่ายโอน รพ.สต. ไปยังท้องถิ่น พบปัญหาความไม่พร้อมด้านการบริหารจัดการ ส่งผลให้บุคลากร สับสน ขาดขวัญกำลังใจ และกระทบต่อคุณภาพและความต่อเนื่องของบริการสุขภาพ ในปีงบประมาณ 2566 จังหวัดสระบุรีมีการถ่ายโอน รพ.สต. เพียง 30 แห่ง (ร้อยละ 23.8) และครอบคลุม ร้อยละ 100 ในปีงบประมาณ 2568 ดังนั้น การเตรียมความพร้อมที่เหมาะสมจะช่วยป้องกันปัญหาและลดความเสี่ยงของผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความต้องการในการพัฒนาของ รพ.สต. และพัฒนารูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อการบริการสุขภาพที่เป็นเลิศของ รพ.สต. ที่โอนย้ายไปยัง อบจ.สระบุรี
วิธีการศึกษา: การวิจัยแบบผสมผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง 220 คน คือ ผู้บริหารของสาธารณสุขและท้องถิ่น ผู้เชี่ยวชาญ บุคลากรใน รพ.สต. เครือข่ายสุขภาพ เลือกแบบเจาะจง สุ่มอย่างง่าย และสุ่มตามความสะดวก รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา เชิงอนุมานและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษา: 1) ความต้องการในการพัฒนาของ รพ.สต. คือ การฝึกอบรมและพัฒนาทักษะความรู้ในระเบียบของท้องถิ่น การปรับปรุงสถานที่ให้บริการและอุปกรณ์ทางการแพทย์ การจัดการทรัพยากรทางการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างนโยบายสุขภาพที่สอดคล้องกับความจำเป็นของท้องถิ่น การใช้เทคโนโลยีและสื่อสารเพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูล และการพัฒนานวัตกรรมบริการสุขภาพ และ 2) รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อการบริการสุขภาพที่เป็นเลิศของ รพ.สต.ที่โอนย้ายไปยังสระบุรี คือ ชุดความรู้ใหม่สำหรับบริหารจัดการเพื่อพัฒนาศักยภาพและคุณภาพบริการของรพ.สต. ที่โอนย้ายไป อบจ. โดยมีกระบวนการพัฒนา 9 ขั้นตอน คือ 1) การสร้างคณะกรรมการและทีมงานถ่ายโอน รพ.สต. 2) การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น 3) การกำหนดเป้าหมายการพัฒนา 4) การสร้างข้อตกลงความร่วมมือต่อการเปลี่ยนแปลง 5) การสื่อสารความร่วมมือเครือข่ายสุขภาพ 6) การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรเรียนรู้การเปลี่ยนแปลง 7) เสริมสร้างมาตรฐานบริการสุขภาพเชิงท้องถิ่นอย่างยั่งยืน 8) การสร้างพื้นที่สาธารณะด้านสุขภาพ และ 9) การติดตามและประเมินผล โดยภาพรวมรูปแบบมีประโยชน์ (gif.latex?\fn_phv&space;\bar{x} =3.9, S.D.=0.77) และมีความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบไปปฏิบัติในจังหวัดสระบุรี (gif.latex?\fn_phv&space;\bar{x} =3.8, S.D.=0.63) ในระดับมาก
สรุปผล: รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อการบริการสุขภาพที่เป็นเลิศของ รพ.สต. ที่โอนย้ายไปยังอบจ. มีกระบวนการพัฒนา 9 ขั้นตอน โดยอบจ.สระบุรี และสสจ.สระบุรี ควรนำรูปแบบฯ เป็นแนวทางการเตรียมพร้อมและส่งเสริมศักยภาพ รพ.สต.ด้านคุณภาพบริการสาธารณสุขเชิงท้องถิ่น และสนับสนุนการพัฒนาบุคคล องค์กร ทรัพยากรที่สอดคล้องกับความต้องการพัฒนาของ รพ.สต.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

ปรีดา แต้อารักษ์. วิจัยอภิบาลระบบสุขภาพท้องถิ่นกับการหาบริการปฐมภูมิที่ตอบโจทย์ประชาชน. [อินเทอร์เน็ต]. 2566. [สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2566]. ค้นได้จาก: https://www.nationalhealth.or.th/th/node/4741

รุ่งเรือง กิจผาติ. สธ. เผย บุคลากร รพ.สต.ถ่ายโอนไป อบจ. กว่า 40% ขอย้ายกลับ เหตุไม่มีความพร้อมดำเนินการ ทำงานติดขัด ประชาชนได้รับผลกระทบ. [อินเทอร์เน็ต]. 2566. [สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2566]. ค้นได้จาก: https://pr.moph.go.th/print.php?url=pr/print/2/04/184973/

ผู้จัดการออนไลน์. อนุ ก.ก.ถ. รับลูก สธ. ตั้งคณะทำงาน "ทบทวน" 5 อุปสรรค ภารกิจถ่ายโอน สอน.-รพ.สต.ไป อบจ. [อินเทอร์เน็ต]. 2566. [สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2566]. ค้นได้จาก: https://mgronline.com/politics/detail/9660000062903

ริซกี สาร๊ะ. เปิดมุมมอง: ข้อดีข้อเสียถ่ายโอนภารกิจ รพ.สต. สู่ท้องถิ่น ภาพสะท้อนการดูแลบุคลากรของกระทรวงสาธารณสุข. [อินเทอร์เน็ต]. 2565. [สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2566]. ค้นได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2021/10/23471

เจตน์ ศิรธรานนท์. โอน รพ.สต. ไป อบจ. หลังพบหลายแห่งไม่พร้อมทั้งด้านบุคลากรและงบประมาณ. [อินเทอร์เน็ต]. 2567. [สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2567]. ค้นได้จาก: https://prachatai.com/journal/2023/12/107361

สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย. สมาคม อบจ.ฯ ร้องเศรษฐา แก้ 4 ปมปัญหาถ่ายโอน รพ.สต. หลังกระทบต่อการให้บริการ ปชช. [อินเทอร์เน็ต]. 2566. [สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2566]. ค้นได้จาก: https://www.thecoverage.info /news/content/5499

จรวยพร ศรีศศลักษณ์. สวรส.วิจัยติดตามโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโอนไปองค์การบริหารส่วนจังหวัด. [อินเทอร์เน็ต]. 2565. [สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2566]. ค้นได้จาก: https://www.thairath.co.th/news/local/2447766

องค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรี. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. [อินเทอร์เน็ต]. 2567. [สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2567]. ค้นได้จาก: https://www.saraburipao.go.th/home/healthcare

ปรีชา โอภาสสวัสดิ์, ยอดชาย สุวรรณวงษ์. การพัฒนารูปแบบการบริหารเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอเพื่อรองรับการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดสระบุรี. วารสารการแพทย์และสาธารณสุขเขต 4 2564;12(1):80-94.

กลุ่มงานยุทธศาสตร์สาธารณสุข. รายงานผลการถอดบทเรียนการดำเนินงานการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้กับองค์การบริหารส่วนจังหวัด. ใน กฤษณ์ สกุลแพทย์ (ประธาน), การประชุมคณะผู้บริหารสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี; 14 ธันวาคม 2566; สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี. สระบุรี : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี ; 2566 : 11-23.

Hughes, M. The tools and techniques of change management. J Change Manag 2007;7(1):37–49. DOI:10.1080/14697010701309435

Creswell JW. A concise introduction to mixed methods research. Los Angeles : SAGE Publications ; 2015.

Krejcie RV, Morgan DW, Determining Sample Size for Research Activities. Educ Psychol Meas 1973;30(3):607-10.

Keeves PJ. “Model and Model Building,” Educational Research Methodology and Measurement: An International Handbook. Oxford : Pergamon Press ; 1988.

ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา. การบริหารการเปลี่ยนแปลง : ประเด็นยุทธศาสตร์ขององค์การภาครัฐในยุคปัจจุบัน. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า : 2553.

สำนักงาน ก.พ.ร. คู่มือการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่ออเสริมสร้างความเป็นเลิศในการปฏิบัติราชการของหน่วยงานภาครัฐ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ ; สำนักงาน ก.พ.ร. : 2550.

อรพรรณ โยธาสมุทร. การถ่ายโอนโรงพยาบาลระดับปฐมภูมิสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี. [วิทยานิพนธ์ ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต]. กลุ่มวิชาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น, คณะรัฐศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง ; 2565.

บุญมี แก้วจันทร์. การพัฒนารูปแบบช่วยการตัดสินใจของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในการถ่ายโอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด. เชียงรายเวชสาร 2565;14(1):119-35.

วิไลลักษณ์ ทิวากรกฎ. ความพึงพอใจและผลกระทบภายหลังการถ่ายโอนภารกิจด้านทันตสาธารณสุขให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านปรก จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารแพทย์ เขต 4-5 2565;41(4):437-48.

บัวบุญ อุดมทรัพย์, ผดารณัช พลไชยมาตย์. ผลการพัฒนารูปแบบประสานงานการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กรณีถ่ายโอนไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2566;30(2):131-43.

ธวัช บุณยมณี. ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์ ; 2550.

Dam RF, Siang TY. 5 Stages in the Design Thinking Process. [Internet]. 2021 [Cited 2024 January 17]. Available from:URL https://www.interaction-design.org/literature/article/5-stages-in-thedesign-thinking-process.

รดร แก้วลาย, ขวัญ พงษ์หาญยุทธ. Design thinking กระบวนการคิดเชิงออกแบบเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า ; 2562.

สมธนึก โชติช่วงฉัตรชัย, กมลพัฒน์ มากแจ้ง, ศรวณีย์ อวนศรี, วิมลรัตน์ ถนอมศรีเดชชัย, ธนินทร์ พัฒนศิริ, ศักดิธัช อิทธิพิสิฐ, และคณะ. กลไกการประมวลสถานการณ์และการสนับสนุนงานวิชาการนโยบายและระบบสุขภาพ: กรณีการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัด. [อินเทอร์เน็ต]. 2565. [สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2567]. ค้นได้จาก: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5864?locale-attribute=th.