ปัจจัยที่มีผลต่อผลลัพธ์การระงับความรู้สึกด้วยวิธีใช้คลื่นเสียงความถี่สูงนำทางในการสกัดแขนงประสาทบริเวณรักแร้ในผู้ป่วยผ่าตัดบริเวณแขน โรงพยาบาลนางรอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: การฉีดยาชาสกัดกั้นข่ายประสาทแขนโดยใช้เครื่องคลื่นเสียงความถี่สูงช่วยนำทางในการผ่าตัดผู้ป่วยกระดูกรยางค์บน เป็นมาตรฐานทางวิสัญญีวิทยา ด้วยการระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนด้วยยาชา ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นสู่ภาวะปกติได้เร็ว ลดภาวะแทรกซ้อน และลดระยะวันนอนโรงพยาบาล
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลลัพธ์การระงับความรู้สึกด้วยวิธีใช้คลื่นเสียงความถี่สูงนำทางในการสกัดแขนงประสาทบริเวณรักแร้ในผู้ป่วยผ่าตัดบริเวณแขน โรงพยาบาลนางรอง
วิธีการศึกษา: วิจัยภาคตัดขวางย้อนหลัง (Retrospective Cross-sectional study) ศึกษาจากเวชระเบียนผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดที่แขนระงับความรู้สึกด้วยวิธีใช้คลื่นเสียงความถี่สูงนำทาง จำนวน 62 คน ช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2566 โดยศึกษา ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ดัชนีมวลกาย การประเมินความเสี่ยงหรือสภาพของผู้ป่วยตาม American association of Anesthesiologists และปัจจัยด้านเทคนิค ได้แก่ สูตรยา ระยะเวลาของการให้ยาระงับความรู้สึก ระยะเวลานอนในโรงพยาบาล และชนิดการผ่าตัด เลือกจากปัจจัยเสี่ยงที่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่าง 62 คน พบว่า อาการปวด อาการไข้ นอนไม่หลับ ปริมาณการสูญเสียเลือด และจำนวนวันนอนในโรงพยาบาลหลังผ่าตัด ปัจจัยที่มีผลต่อผลลัพธ์ด้านระยะวันนอนในโรงพยาบาล คือ เพศ p-value = 0.008 (odds ratio 2.221) ระยะเวลาของการระงับความรู้สึก p-value = 0.006 (odds ratio 1.765) ด้านการเสียเลือด ได้แก่ เพศ p-value = 0.003 (odds ratio 2.765) ช่วงอายุ p-value = 0.005 (odds ratio 2.664) และระยะเวลาของการระงับความรู้สึก p-value = 0.006 (odds ratio 1.275) ด้านความปวด คือ เพศ p-value = 0.009 (odds ratio 1.765) ช่วงอายุ p-value = 0.005 (odds ratio 2.083) และระยะเวลาของการระงับความรู้สึก p-value = 0.003 (odds ratio 1.057) ด้านอาการไข้ คือ เพศ p-value = 0.007 (odds ratio 1.500) ช่วงอายุ p-value = 0.001 (odds ratio 3.978) และระยะเวลาของการระงับความรู้สึก p-value = 0.002 (odds ratio 5.556) ด้านการนอนไม่หลับ ได้แก่ เพศ p-value = 0.005 (odds ratio 1.195) และระยะเวลาของการระงับความรู้สึก p-value = 0.005 (odds ratio 1.889) และปัจจัยที่มีผลร่วมกันทำนายโอกาสการเกิดผลลัพธ์ พบว่า ปัจจัยด้านเพศ ช่วงอายุ และระยะเวลาของการระงับความรู้สึกมีค่า Nagelkerke R2 = 0.130 ร่วมกันทำนายโอกาสการเกิดผลลัพธ์ด้านความปวด ร้อยละ 96.8 ปัจจัยด้านเพศ ช่วงอายุ และระยะเวลาของการระงับความรู้สึกมีค่า Nagelkerke R2 = 0.224 ร่วมกันทำนายโอกาสการเกิดผลลัพธ์ด้านอาการไข้ ร้อยละ 77.4 ปัจจัยด้านช่วงอายุ และระยะเวลาของการระงับความรู้สึกมีค่า Nagelkerke R2 = 0.219 ร่วมกันทำนายโอกาสการเกิดผลลัพธ์ด้านการเสียเลือด ร้อยละ 69.4
สรุป: ปัจจัยที่มีผลต่อผลลัพธ์การระงับความรู้สึกด้วยวิธีใช้คลื่นเสียงความถี่สูงนำทางคือ เพศ ช่วงอายุ และระยะเวลาของการระงับความรู้สึก มีผลต่ออาการปวด ไข้ และนอนไม่หลับ ซึ่งทีมวิสัญญีต้องตระหนักถึงความปลอดภัย และเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นทั้งในขณะให้การระงับความรู้สึก และหลังการระงับความรู้สึกต่อเนื่องไปจนถึง 48 ชั่วโมง และควรนำผลวิจัยไปสร้างแนวทางเวชปฏิบัติดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ปรางค์มาลี ลือชารัศมี, วรกมล ติยะประเสริฐกุล. บทความปริทัศน์ เรื่อง การสกัดกั้นข่ายประสาทของแขนโดยใช้เครื่องคลื่นเสียงความถี่สูง ช่วยนำทาง : ทบทวนเทคนิคและบริเวณในการเข้าหาข่ายประสาท. วิสัญญีสาร 2558;41(4) :103-25.
Bruce BG, Green A, Blaine TA, Wesner LV. Brachial plexus blocks for upper extremity orthopaedic surgery. J Am Acad Orthop Surg 2012;20(1):38-47. doi: 10.5435/JAAOS-20-01-038.
Héroux J, Belley-Côté E, Echavé P, Loignon MJ, Bessette PO, Patenaude N, et al. Functional recovery with peripheral nerve block versus general anesthesia for upper limb surgery: a systematic review protocol. Syst Rev 2019;8(1):273. doi: 10.1186/s13643-019-1204-4.
Matsumura N, Inoue S, Iwagami H, Kondo Y, Inoue K , Tanaka Y, et al. Comparison of Patient Satisfaction between Brachial Plexus Block (Axillary Approach) and General Anesthesia for Surgical Treatment of Distal Radius Fractures: A Historical Cohort Study. Open J Anesthesiol 2020;10(12):422-34. doi: 10.4236/ojanes.2020.1012037.
El-Baradey GF, Elshmaa NS. The efficacy of adding dexamethasone, midazolam, or epinephrine to 0.5% bupivacaine in supraclavicular brachial plexus block. Saudi J Anaesth 2014;8(Suppl 1):S78-83. doi: 10.4103/1658-354X.144083.
Zaman B, Hojjati Ashrafi S, Seyed Siamdoust S, Hassani V, Mohamad Taheri S, Noorizad S. The Effect of Ketamine and Dexamethasone in Combination with Lidocaine on the Onset and Duration of Axillary Block in Hand and Forearm Soft Tissue Surgery. Anesth Pain Med 2017;7(5):e15570. doi: 10.5812/aapm.15570.
โรงพยาบาลนางรอง. สถิติการผ่าตัดในโรงพยาบาลนางรอง ประจำปี 2563-2565. บุรีรัมย์ : โรงพยาบาลนางรอง ; 2566. (เอกสารอัดสำเนา).
Faul F, Erdfelder E, Lang AG, Buchner A. G*Power 3: a flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behav Res Methods 2007;39(2):175-91. doi: 10.3758/bf03193146.
Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. 2nd.ed. New York : Lawrence Erlbaum Associates ; 1988.
กัญชณา วิเศษการ. การศึกษาประสิทธิภาพของส่วนผสมยาชาที่ต่างกันในการสกัดกั้นแขนงเส้นประสาทบริเวณรักแร้โดยใช้เครื่องคลื่นเสียงความถี่สูง. วิสัญญีสาร 2564;47(2): 136-42.
Liu FC, Liou JT, Tsai YF, Li AH, Day YY, Hui YL, et al. Efficacy of ultrasound-guided axillary brachial plexus block: a comparative study with nerve stimulator-guided method. Chang Gung Med J 2005;28(6):396-402. PMID: 16124155
Davis A, Chinn DJ, Sharma S. Prediction of post-operative pain following arthroscopic subacromial decompression surgery: an observational study. F1000Res 2013;2:31. doi: 10.12688/f1000research.2-31.v1.
ภานุพงศ์ ทองศรี. การศึกษาผลของการใช้สายรัดห้ามเลือดโดยใช้ค่าความดันจากวิธีทั่วไปและวิธีอ้างอิงจากค่าความดันต่ำที่สุดที่สามารถหยุดการไหลของเลือดไปยังส่วนปลายรยางค์ ต่อคะแนนความปวดและปริมาณเลือดที่เสียไประหว่างการผ่าตัดขนาดเล็กบริเวณมือและข้อมือ ในโรงพยาบาลอินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2565;36(2):13-23.
พวงเพ็ญ พัวพันธ์พงษ์. ทำนายความปวดของผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่ได้รับการระงับความรู้สึก: การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี 2562;2(2): 16-29.
ยุพาวดี ขันทบัลลัง, วงจันทร์ เพชรพิเชฐเชียร, กิตติกร นิลมานัต. ความรุนแรงความปวดตามการรับรู้ของผู้ป่วยมะเร็งและผู้ดูแลและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. สงขลานครินทร์เวชสาร 2550;25(6);491-499.
Halawi MJ, Vovos TJ, Green CL, Wellman SS, Attarian DE, Bolognesi MP. Preoperative pain level and patient expectation predict hospital length of stay after total hip arthroplasty. J Arthroplasty 2015;30(4):555-8. doi: 10.1016/j.arth.2014.10.033