การศึกษาอุบัติการณ์การเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ของผู้ที่มาเข้ารับการตรวจคัดกรองส่องกล้องในพื้นที่เครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นเซลล์มะเร็งของเนื้อเยื่อลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงซึ่งชนิดที่พบบ่อยเกิด จากเซลล์เยื่อบุผนังลำไส้มีการเปลี่ยนแปลงและเจริญเติบโตผิดปกติจนกลายเป็นติ่งเนื้อเล็กๆ เรียกว่า โพลิพ (Polyp) และใช้เวลาระยะหนึ่งในการพัฒนากลายเป็นมะเร็ง โดยการตัดติ่งเนื้องอก (Polyp) ออกสามารถป้องกันไม่ให้ติ่งเนื้อพัฒนากลายเป็นมะเร็งได้ การส่องกล้องลำไส้ใหญ่จึงนับว่ามีความสำคัญต่อการวินิจฉัยมะเร็งลำไส้ในระยะเริ่มแรกได้
วัตถุประสงค์: 1) เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ของผู้ที่มาเข้ารับการตรวจคัดกรองส่องกล้องในพื้นที่เครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ พ.ศ.2561 – 2565 2) เพื่อเปรียบเทียบอุบัติการณ์การเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ของผู้ที่มาเข้ารับการตรวจคัดกรองส่องกล้องจำแนกตามพื้นที่เครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ พ.ศ.2561 – 2565
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาวิจัยย้อนหลัง (Retrospective study) โดยดำเนินการศึกษาข้อมูลย้อนหลังจากฐานข้อมูลทะเบียนของผู้ที่มาเข้ารับการตรวจคัดกรองส่องกล้องในพื้นที่เครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่ โรงพยาบาลสตึก โรงพยาบาลพุทไธสง โรงพยาบาลบ้านใหม่ไชยพจน์ โรงพยาบาลแคนดง โรงพยาบาลบ้านด่าน และโรงพยาบาลคูเมือง วิเคราะห์ข้อมูลอุบัติการณ์ช่วง 5 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2561 – 2565 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ที่มาเข้ารับการตรวจคัดกรองส่องกล้องในพื้นที่เครือข่ายบริการสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลอุบัติการณ์ผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป และวิเคราะห์แนวโน้มและขนาดการเปลี่ยนแปลงอัตราอุบัติการณ์ (Average annual percent change) โดยวิธี join point regression analysis ทดสอบ model โดยวิธี Monte Carlo Permutation
ผลการศึกษา: พบว่า อุบัติการณ์การเกิดโรคมะเร็งลำไส้ โดยเพศชายมีร้อยละการป่วยมากกว่าเพศหญิง เพศชาย (ร้อยละ 55.5) มีค่าอัตราอุบัติการณ์เท่ากับ 40.8 ต่อประชากร 100,000 ราย และเพศหญิง (ร้อยละ 44.5) มีค่าอัตราอุบัติการณ์เท่ากับ 30.3 ต่อประชากร 100,000 ราย ซึ่งปัจจัยด้านเพศยังพบว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ของผู้ที่มาเข้ารับการตรวจคัดกรองส่องกล้องในพื้นที่เครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งประเด็นนี้ยังได้ถูกอธิบายเพิ่มเติมว่า การเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มีความเกี่ยวข้องกับยีน ABCB11 ซึ่งเป็นยีนที่จะแสดงออกในเพศชายได้ดีกว่าเพศหญิงประมาณ 2 เท่า อายุมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่อย่างมีนัยสำคัญ โดยผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป มีร้อยละการเกิดโรคมากกว่าผู้ที่มีอายุระหว่าง 15 – 59 ปี ซึ่งปัจจัยด้านอายุ ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงจากตัวบุคคลที่สำคัญปัจจัยหนึ่งในการเพิ่มโอกาสการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ประวัติการสูบบุหรี่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่อย่างมีนัยสำคัญ โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ให้ประวัติว่าไม่ได้สูบบุหรี่ ดังนั้นอาจขึ้นอยู่กับบริบทของพื้นที่นั้นๆ กล่าวคือ ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ที่สูบบุหรี่เสียชีวิต ร้อยละ 12 และการสูบบุหรี่ในระยะยาวมีความสัมพันธ์ต่อการเจริญเติบโตของ Adenomatous polyp
สรุป: สรุปผลปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ของผู้ที่มาเข้ารับการตรวจคัดกรองส่องกล้องในพื้นที่เครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ได้เเก่ เพศ (p-value = 0.038) , อายุ (p-value = 0.022) ,และประวัติการสูบบุหรี่ (p-value = 0.005)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. อำเภอสตึก 2558. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2564]. ค้นได้จาก:URL: https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B6%E0%B8%81
Roche Thailand. โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก 2021. [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2564]. ค้นได้จาก:URL: https://www.roche.co.th/th/disease-areas/colorectal-cancer.html.
โรงพยาบาลสตึก จังหวัดบุรีรัมย์. สรุปยอดผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ อำเภอสตึก 3 ปีย้อนหลัง. บุรีรัมย์ : โรงพยาบาลสตึก ; 2564. (เอกสารอัดสำเนา).
มนตรี นาทประยุทธ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง โรงพยาบาลบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีษะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2564;36(1):219-26.
โรงพยาบาลสตึก จังหวัดบุรีรัมย์. ข้อมูลโรงพยาบาลสตึก 2563 . [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2564]. ค้นได้จาก:URL: http://www.satuekhos.com/about.php.
สุพรรณี พรหมเทศ, สุพจน์ คำสะอาด, ภัทรวุฒิ วัฒนศัพท์, สุรพล เวียงนนท์, กฤติกา สุวรรณรุ่งเรือง, กีรติ ภูมิผักแว่น. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งในคนไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ; 2553.
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์ความเป็นเลิศด้านมะเร็ง. มะเร็งลำไส้ (Colorectal cancer) 2561. [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2564]. ค้นได้จาก:URL: https://med.mahidol.ac.th/cancer_center/th/colorectal.
World Health Organization. Global Health Observatory 2020. [Internet]. [Cited 2021 Aug 26]. Available from:URL:https://gco.iarc.fr/today/data/factsheets/cancers/39-All-cancers-fact-sheet.pdf
Chatterjee A, Plummer S, Heybrock B, Bardon T, Eischen K, Hall M, et al. A modified "cover your cough" campaign prevents exposures of employees to pertussis at a children's hospital. Am J Infect Control 2007;35(7):489-91. doi: 10.1016/j.ajic.2007.02.008.
ธัญพร ร่างวิจิตร, สินีนาฎ ชาวตระการ, จักรกฤษณ์ วังราษฎร์. ความชุกและการกระจายของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2564;17(1):27-39.