ปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการเป็นมะเร็งเต้านมระยะลุกลามในพื้นที่เขตชนบท
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: มะเร็งเต้านมระยะลุกลามพบอุบัติการณ์ได้สูงในพื้นที่เขตชนบทในประเทศไทยโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มะเร็งเต้านมระยะลุกลามยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญเนื่องจากพบอัตราการเสียชีวิตที่สูงและการพยากรณ์โรคไม่ดีเมื่อเทียบกับมะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้น
วัตถุประสงค์: ต้องการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดมะเร็งเต้านมระยะลุกลามของผู้ป่วยในจังหวัดสุรินทร์ เพื่อจะทำให้ทราบสาเหตุที่แท้จริง และจะได้วางแผนนโยบายและกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการลดอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งเต้านมระยะลุกลาม
วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบไปข้างหน้า (Prospective cohort observational study) โดยผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งเต้านมรายใหม่ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสุรินทร์ ตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 ทำการเก็บข้อมูลตามแบบสอบถามประวัติก่อนการเข้ารับการรักษา ติดตามข้อมูลในระหว่างการรักษาและติดตามผลการรักษาต่อเนื่่องอีก 1 ปี ภายหลังการวินิจฉัย สิ้นสุดการเก็บข้อมูลเดือนมกราคม พ.ศ. 2565
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม 141 ราย ได้รับการวินิจฉัยในปี พ.ศ. 2563 ผู้ป่วย 20 รายถูกคัดออกตามเกณฑ์การคัดออกผู้เข้าร่วมวิจัย ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม 121 ราย พบมีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 52.9 ปี พบอุบัติการณ์มะเร็งเต้านมระยะลุกลาม 56 ราย คิดเป็นร้อยละ 46.3 (95%CI 37.2%, 55.6%) ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดมะเร็งเต้านมระยะลุกลามคือระยะเวลาที่มีอาการก่อนมารักษา (p < 0.001) ผู้ที่ไม่มีบุตร (p = 0.037) ระดับของมะเร็ง (p = 0.026) และผู้ป่วยที่มีเซลล์มะเร็งลุกลามเข้าหลอดเลือดและหลอดน้ำเหลือง (p = 0.022) อัตราการมีชีวิตรอดที่ 1 ปี ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะลุกลามน้อยกว่าผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (82.1% vs 100%, p < 0.001)
สรุป: ผู้ป่วยที่มีระยะเวลาก่อนการมารักษาที่นาน ผู้ที่ไม่มีบุตร ระดับของมะเร็งที่สูง และผู้ป่วยที่มีเซลล์มะเร็งลุกลามเข้าหลอดเลือดและหลอดน้ำเหลืองเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการเป็นมะเร็งเต้านมระยะลุกลามในพื้นที่เขตชนบท การวางแผนนโยบายและกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการลดระยะเวลาก่อนมารักษา ให้ผู้ป่วยเข้ารับรักษาได้เร็วขึ้นอาจสามารถลดอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งเต้านมระยะลุกลามได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Virani S, Bilheem S, Chansaard W, Chitapanarux I, Daoprasert K, Khuanchana S, et al. National and Subnational Population-Based Incidence of Cancer in Thailand: Assessing Cancers with the Highest Burdens. Cancers (Basel) 2017;9(8):108. doi: 10.3390/cancers9080108.
American Cancer Society. Breast Cancer Facts & Figures 2017-2018. Atlanta : American Cancer Society, Inc. ; 2017.
Unger-Saldaña K. Challenges to the early diagnosis and treatment of breast cancer in developing countries. World J Clin Oncol 2014;5(3):465-77. doi: 10.5306/wjco.v5.i3.465.
Gueye M, Gueye S, Diallo M, Thiam O, Mbodji A, Diouf A, et al. Sociodemographic Factors Associated with Delays in Breast Cancer. Open J Obstet Gynecol 2017;7(4):455-63. doi: 10.4236/ojog.2017.74047.
Čačala SR, Gilart J. Factors Relating to Late Presentation of Patients With Breast Cancer in Area 2 KwaZulu-Natal, South Africa. J Glob Oncol 2017;3(5):497-501. doi: 10.1200/JGO.2016.008060.
Ibrahim NA, Oludara MA. Socio-demographic factors and reasons associated with delay in breast cancer presentation: a study in Nigerian women. Breast 2012;21(3):416-8. doi: 10.1016/j.breast.2012.02.006.
Espina C, McKenzie F, Dos-Santos-Silva I. Delayed presentation and diagnosis of breast cancer in African women: a systematic review. Ann Epidemiol 2017;27(10):659-671.e7. doi: 10.1016/j.annepidem.2017.09.007.
Virani S, Chindaprasirt J, Wirasorn K, Sookprasert A, Somintara O, Vachirodom D, et al.
Breast Cancer Incidence Trends and Projections in Northeastern Thailand. J Epidemiol 2018;28(7):323-330. doi: 10.2188/jea.JE20170045.
Garg PK, Prakash G. Current definition of locally advanced breast cancer. Curr Oncol 2015;22(5):e409-10. doi: 10.3747/co.22.2697.
Newman LA. Epidemiology of locally advanced breast cancer. Semin Radiat Oncol 2009;19(4):195-203. doi: 10.1016/j.semradonc.2009.05.003.
Aebi S, Karlsson P, Wapnir IL. Locally advanced breast cancer. Breast 2022;62 Suppl 1(Suppl 1):S58-S62. doi: 10.1016/j.breast.2021.12.011.
Tesfaw A, Tiruneh M, Tamire T, Yosef T. Factors associated with advanced-stage diagnosis of breast cancer in north-west Ethiopia: a cross-sectional study. Ecancermedicalscience 2021;15:1214. doi: 10.3332/ecancer.2021.1214.
Dhanushkodi M, Sridevi V, Shanta V, Rama R, Swaminathan R, Selvaluxmy G, et al.
Locally Advanced Breast Cancer (LABC): Real-World Outcome of Patients From Cancer Institute, Chennai. JCO Glob Oncol 2021;7:767-81. doi: 10.1200/GO.21.00001.
Klein J, Tran W, Watkins E, Vesprini D, Wright FC, Look Hong NJ, et al. Locally advanced breast cancer treated with neoadjuvant chemotherapy and adjuvant radiotherapy: a retrospective cohort analysis. BMC Cancer 2019;19(1):306. doi: 10.1186/s12885-019-5499-2.
Singh AS, Bhardwaj BS, Goswami BC. Disease free survival in locally advanced breast cancer: An analysis of clinical and pathological factors. Asian Pac J Cancer 2022;7(1):21-7. DOI:10.31557/APJCC.2022.7.1.21
Kuhn E, Gambini D, Despini L, Asnaghi D, Runza L, Ferrero S. Updates on Lymphovascular Invasion in Breast Cancer. Biomedicines 2023;11(3):968. doi: 10.3390/biomedicines11030968.
Tan EY, Wong HB, Ang BK, Chan MY. Locally advanced and metastatic breast cancer in a tertiary hospital. Ann Acad Med Singap 2005;34(10):595-601. PMID: 16382243