ภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยไซนัสอักเสบในโรงพยาบาลและปัจจัยที่ส่งผลต่อผลลัพธ์การรักษา

Main Article Content

กรภัทร์ เอกัคคตาจิต

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ไซนัสอักเสบสามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อวัยวะอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียงได้ ซึ่งสามารถก่อเกิดภาวะอันตรายต่อชีวิตและเกิดทุพลลภาพตามมาได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาลักษณะของผู้ป่วยในที่ได้รับการวินิจฉัยไซนัสอักเสบ ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อน และผลลัพธ์การรักษา
วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็น Retrospective cohort study โดยทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยในที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไซนัสอักเสบตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2555 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 ยกเว้นผู้ป่วยที่มีประวัติมะเร็งหรือเนื้องอกในโพรงจมูก ผู้ป่วยที่เคยผ่าตัดหรือฉายแสงในโพรงจมูก
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยในทั้งหมดที่นอนโรงพยาบาลด้วยไซนัสอักเสบ 65 ราย พบมีภาวะแทรกซ้อน 26 ราย (ร้อยละ 40.0) ส่วนใหญ่เป็น Orbital complication มากที่สุด 13 ราย ( ร้อยละ 50.0) รองลงมาคือ Intracranial complication 9 ราย (ร้อยละ 6.2) Local complication 7 ราย (ร้อยละ 10.8) และ Isolate cranial nerve palsy 3 ราย ( ร้อยละ 4.6) มีผู้ป่วย 6 รายที่มีภาวะแทรกซ้อนมากกว่า 1 อย่าง (ร้อยละ 9.2) ในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานนั้นมีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อน และมีผลต่อจำนวนวันนอนรพ.อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติด้วย (p <0.05) และจากการศึกษาผลลัพธ์ของการรักษาภาวะแทรกซ้อนที่ 3 เดือนพบมีผู้ป่วยที่หายเป็นปกติ 17 ราย อาการดีขึ้น 1 ราย และอาการไม่ดีขึ้นเลย 8 ราย (ร้อยละ 65.4 3.8 และ 30.8) พบเป็นตาบอด 3 ราย มองเห็นแย่ลง 1 ราย เกิด oroantral fistula 1 ราย และเสียชีวิต 3 ราย โดยกลุ่ม intracranial complication มีผลลัพธ์การรักษาที่ไม่ดีอย่างมีนัยสำคัญมากกว่าภาวะแทรกซ้อนชนิดอื่น และการติดเชื้อรานั้นมีผลลัพธ์การรักษาที่ไม่ดีอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน (p <0.05) การรักษาภาวะแทรกซ้อนด้วยการผ่าตัดไซนัสภายใน 72 ชั่วโมงสัมพันธ์กับการเกิดผลลัพธ์การรักษาที่ดีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้ ( p <0.05)
สรุป: ไซนัสอักเสบนั้นเกิดได้ทุกช่วงอายุ และสามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เกิดทุพพลภาพและเสียชีวิตได้ โดยพบ Orbital complication มากที่สุด ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานและเบาหวานที่คุมไม่ดีนั้นมีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากไซนัสอักเสบ ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อผลลัพธ์ของการรักษานั้นขึ้นกับชนิดของภาวะแทรกซ้อนและชนิดการติดเชื้อ ซึ่งภาวะ Orbital complication แม้พบบ่อยที่สุดแต่ผลลัพธ์การรักษาดี แต่ Intracranial complication พบน้อยแต่ผลลัพธ์การรักษาแย่กว่า อีกทั้งการติดเชื้อราสัมพันธ์กับเกิดภาวะแทรกซ้อนที่มีผลลัพธ์การรักษาแย่เช่นกัน และการรักษาโดยการผ่าตัดไซนัสที่อักเสบเมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างทันท่วงทีนั้นเป็นปัจจัยให้เกิดผลลัพธ์การรักษาที่ดีได้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Fokkens WJ, Lund VJ, Hopkins C, Hellings PW, Kern R, Reitsma S, et al. European Position Paper on Rhinosinusitis and Nasal Polyps 2020. Rhinology 2020;58(Suppl S29):1-464. doi: 10.4193/Rhin20.600.

Turner JH, Soudry E, Nayak JV, Hwang PH. Survival outcomes in acute invasive fungal sinusitis: a systematic review and quantitative synthesis of published evidence. Laryngoscope 2013;123(5):1112-8. doi: 10.1002/lary.23912.

Carr TF. Complications of sinusitis. Am J Rhinol Allergy 2016;30(4):241-5. doi: 10.2500/ajra.2016.30.4322.

วิรัช เกียรติศรีสกุล, กรเกียรติ์ สนิทวงศ์, สงวนศักดิ์ ธนาวิรัตนานิจ, ฉวีวรรณ บุนนาค, พีรพันธ์ เจริญชาศรี, พงศกร ตันติลีปิกรและคณะ. การตรวจรักษาโรคไซนัสอักเสบเฉียบพลันโดยอิงหลักฐานเชิงประจักษ์. วารสารหู คอ จมูกและใบหน้า 2563;21(1):14-60.

Hong P, Pereyra CA, Guo U, Breslin A, Melville L. Evaluating Complications of Chronic Sinusitis. Case Rep Emerg Med 2017;2017:8743828. doi: 10.1155/2017/8743828.

Fooanant S. Complications of sinusitis. Proceedings of the 14th. ASIAN Research Symposium in Rhinology (ARSR '10); March 2010; Ho Chi Minh City, Vietnam.

Chaiyasate S, Fooanant S, Navacharoen N, Roongrotwattanasiri K, Tantilipikorn P, Patumanond J. The complications of sinusitis in a tertiary care hospital: types, patient characteristics, and outcomes. Int J Otolaryngol 2015;2015:709302. doi: 10.1155/2015/709302.

กลุ่มพัฒนาคุณภาพบริการ กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ทบทวนตัวชี้วัดเพื่อกำกับติดตามคุณภาพบริการด้านโรคไม่ติดต่อ พ.ศ. 2563-2566. นนทบุรี : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ; 2565.

El Mograbi A, Ritter A, Najjar E, Soudry E. Orbital Complications of Rhinosinusitis in the Adult Population: Analysis of Cases Presenting to a Tertiary Medical Center Over a 13-Year Period. Ann Otol Rhinol Laryngol 2019;128(6):563-8. doi: 10.1177/0003489419832624.

Miah MS, Nix P, Koukkoullis A, Sandoe J. Microbial causes of complicated acute bacterial rhinosinusitis and implications for empirical antimicrobial therapy. J Laryngol Otol 2016;130(2):169-75. doi: 10.1017/S0022215115003369.

Tachibana T, Kariya S, Orita Y, Nakada M, Makino T, Haruna T, et al. Factors that prolong the duration of recovery in acute rhinosinusitis with orbital complications. Acta Otolaryngol 2019;139(1):52-6. doi: 10.1080/00016489.2018.1539516.

Chang YS, Chen PL, Hung JH, Chen HY, Lai CC, Ou CY, et al. Orbital complications of paranasal sinusitis in Taiwan, 1988 through 2015: Acute ophthalmological manifestations, diagnosis, and management. PLoS One 2017;12(10):e0184477. doi: 10.1371/journal.pone.0184477.

Skow M, Fossum GH, Høye S, Straand J, Brænd AM, Emilsson L. Hospitalizations and severe complications following acute sinusitis in general practice: a registry-based cohort study. J Antimicrob Chemother 2023;78(9):2217-27. doi: 10.1093/jac/dkad227.

Jackson RM, Rice DH. Acute bacterial sinusitis and diabetes mellitus. Otolaryngol Head Neck Surg 1987;97(5):469-73. doi: 10.1177/019459988709700507.

Chow AW, Benninger MS, Brook I, Brozek JL, Goldstein EJ, Hicks LA, et al. IDSA clinical practice guideline for acute bacterial rhinosinusitis in children and adults. Clin Infect Dis 2012;54(8):e72-e112. doi: 10.1093/cid/cir1043.

Hinjoy S, Hantrakun V, Kongyu S, Kaewrakmuk J, Wangrangsimakul T, Jitsuronk S, et al. Melioidosis in Thailand: Present and Future. Trop Med Infect Dis 2018;3(2):38. doi: 10.3390/tropicalmed3020038.

Gallagher RM, Gross CW, Phillips CD. Suppurative intracranial complications of sinusitis.Laryngoscope 1998;108(11 Pt 1):1635-42. doi: 10.1097/00005537-199811000-00009.