ผลการรักษาผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันที่มีอาการภายใน 4 ชั่วโมง 30 นาที และได้รักษาในโรงพยาบาลประโคนชัย ช่วงตุลาคม พ.ศ. 2565 ถึงมีนาคม พ.ศ. 2567 เทียบกับผู้ป่วยที่ได้รักษา ช่วงมกราคม พ.ศ. 2563 ถึงกันยายน พ.ศ. 2565

Main Article Content

ณัฐสุดา อนรรฆรจิต

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: การให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำภายใน 4 ชั่วโมง 30 นาทีสามารถลดความพิการและอัตราเสียชีวิตในผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันได้ ที่ผ่านมาโรงพยาบาลประโคนชัยมีศักยภาพไม่เพียงพอจึงได้ส่งผู้ป่วยไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลบุรีรัมย์ โดยตั้งแต่ตุลาคม พ.ศ. 2565 โรงพยาบาลประโคนชัยได้พัฒนาศักยภาพให้สามารถให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำได้เมื่อมีข้อบ่งชี้
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินผลการรักษาด้วย modified Rankin score ที่สัปดาห์ที่ 1 และ 8 ของผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้รักษาในโรงพยาบาลประโคนชัยช่วงตุลาคม พ.ศ. 2565 ถึงมีนาคม พ.ศ. 2567 เทียบกับช่วงมกราคม พ.ศ. 2563 ถึงกันยายน พ.ศ. 2565
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยแบบย้อนหลัง โดยรวบรวมข้อมูลและผลการรักษาผู้ป่วยจำนวน 370 คน ประเมินผลการรักษาผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลัน เทียบระหว่างผู้ป่วยที่ได้รักษาในช่วงมกราคม พ.ศ. 2563 ถึงกันยายน พ.ศ. 2565 จำนวน 218 คน กับช่วงตุลาคม พ.ศ. 2565 ถึงมีนาคม พ.ศ. 2567 จำนวน 152 คน โดยใช้การวิเคราะห์ความถดถอยพหุโลจิสติก ทวินามหรือปัวซองตามความเหมาะสมของข้อมูล โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันที่รักษาในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 ถึงกันยายน พ.ศ. 2565 มี unfavorable outcome (modified Rankin score มากกว่า 1 คะแนน) ที่ระยะเวลา 1 และ 8 สัปดาห์ร้อยละ 81.2 และ 61 ตามลำดับ ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 ถึงมีนาคม พ.ศ. 2567 มี unfavorable outcome ที่ระยะเวลา 1 และ 8 สัปดาห์ร้อยละ 68.4 และ 46.7 ตามลำดับ มีโอกาสเสี่ยงเป็น 0.8 เท่า (Adjusted RR = 0.8, 95%CI: 0.7 – 0.9, p-value = 0.003) และ 0.8 เท่า (Adjusted RR = 0.8, 95%CI: 0.6 – 0.9, p-value = 0.006) ตามลำดับ และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: การให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำในโรงพยาบาลประโคนชัยให้ผลการรักษาดี สามารถลดความพิการรุนแรงได้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

ปรมาภรณ์ คลังพระศรี. การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด : กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2563;17(3):119-30.

สมศักดิ์ เทียมเก่า. อุบัติการณ์โรคหลอดเลือดสมองประเทศไทย. วารสารประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย 2565;39(2):39-46.

กรรณิการ์ รักษ์พงษ์สิริ. ศึกษาประสิทธิผลในการให้ยาละลายลิ่มเลือด (rt-PA) ในผู้ป่วย Stroke Fast track เปรียบเทียบระหว่างระยะเวลาให้ยา Door to needle time ใน 30 นาที และ มากกว่า 30 นาที แต่ไม่เกิน 60 นาที ในหอผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลนครพนม. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2567]. ค้นได้จาก:URL: https://nkphospitaljournal.wordpress.com/2022/02/25

บดีภัทร วรฐิติอนันต์. ระบบช่องทางด่วนโรคหลอดเลือดสมอง ณ ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลนครปฐม: ความท้าทายก้าวสู่แนวปฏิบัติที่ดีเลิศในประเทศไทย. วารสารประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย 2563;35(2):17-29.

พรรณี รัตนปทุมวรรณ. การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอุดตันที่ห้องฉุกเฉิน : กรณีศึกษา. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน 2565;7(3):227-37.

van Swieten JC, Koudstaal PJ, Visser MC, Schouten HJ, van Gijn J. Interobserver agreement for the assessment of handicap in stroke patients. Stroke 1988;19(5):604-7. doi: 10.1161/01.str.19.5.604.

Brott T, Adams HP Jr, Olinger CP, Marler JR, Barsan WG, Biller J, et al. Measurements of acute cerebral infarction: a clinical examination scale. Stroke 1989;20(7):864-70. doi: 10.1161/01.str.20.7.864.

Tampieri A, Giovannini E, Rusconi AM, Cristoni L, Bendanti D, Cenni P, et al. Safety and feasibility of intravenous rt-PA in the Emergency Department without a neurologist-based stroke unit: an observational study. Intern Emerg Med 2015;10(2):181-92. doi: 10.1007/s11739-014-1153-9.

Wahlgren N, Ahmed N, Dávalos A, Ford GA, Grond M, Hacke W, et al. Thrombolysis with alteplase for acute ischaemic stroke in the Safe Implementation of Thrombolysis in Stroke-Monitoring Study (SITS-MOST): an observational study. Lancet 2007;369(9558):275-82. doi: 10.1016/S0140-6736(07)60149-4.

Kamal N, Holodinsky JK, Stephenson C, Kashayp D, Demchuk AM, Hill MD, et al. Improving Door-to-Needle Times for Acute Ischemic Stroke: Effect of Rapid Patient Registration, Moving Directly to Computed Tomography, and Giving Alteplase at the Computed Tomography Scanner. Circ Cardiovasc Qual Outcomes 2017;10(1):e003242. doi: 10.1161/CIRCOUTCOMES.116.003242.

Ruff IM, Ali SF, Goldstein JN, Lev M, Copen WA, McIntyre J, et al. Improving door-to-needle times: a single center validation of the target stroke hypothesis. Stroke. 2014 Feb;45(2):504-8. doi: 10.1161/STROKEAHA.113.004073.