การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจโดยการดูดสิ่งคัดหลั่งเหนือกระเปาะยางร่วมกับ WHAPPCEE bundle โรงพยาบาลศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: ปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ (ventilator-associated pneumonia : VAP) เป็นปัญหาที่สำคัญในผู้ป่วยวิกฤตซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตได้ การใช้แนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิด VAP ส่งผลให้อุบัติการณ์การเกิด VAP ลดลงได้
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิด VAP โดยการดูดสิ่งคัดหลั่งเหนือกระเปาะยางร่วมกับ WHAPPCEE bundle
วิธีการศึกษา: การวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาล 13 คน และผู้ป่วย 133 คน เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการวิจัย คือ แนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แนวคำถามสนทนากลุ่ม แบบวัดความรู้ แบบสอบถามความเป็นไปได้ของแนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้น และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการศึกษา: แนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นคือ การใช้วิธีดูดสิ่งคัดหลั่งเหนือกระเปาะยางร่วมกับ WHAPPCEE bundle ได้แก่ 1) การหย่าเครื่องช่วยหายใจ 2) การทำความสะอาดมือ 3) การป้องกันการสูดสำลัก 4) การป้องกันการปนเปื้อน 5) การเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันร่างกายส่วนบุคคล 6) การสรีระบำบัดทรวงอก 7) การให้ความรู้ และ 8) การประเมินผลและติดตามการปฏิบัติงาน ผลการพัฒนาพบว่า ค่าเฉลี่ยความรู้ของพยาบาลอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean±SD, 8.6±0.3) ความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก (Mean±SD, 4.1±0.8) และความพึงพอใจอยู่ในระดับมา (Mean±SD, 4.1±0.8) ผลลัพธ์ด้านผู้ป่วยพบว่า อัตราการเกิด VAP ลดลงจาก 7.5 ต่อ 1,000 วันของการใช้เครื่องช่วยหายใจ เหลือร้อยละ 3.7 ต่อ 1,000 วันของการใช้เครื่องช่วยหายใจ
สรุป: แนวปฏิบัตินี้มีประสิทธิภาพในการลดการเกิด VAP ในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจได้ ดังนั้นจึงควรมีการสนับสนุนให้นำแนวปฏิบัติใช้ในการพยาบาลอย่างต่อเนื่องต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Bonell A, Azarrafiy R, Huong VTL, Viet TL, Phu VD, Dat VQ, Wertheim H, et al. A Systematic Review and Meta-analysis of Ventilator-associated Pneumonia in Adults in Asia: An Analysis of National Income Level on Incidence and Etiology. Clin Infect Dis 2019;68(3):511-8. doi: 10.1093/cid/ciy543.
Modi AR, Kovacs CS. Hospital-acquired and ventilator-associated pneumonia: Diagnosis, management, and prevention. Cleve Clin J Med 2020;87(10):633-9. doi: 10.3949/ccjm.87a.19117.
Pawlik J, Tomaszek L, Mazurek H, Mędrzycka-Dąbrowska W. Risk Factors and Protective Factors against Ventilator-Associated Pneumonia-A Single-Center Mixed Prospective and Retrospective Cohort Study. J Pers Med 2022;12(4):597. doi: 10.3390/jpm12040597.
Wu D, Wu C, Zhang S, Zhong Y. Risk Factors of Ventilator-Associated Pneumonia in Critically III Patients. Front Pharmacol 2019;10:482. doi: 10.3389/fphar.2019.00482.
สุรพันธ์ สืบเนียม, ดลวิวัฒน์ แสนโสม, วาสนา รวยสูงเนิน. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจระยะแรก ของผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรม. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2560;35(1): 137-145.
Akdogan O, Ersoy Y, Kuzucu C, Gedik E, Togal T, Yetkin F. Assessment of the effectiveness of a ventilator associated pneumonia prevention bundle that contains endotracheal tube with subglottic drainage and cuff pressure monitorization. Braz J Infect Dis 2017;21(3):276-81.
doi: 10.1016/j.bjid.2017.01.002.
Iliman AY, Eser I. Investigation of the effect of subglottic aspiration on the development of ventilator-related pneumonia in entubed patients: a systematic review. Int J Caring Sci 2021;14(2):1300-18.
โรงพยาบาลศรีสะเกษ. ประกาศระเบียบปฏิบัติเลขที่ Nur.450/61 เรื่องการป้องกันการติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ. ประกาศใช้ 28 ธันวาคม พ.ศ.2561. ศรีสะเกษ ; โรงพยาบาลศรีสะเกษ : 2561. (เอกสารอัดสำเนา).
เบญจมาศ ทำเจริญตระกูล, ดลวิวัฒน์ แสนโสม. การดูดสิ่งคัดหลั่งเหนือกระเปาะยางสำหรับผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ (Supra-cuff Suctioning) : นวตกรรมเพื่อป้องกันปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับเครื่องช่วยหายใจ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 2561;24(1):130-142.
เบญจมาศ ทำเจริญตระกูล, ดลวิวัฒน์ แสนโสม. ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันปอดอักเสบ ที่สัมพันธ์กับเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยแผนกอายุรกรรม. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 2562;25(1):25-42.
บุษบา เสริมสุข, กัญญา เลี่ยนเครือ. ผลของการดูดสิ่งคัดหลั่งเหนือกระเปาะยางสำหรับผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ (Supra-Cuff Suctioning ) ต่อการเกิดปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วย อายุรกรรมหญิง 100 ปี โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิชาการและการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช 2564;1(1):51-63.
Soukup SM. The Center for Advanced Nursing Practice evidence-based practice model: promoting the scholarship of practice. Nurs Clin North Am 2000;35(2):301-9. PMID: 10873242.
Bloom BS, Madaus GF, Hastings JT. Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York : McGraw-Hill ; 1971.
The Joanna Briggs Institute. New JBI levels of evidence. 2013. [Internet]. [Cited 2024 Feb 25]. Available from:URL: https://jbi.global/sites/default/files/2019-05/JBI-Levels-of evidence_2014_0.pdf.
Costa DK, Yang JJ, Manojlovich M. The critical care nurse work environment, physician staffing, and risk for ventilator-associated pneumonia. Am J Infect Control 2016;44(10):1181-3. doi: 10.1016/j.ajic.2016.03.028.
อุดมลักษณ์ เตียสวัสดิ์, ดลวิวัฒน์ แสนโสม, อัจฉราวรรณ นาเมืองจันทร์, สุภาพรณ์ ตัณฑ์สุระ, ยุวดี บุญลอย, อภิสรา ส่งเสริม. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจในงานดูแลผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลขอนแก่น.วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2560;35(1):194-206.