การพัฒนากระบวนการคัดกรองความเสี่ยงต่อภาวะตกเลือดหลังคลอด โรงพยาบาลบึงโขงหลง

Main Article Content

วรรณภา ปราบพาล
โสมภัทร สรไชย

Abstract

การตกเลือดหลังคลอดนับเป็นปัญหาที่สำคัญอันดับแรกของการคลอด การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนากระบวนการคัดกรองความเสี่ยงต่อภาวะตกเลือดหลังคลอดของโรงพยาบาลบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ โดยนำแนวคิดกระบวนการพัฒนา PDCA cycle ของ Deming (1986) มาใช้ร่วมกับกระบวนการทำงานแบบมีส่วน ร่วม มีทีมพัฒนาประกอบด้วย พยาบาลห้องคลอด 7 คน และพยาบาลห้องอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน 5 คน การประเมิน ผลการพัฒนากระบวนการคัดกรองความเสี่ยงต่อภาวะตกเลือดหลังคลอด แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ การพัฒนา แบบคัดกรองและ การพัฒนาทีมงาน โดยใช้เวลาในการศึกษาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2555 ถึง เดือนกันยายน 2555 ผลการศึกษา พบว่า

1. แบบคัดกรองความเสี่ยงต่อภาวะตกเลือดหลังคลอดที่สร้างขึ้นได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตาม เนื้อหา โดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา = 1 ภายหลังนำใช้และปรับปรุงเมื่อสิ้นสุดการ พัฒนาได้แบบคัดกรองเสี่ยงต่อภาวะตกเลือดหลังคลอดมีจำนวน 28 ข้อ ขนาด 1 หน้ากระดาษ A4 แบ่งการ คัดกรองออกเป็น 3 ระยะ คือ การมาฝากครรภ์ครั้งแรก ครั้งที่สอง เมื่ออายุครรภ์ 37-38 สัปดาห์ และเมื่อรับใหม่ ในห้องคลอดในแต่ละครั้ง ใช้เวลาประเมินประมาณ 1 นาที

2. กระบวนการพัฒนาทีมงาน พบว่า เมื่อสิ้นสุดการพัฒนางานพบจุดแข็ง 4 ประเด็นหลัก ที่ทำให้การ พัฒนางานสำเร็จคือ 1) การเคารพในสิทธิของผู้อื่น และการคำนึงถึงจริยธรรมในการแสดงความคิดเห็นของทีม พัฒนา 2) มีความตรงต่อเวลาในการทำโครงการ 3) มีส่วนร่วมในการพัฒนากระบวนการคัดกรองความเสี่ยงต่อ ภาวะตกเลือดหลังคลอด 4) การให้ข้อเสนอแนะที่ดีเป็นประโยชน์ในการพัฒนากระบวนการคัดกรองความเสี่ยงต่อ ภาวะตกเลือดหลังคลอด ส่วนความสามารถในการแสดงความคิดเห็นเชิงวิเคราะห์ของทีมพัฒนา แม้จะมีการ พัฒนาเพิ่มขึ้นจากเดิม แต่ยังอยู่ในระดับปานกลางและควรได้รับการพัฒนาในโอกาสต่อไป

นอกจากนี้ ความสำคัญที่นำสู่ความสำเร็จของโครงการนี้ อยู่ที่ความสามารถด้านการเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็น สมรรถนะหนึ่งของผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง

 

THE DEVELOPMENT OF RISK SCREENING PROTOCOL FOR POSTPARTUM HEMORRHAGE IN BEUNGKHONGLONG HOSPITAL

Wannapa Prabpal*

Sommapat Sornchai**

Abstract

Postpartum Hemorrhage is a major problem in the delivery process. This study aimed at the development of a risk screening tool for Postpartum Hemorrhage at Beung Khong Long Hospital, Beung Kan Province. This development process was a combination between the concept of PDCA cycle by Deming (1986) and a participatory process with brain storming. The development team consisted of 7 labor room nurses and 5 accident and emergency nurses. The development process was divided into two parts; the first was the development of the risk screening tool, and the second, was the development of the teams. This protocol began from June until September 2012. The results of this study found that:

1. A risk screening tool of Postpartum Hemorrhage was created, its contents were validated by 3 experts, which took Content Validity Index = 1. After the development process the risk screening tool of Postpartum Hemorrhage contained 28 instances in one page (A4 paper). This screening tool was implemented in three phases, with the first at the time attending the antenatal clinic. The second at 37-38 weeks of gestation, and the third at the delivery room. It took about a minute to finish each assessment.

2. For team development process, four strengths were found at the end of the development process, namely; 1) to respect the rights of others and consider ethics to indicate team opinions, 2) to have punctuality in the implementation of the program, 3) to have participation in the process of risk screening of Postpartum Hemorrhage, 4) to assist with suggestions that are useful for the process of risk screening of Postpartum Hemorrhage. However, ability in forming an analytic opinion of the team members were developed but still found at the moderate level. This should be improved in the future.

Importantly, the success of the program was up to the ability as a changing agent of the Advanced Midwifery which is a competency of the practitioners.

* Registered nurse, Beungkhonglong Hospital

** Assistant Professor, Faculty of Nursing, Khon Kaen University

Article Details

How to Cite
1.
ปราบพาล ว, สรไชย โ. การพัฒนากระบวนการคัดกรองความเสี่ยงต่อภาวะตกเลือดหลังคลอด โรงพยาบาลบึงโขงหลง. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2014 May 28 [cited 2024 Apr. 20];24(1):56-6. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/18327
Section
บทความวิจัย