ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับการมีส่วนร่วมในการบริหารความเสี่ยง ของบุคลากร โรงพยาบาลสงฆ์

Main Article Content

สมฤทัย สายจันทร์
รศ.ดร.นิตยา เพ็ญศิรินภา
รศ.พรทิพย์ กีระพงษ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์:      การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วัดระดับการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาคุณภาพด้านบริหารความเสี่ยงของโรงพยาบาลสงฆ์  2) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและการเสริมสร้างพลังอำนาจในบุคลากร  3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การเสริมสร้างพลังอำนาจกับการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาคุณภาพด้านบริหารความเสี่ยง  และ 4) ศึกษาปัญหา อุปสรรค  และข้อเสนอแนะเพื่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพด้านบริหารความเสี่ยงของโรงพยาบาล


วิธีดำเนินการวิจัย:  ประชากรที่ศึกษาเป็นบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยง ได้แก่ แพทย์  พยาบาล  และสหวิชาชีพ จำนวน 261 คน  กลุ่มตัวอย่างจำนวน 140 คนได้จากการสุ่มแบบชั้นภูมิตามวิชาชีพ  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม ที่มีค่าความเที่ยงอยู่ระหว่าง 0.928- 0.944 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา  การทดสอบไคสแควและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน


ผลการศึกษา พบว่า  1) การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการบริหารความเสี่ยงอยู่ในระดับสูง 2) บุคลากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 32.5 ปี ระยะเวลาการทำงานเฉลี่ย 10.05 ปี ลักษณะส่วนบุคคลที่พบมากที่สุด คือ มีการศึกษาระดับปริญญาตรี  ไม่ได้เป็นคณะกรรมการด้านความเสี่ยง  เคยอบรมด้านความเสี่ยง  1 ครั้ง ในรอบปีที่ผ่านมา เคยทำงานด้านความเสี่ยงเฉลี่ย 5.01 ปี  ภาพรวมของการเสริมสร้างพลังอำนาจของบุคลากรอยู่ในระดับสูง 3) การเป็นคณะกรรมการหรือเป็นผู้จัดการความเสี่ยง และการเสริมสร้างพลังอำนาจโดยรวมและรายด้าน มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการบริหารความเสี่ยงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยส่วนบุคคลอื่นๆ ไม่พบความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วม และ 4) ปัญหา อุปสรรคของการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพด้านบริหารความเสี่ยงที่สำคัญ คือ ขาดการประเมินผลอย่างสม่ำเสมอและขาดบุคลากรประสานงาน


สรุป: การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการบริหารความเสี่ยงนั้น จำเป็นจะต้องมีบุคลากรที่ทำหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการติดต่อประสานงานเพื่อให้การติดตามประเมินผลเป็นไปอย่างต่อเนื่องซึ่งจะทำให้การบริหารความเสี่ยงมีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น


 


คำสำคัญ:  การบริหารความเสี่ยง  การมีส่วนร่วม  บุคลากร โรงพยาบาลสงฆ์

Article Details

บท
Original Article

References

1. อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล. ระบบบริหารความเสี่ยงในโรงพยาบาล. กรุงเทพฯ: ดีไซน์; 2543. หน้า 2-27.

2. Kanter R.M. Men and women of the corporation. New York: Basic Books; 1977. p 129-205.

3. Wilson J. and Tingel J. Clinical risk modification: A route to clinic governance. Oxford: Butterwort
Heinemann; 1999. p 924-5.

4. พิศสมัย อรทัย และคณะ. การวิเคราะห์อำนาจการทดสอบและการประมาณค่าขนาดตัวอย่างโดย
โปรแกรม G*POWER. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี; 2556. หน้า 100-5.

5. ปวีณา ผลฟักแฟง. ความรู้ ความเข้าใจและการปฏิบัติกิจกรรมเกี่ยวกับกระบวนการบริหารความเสี่ยง
ในโรงพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี. [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ
มหาบัณฑิต]. สาขาการจัดการ, บัณฑิตวิทยาลัย, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต; 2554.

6. ณัฐนียา ธรรมสุนทร. แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาคุณภาพบริการ
ด้านการบริหารความเสี่ยง ความปลอดภัย และคุณภาพของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. [วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาการบริหาร และนโยบายสวัสดิการสังคม,คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2552.

7. จำรูล จันทร์หอม. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การเสริมสร้างพลังอำนาจในงานกับการ
ปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาคุณภาพบริการ ของพยาบาลประจำการ ในโรงพยาบาลชุมชน เขต 13.
[วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาการบริหารโรงพยาบาล, บัณฑิตวิทยาลัย, นนทบุรี:
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2549.

8. อุไรวรรณ เมืองสุวรรณ์. การมีส่วนร่วมของบุคลากรโรงพยาบาลระยองในการพัฒนาคุณภาพ
ระบบบริการเพื่อมุ่งสู่การรับรองคุณภาพโรงพยาบาล. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต].
สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, บัณฑิตวิทยาลัย, จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี; 2549.

9. สราวุฒิ คณะไชย. การมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพบริการของบุคลากรโรงพยาบาลสิรินธร
จังหวัดขอนแก่น. [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข,
บัณฑิตวิทยาลัย, ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2548.

10. มยุรี ตันติยะวงศ์ษา. การมีส่วนร่วมของบุคลากรในโรงพยาบาลสงฆ์ในกิจกรรม 5 ส. [วิทยานิพนธ์
สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาการบริหาร และนโยบายสวัสดิการสังคม,
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2546.

11.พัชรี สายสดุดี. ปัจจัยส่วนบุคคล การมีส่วนร่วมในงาน พฤติกรรมการเป็นสมาชิกองค์การกับพฤติกรรม
การปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลรัฐ กรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2546; 15: 54-66.

12.สมยศ นาวีการ. การบริหารแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ; 2545.

13.วิลาสินี ชวลิตดำรง. สมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการโรงพยาบาลในสังกัดกรมการแพทย์
ในเขตกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาบริหารสาธารณสุข, บัณฑิตวิทยาลัย, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2552.