ปัจจัยทำนายการคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพกลุ่มวัย วาย ที่โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ แห่งหนึ่ง ในจังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

ปฐมา ธรรมชัยภูมิ
สมพันธ์ หีญชีระนันทน์
สุคนธ์ ไข่แก้ว

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายการคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพกลุ่มวัย วาย ได้แก่ อายุ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน  และความพึงพอใจในงาน


วิธีการดำเนินการวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (descriptive research) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพกลุ่มวัย วาย คือ พยาบาลวิชาชีพ  ที่เกิดในระหว่าง พ.ศ. 2521 - 2540 ที่ปัจจุบันมีอายุ 20 - 39 ปี มีประสบการณ์ในการทำงานมากกว่า 1 ปี เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน     ความพึงพอใจในงาน การคงอยู่ในงาน โดยใช้สถิติเชิงพรรณา (descriptive statistic) ค่าคะแนนเฉลี่ย                ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการศึกษาความสัมพันธ์ อายุ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ความพึงพอใจ และการคงอยู่ในงาน ใช้ความสัมพันธ์ของตัวแปร 2 ตัว (Pearson’s product moment correlation) และวิเคราะห์ตัวแปรหลายตัวแปรเพื่อทำนายปัจจัยทำนาย (multiple regression analysis) การวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน (stepwise)


ผลการวิจัย: ข้อค้นพบจากการวิจัยนี้พบว่า ปัจจัยทำนายการคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพกลุ่มวัย วาย ได้แก่ อายุ  ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และความพึงพอใจในงาน พบว่า อายุ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และระดับความพึงพอใจ มีอิทธิพลในทางบวกต่อการคงอยู่ในงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาจากค่า R-square แล้วพบว่า ระดับความพึงพอใจ อายุ และ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน โดยรวมสามารถทำนายระดับการคงอยู่ในงานได้ ร้อยละ 92.3 และ p<0.05, r = 0.961, adjusted R-square = 0.922,                          R-square = 0.923,  f = 584.981


สรุป: จากผลการศึกษาครั้งนี้ พบว่า การทำนายการคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพกลุ่มวัย วาย พบว่า อายุ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และระดับความพึงพอใจ มีอิทธิพลในทางบวกต่อการคงอยู่ในงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อพิจารณาจากค่า R-square แล้วพบว่า อายุ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และความพึงพอใจในงาน โดยรวมสามารถทำนายระดับการคงอยู่ในงานได้ ร้อยละ 92.3


คำสำคัญ: ความพึงพอใจในงาน  การคงอยู่ในงาน  โรงพยาบาลปทุมธานี

Article Details

บท
Original Article

References

1. ศรีศุภรักษ์ สวนแก้ว. ปัญหาการขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพก่อให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจและ
คุณภาพบริการสุขภาพ; 2553. เข้าถึงได้จาก https://www.tcithaijo.org/index.php/TJONC/
article/download/2735/2436. เข้าถึงเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2560.

2. สุมิตร ขาวประภา. ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อองค์การกับประสิทธิผลของโรงเรียนใน
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนครเขต 1. [ครุศาสตรมหาบัณฑิต].สาขาวิชาการบริหาร
การศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย, สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร; 2550.

3. Cowin LS. The effects of nurses' job satisfaction on retention: an Australian perspective. Journal
Nursing Administration 2002; 32: 283-91.

4. Meyer JP, Allen NJ. A three-component conceptualization of organizational commitment: Human
resource management review 1991; 1(1): 61-89.

5. ปริศนา ใจบุญ, ประสิทธิ์ เชียงนางาม และปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์. สัดส่วนและสาเหตุการลาออกของ
พยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลศรีนครินทร์คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศรีนครินทร์เวชสาร. 2554; 26(3): 233-8.

6. วรรษพร อากาศแจ้ง. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจลาออกของคนเก่งในระบบราชการ. วารสารการจัดการ
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. 2556; 2(2): 47-58.

7. บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร.ภาวะผู้นำและกลยุทธ์การจัดการองค์การพยาบาลในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่2.
กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.

8. วรรณี วิริยะกังสานนท์. ปัจจัยที่มีผลต่อการคงอยู่ของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลเอกชน แห่งหนึ่งใน
กรุงเทพมหานคร. [พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล กรุงเทพมหานคร:
มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2556.

9. Herzberg F, Mausner B and Snyderman BB. The Motivation to Work .(2nd ed.). New York:
JohnWiley;1959.

10. จันทร์จิรา แดงน้อย. ปัจจัยทำนายการคงอยู่ในงานตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาล
เอกชนแห่งหนึ่ง กรุงเทพมหานคร. [พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล
กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2559.

11. สุรีย์ ท้าวคำลือ. ปัจจัยคัดสรรที่ทำนายความตั้งใจที่จะอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชน
เขตกรุงเทพมหานคร. [พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล กรุงเทพมหานคร:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2549.