การศึกษาสมรรถนะพยาบาลหัวหน้าเวร ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลกลาง

Main Article Content

ภัทรารัตน์ ตันนุกิจ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสมรรถนะพยาบาลหัวหน้าเวร


วิธีดำเนินการวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (descriptive research) ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำสาระมาเป็นแนวคิดในการกำหนดสมรรถนะ ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาสมรรถนะพยาบาลหัวหน้าเวร โดยใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi technique) ผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย 1) ผู้ช่วยหัวหน้าพยาบาล จำนวน 7 คน 2) หัวหน้าหอผู้ป่วย จำนวน 7 คน 3)  อาจารย์พยาบาล จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม 3 รอบ รอบที่ 1เป็นแบบสอบถามปลายเปิด เกี่ยวกับสมรรถนะพยาบาลหัวหน้าเวร รอบที่ 2 เป็นแบบสอบถามสมรรถนะพยาบาลหัวหน้าเวร แบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญระบุระดับความจำเป็นของสมรรถนะพยาบาลหัวหน้าเวร จำนวน 20 ข้อ รอบที่ 3 เป็นแบบสอบถามสมรรถนะพยาบาลหัวหน้าเวร ที่ปรับข้อความจากรอบที่ 2 พร้อมระบุค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ที่วิเคราะห์จากข้อมูลในรอบที่ 2 และให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันระดับความจำเป็นของสมรรถนะพยาบาลหัวหน้าเวร จำนวน 20 ข้อ สรุปสมรรถนะพยาบาลหัวหน้าเวร โดยพิจารณาจากค่ามัธยฐาน 3.5 ขึ้นไป และค่าความสอดคล้องไม่เกิน 1.5


ผลการวิจัย: พบว่า สมรรถนะสำหรับพยาบาลหัวหน้าเวร ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลกลาง มี 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) สมรรถนะด้านเทคนิคเชิงวิชาชีพ มีข้อย่อย จำนวน 7 ข้อ 2) สมรรถนะด้านการบริหารจัดการ มีข้อย่อย จำนวน 5 ข้อ 3) สมรรถนะด้านการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล มีข้อย่อย จำนวน 3 ข้อ และ 4) คุณลักษณะเชิงวิชาชีพ มีข้อย่อย จำนวน 6 ข้อ


สรุป: สมรรถนะสำหรับพยาบาลหัวหน้าเวรถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริการพยาบาล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กองการพยาบาล. คู่มือการจัดบริการพยาบาลจากหลักการสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2559.
2. เสาวลักษณ์ จิรธรรมคุณ. ถามและตอบ: การบริหารหอผู้ป่วย. ฮายาบุสะ กราฟฟิก: กรุงเทพมหานคร;
2552.
3. ชมพูนุช ทิพย์ฟั่น, บุญพิชชา จิตต์ภักดี, ผ่องศรี เกียรติเลิศนภา. การพัฒนาโปรแกรมการเตรียมความพร้อม
สำหรับการเป็นพยาบาลหัวหน้าเวร. พยาบาลสาร. 2014; 40(1): 145-57.
4. อุดมรัตน์ สงวนศิริธรรม. การพัฒนาวิชาชีพการพยาบาล พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่: คณะพยาบาลศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2553.
5. Spencer LM, Jr., Spencer SM. Competence at work: models for superior performance: John Wiley &
Sons; 1993.
6. Linstone HA, Turoff M. The Delphi method: techniques and applications: Addison-Wesley Pub. Co.,
Advanced Book Program; 1975.
7. Jamieson JM, Clark JE. Charge Nurse Competencies Legacy Good Samaritan Medical Center Portland
Oregon 2019. Available at http://www.synovaassociates.com/wp-content/uploads/2018/12/Charge-

8. Stoddart K, Bugge C, Shepherd A, Farquharson B. The new clinical leadership role of senior charge
nurses: a mixed methods study of their views and experience. J Nurs Manag. 2014; 22(1): 49-59.
9. Carlin A, Duffy K. Newly qualified staff's perceptions of senior charge nurse roles. Nursing
Management - UK. 2013; 20(7): 24-30.