ผลของโปรแกรมลดความเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

Main Article Content

กมลวรรณ วงวาส
ศากุล ช่างไม้
วีนัส ลีฬหกุล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: 1) เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลเท้าในกลุ่มทดลองก่อนและหลังได้รับโปรแกรมลดความเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้าในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และ 2) เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าดัชนีความดันหลอดเลือดแดงที่แขนเมื่อเทียบกับขาในกลุ่มทดลองก่อนและหลังได้รับโปรแกรมลดความเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ระหว่างกลุ่มทดลองภายหลังการทดลองที่ได้รับโปรแกรมฯ กับกลุ่มควบคุมภายหลังได้รับการพยาบาลตามปกติ


วิธีการดำเนินการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (quasi experimental research) แบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง (Pre test - Post test design) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยจำนวน 60 ราย  แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 ราย กลุ่มควบคุม 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนที่ 1 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลเท้าเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 คุณภาพเครื่องมือของแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลเท้า มีค่าความตรงของเนื้อหา (Content validity index: CVI) = 0.93 และค่าความเที่ยง Cronbach’s alpha coefficient =  0.76  และส่วนที่ 2 เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมลดความเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้าในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561 - กันยายน พ.ศ. 2561 วิเคราะห์ข้อมูลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมการดูแลเท้าของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้สถิติ independent t-test


ผลการวิจัย: พบว่า ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลเท้ามากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) และเมื่อเปรียบเทียบค่าดัชนีความดันของหลอดเลือดแขนเมื่อเทียบกับขา ภายหลังการทดลองพบว่าภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน (p-value>0.05)


สรุปผลการวิจัย: โปรแกรมลดความเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโปรแกรมที่เหมาะสมในการช่วยดูแลผู้ป่วยเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2


คำสำคัญ: ความเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้าผู้ป่วยเบาหวาน  ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2  ความดันของแขนเมื่อเทียบกับขา (ABI) โปรแกรมลดความเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. เทพ หิมะทองคำ. ความรู้เรื่องโรคเบาหวานฉบับสมบูรณ์.พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร:
บริษัท วิทยพัฒน์ จำกัด; 2552.
2. เกศศิริ วงษ์คงคำ, อรพรรณ โตสิงห์, เกศรินทร์ อุทริยะประสิทธิ์, Riegel B, เฉนียน เรืองเศรษฐกิจ,
ชูเกียรติ วิวัฒน์วงศ์เกษม. ความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาการเป็นเบาหวานกับความระดับความ
รุนแรงของการเกิดโรคหลอดลือดแดงส่วนปลายอุดตันในผู้ป่วยไทยที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2.
วารสารพยาบาล 2554; 29(2): 124-32.
3. Duck P. How far have we come in prevention and treatment of peripheral neuropathy.
comparison to peripheral neuropathy. Scientific report 2010.
4. สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์. แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันดูแลรักษา
ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า). กรุงเทพมหานคร: บริษัท โอ-วิทย์ (ประเทศไทย)
จำกัด; 2555.
5. สุมาลี เชื้อพันธ์. ผลการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน
ชนิดที่ 2. วารสารสภาการพยาบาล 2553; 25: 77-87.
6. Polit DF, Hungler BP. Nursing research principles and methods. 6thed. Philadelphia:
Lippincott; 1999.
7. Cohen,J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. Hillsdale NJ: Lawrence
Erlbaum Associate; 1998.
8. จิตรา จันทร์เกตุ, ศากุล ช่างไม้, ศศิมา กุสุมา ณ อยุธยา. ผลลัพธ์ของโปรแกรมส่งเสริม
พฤติกรรมการปรับตัวทางด้านโภชนาการต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
ที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง จังหวัดราชบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต
สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ขั้นสูง]. นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2556.
9. อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติที่ใช้ในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. ขอนแก่น:
ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุข; 2551.
10. จันทร์ญา พัววิริยพันธุ์, ศากุล ช่างไม้, เจือจันทน์ วัฒกีเจริญ. ผลลัพธ์ของโปรแกรมการส่งเสริม
สุขภาพของเท้าต่อภาวะหลอดเลือดอุดตันในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลระดับ
ตติยภูมิแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน 2558; 21(3): 587-600.
11. Pender N, Murdaugh C, Parsons MA. Health promotion in nursing practice. Person
Education; 2011.
12. จารุณี นุ่มพล. บทบาทพยาบาลกับการป้องกันแผลที่เท้าเบาหวาน. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย
2554; 4: 27-38.
13. Mclnnes A, Jettcoate W, Vileikyle L, Game F, Lucas K, Higson N. Foot care education in
patients with diabeties at low risk of complication: a consensus statement. Diabetic Med
2011; 28(2): 162-7.
14. Ahmed AA, Algamdi SA, Alguradhi A, Alzhriani AM, Khalid KA. Risk factors for diabetic
foot ulceration among patient attending primary health care service. The journal of diabetic
foot complication 2014; 6(2): 40-7.
15. Fam L, Sidani S, Cooper-Brathwate A, Metcalfe k. Effects of foot self-care education
intervention on improving footwear choices in those with type 2 diabetes at low risk of foot
ulceration Diabetic foot Canada; 2014.
16. ทักษิณาร์ ไกรราช, ดิษฐพล ใจซื่อ, นวลจันทร์ มาตยภูธร, ชาลี ศิริพิทักษ์ชัย, กานต์รวี โบราณมูล.
ผลของการเหยียบแผงไข่มะกรูดเพื่อลดอาการชาปลายเท้าของผู้สูงอายุที่มีอาการชาปลาย
ประสาทจากเบาหวาน. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2556; 6(2): 64-72.
17. Clayton W, Elasy TA. A rewiew of the pathophysiology, classification and treatment of
foot ulcers in diabetic patients. Feature Article; 2009.
18. Anderson JL, Halperin JL, Albert NM, Bozkurt B, Brindis RG, Curtis LH, et al. Management
of patient with peripheral artery disease. A report of American College of cardiology
Foundation/American Health Association Task Force on Practice; 2013.
19. Yusof NM, Rahman JA, Zulkifly AH, Che-Ahmad A, Khalid KA, Sulong AF. Predictors of
major lower limb amputation among type 2 diabetic patients admitted for diabetic foot
problems Singapore Med J 2015; 56(11): 626-31.