การศึกษาประโยชน์ของการย้อม Ziehl-Neelsenเพิ่มเติม ในการค้นหาเชื้อวัณโรคในเนื้อเยื่อ

Main Article Content

Pakorn Arunsawat

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์:1)วัตถุประสงค์หลัก เพื่อการย้อม Ziehl-Neelsen (ZN) เพิ่มเติม จะช่วยทำให้ตรวจพบเชื้อวัณโรค (ผลบวก) เพิ่มขึ้นหรือไม่และ 2)วัตถุประสงค์รอง ศึกษาปัจจัยลักษณะทางพยาธิวิทยา เช่น necrosis มีความสัมพันธ์กับการตรวจพบเชื้อวัณโรค โดยการย้อม Ziehl-Neelsen (ZN)
วิธีการดำเนินการวิจัย: รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบพรรณนา (descriptive study) ศึกษาย้อนหลังโดยนำบล็อกชิ้นเนื้อที่เก็บไว้มาย้อมเชื้อวัณโรค โดยวิธี Ziehl-Neelsen (ZN) เพิ่มเติมนำชิ้นเนื้อพาราฟินที่ได้รับการตรวจหาเชื้อวัณโรคเป็นบวกด้วยเทคนิคพีซีอาร์ ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559-2561 มาตัดย้อม ZN เพิ่มอีก 1 แผ่น จากนั้น ทำการทบทวนผลการย้อม ZN เดิม และตรวจดูผล ZN ที่ย้อมเพิ่มเติม


ผลการวิจัย: จากตัวอย่างทั้งหมด 78 ตัวอย่าง ที่มีผลการตรวจเชื้อวัณโรคเป็นบวกด้วยเทคนิคพีซีอาร์   พบว่าเมื่อนำมาตัดย้อม ZN เพิ่มอีก 1 แผ่น จะทำให้มีผลการย้อมเป็นบวกเพิ่มขึ้นจากเดิม 15 ตัวอย่าง (จากการย้อมครั้งแรก) กลายเป็น 19 ตัวอย่าง (ความไวของการตรวจเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 19.23 เป็น 24.36)


สรุป:การตัดแผ่นชิ้นเนื้อย้อม ZN เพิ่มอีก 1 แผ่น สามารถเพิ่มความไวในการตรวจหาเชื้อวัณโรคได้ ร้อยละ 5.13


คำสำคัญ: ชิ้นเนื้อพาราฟินการตรวจหาเชื้อวัณโรคZiehl-Neelsen stain ความไวของการตรวจ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.สำนักนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2561. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561.
2. Emmanuel O. Babafemi, Benny P. Cherian, Lee Banting, Graham A. Mills, and Kandala Ngianga. Effectiveness of real-time polymerase chain reaction assay for the detection of Mycobacterium tuberculosis in pathological samples: a systematic review and meta-analysis. Babafemi et al. Systematic Reviews (2017) 6:215
3. Chakravorty S, Sen MK, Tyagi JS: Diagnosis of extrapulmonary tuberculosis by smear, culture, and PCR using universal sample processing technology. J Clin Microbiol 2005, 43:4357–62.
4. Fukunaga H, Murakami T, Gondo T, Sugi K, Ishihara T: Sensitivity of acid-fast staining for Mycobacterium tuberculosis in formalin-fixed tissue. Am J RespirCrit Care Med 2002, 166:994–7.
5. Amir Hossein Jafarian, Abbasali Omidi, Javad Ghenaat, Kiarash Ghazvini, Hossein Ayatollahi, Minoo Erfanian, et al. Comparison of Multiplex PCR and Acid Fast and Auramine -Rhodamine Staining for Detection of Mycobacterium tuberculosis and Non-tuberculosis Mycobacteria in Paraffin-Embedded Pleural and Bronchial Tissues with Granulomatous Inflammation and Caseous Necrosis. Iranian Journal of Basic Medical Sciences Vol. 10, No. 4, Winter 2008: 216 - 21
6. Hye Seung Lee, KyoungUn Park, Jung Ok Park, Ho Eun Chang, Junghan Song, and GheeyoungChoe. Rapid, Sensitive, and Specific Detection of Mycobacterium tuberculosis Complex by Real-Time PCR on Paraffin-Embedded Human Tissues. The Journal of Molecular Diagnostics; Vol. 13, No. 4, July 2011:391-
7. Inoue M, Tang WY, Wee SY, Barkham T. Audit and improve evaluation of a real-time probe-based PCR assay with internal control for the direct detection of Mycobacterium tuberculosis complex. Eur J Clin Microbiol Infect Dis 2011 Jan; 30(1): 131-5.
8. DhurbaGiri in Bacteriology, Microbiology. Ziehl-Neelsen Stain (ZN-Stain): Principle, Procedure, Reporting, and Modifications. January 16, 2016.
9. Do Youn Park, Jee Yeon Kim, Kyung Un Choi, Jin Sook Lee, Chang Hun Lee, Mee Young Sol, et al. Comparison of Polymerase Chain Reaction With Histopathologic Features for Diagnosis of Tuberculosis in Formalin-Fixed, Paraffin-Embedded Histologic Specimens. Arch Pathol Lab Med. March 2003;127:326–30.