การพัฒนาพฤติกรรมมนุษย์ในยุคชีวิตวิถีใหม่ภายใต้ทฤษฎีทางด้านจิตวิทยาและพุทธศาสนา

Main Article Content

เสาวลักษณ์ สุทธิพรโอภาส
กฤตสุชิน พลเสน

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมมนุษย์ในยุคชีวิตวิถีใหม่และบูรณาการการพัฒนาพฤติกรรมมนุษย์ภายใต้ทฤษฎีทางด้านจิตวิทยาและพุทธศาสนาด้วยวิธีการวิเคราะห์เอกสารและสังเคราะห์บูรณาการอย่างเป็นระบบ พบว่าพฤติกรรมมนุษย์ในปัจจุบันเป็นยุคชีวิตวิถีใหม่ มีเหตุปัจจัยมาจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเพื่อความอยู่รอดจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของการติดเชื้อโควิด-19 และข้อมูลข่าวสาร เศรษฐกิจสังคมครอบครัวสาธารณสุขที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมมนุษย์ ผลักให้ผู้คนทั่วโลกเข้าสู่ “การดำเนินชีวิตรูปแบบใหม่” ในทุกๆด้าน ทั้งการดำเนินชีวิต สาธารณสุขการงาน การเงิน ธุรกิจและด้านสิ่งแวดล้อมเรียกว่า   “ยุคชีวิตวิถีใหม่” (new normal) จากการศึกษาปัจจัยพื้นฐานของพฤติกรรม พบว่ามนุษย์ทุกคนยังมีความโลภ ความโกรธ ความหลง ทำให้พฤติกรรมส่วนใหญ่เป็นไปตามความรู้สึกและอารมณ์ ส่งผลให้บุคคลมีความทุกข์ต่าง ๆ เช่น ทุกข์จากการเจ็บป่วยทางร่างกายและจิตใจ ส่งผลต่อสังคมขาดความสันติสุข ดังนั้นการพัฒนาพฤติกรรมมนุษย์จึงต้องเริ่มที่ตัวเรา คือต้องเรียนรู้ฝึกฝนตนเองโดยบูรณาการหลักทฤษฎีจิตวิทยา ได้แก่ ทฤษฎีการฝึกควบคุมตนเอง ทฤษฎีทางปัญญา ทฤษฎีการวางเงื่อนไข และหลักธรรมทางพุทธศาสนาที่สามารถพัฒนาพฤติกรรมมนุษย์ได้อย่างสมบูรณ์แบบมีกายสุจริต วจีสุจริตมโนสุจริต เป็นแก่นแท้แห่งการพัฒนาพฤติกรรมสติปัฎฐาน 4 เป็นธรรมโอสถ “กายบำบัด” และ “จิตบำบัด” มาปรับพฤติกรรมตามจริตของตนเอง ด้วย CAC model เกิดปัญญาหยั่งรู้เป็นคนดีคนเก่งและมีความสุขตามหลักธรรมสัปปุริสัตธรรม 7ประการ คือ รู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักตน รู้จักประมาณ รู้จักกาล รู้จักชุมชน รู้จักบุคคลเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขมีคุณภาพชีวิตที่ดี ในยุควิถีชีวิตใหม่


 

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Feldman RS. Understanding psychology. 8thed. New York: McGraw-Hill; 2008. p.5.

Wundt WM. Principles of physiological psychology. Cambridge: Harvard University;1969.

ผุสดี โตสวัสดิ์. การบำบัดรักษาโรคด้วยวิธีการปฏิบัติกรรมฐาน.วารสารปรัชญาปริทรรศน์ 2562; 24. หน้า1.4. สุรพล อิสรไกรศีล.ราชบัณฑิตบัญญัติศัพท์คำว่า New Normal[อินเทอร์เน็ต]. 2563.เข้าถึงเมื่อ 22ต.ค.

.เข้าถึงได้จาก:https://www.facebook.com/surapol.issaragrisil.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ เล่มที่ 29.พิมพ์ครั้งที่ 9.กรุงเทพฯ:

สหธรรมิก, 2538.หน้า 435.

Cronbach L. Educational psychology. New York: Harcourt, Brace and World, Inc;1963.

O’Leary KD, Wilson GT, Kalish HI.อ้างถึงในสมโภชน์เอี่ยมสุภาษิต.ทฤษฎีและเทคนิคการปรับ

พฤติกรรม.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556. หน้า 2-3.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต).พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย เล่มที่ 22.พิมพ์ครั้งที่ 39,กรุงเทพฯ:

โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย; 2557. หน้า 494.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต).พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย เล่มที่ 35.พิมพ์ครั้งที่ 39,กรุงเทพฯ:

โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย; 2557. หน้า 494.

Freud SA. General introduction to psycho analysis. New York: Boni and Reve right; 1937.

พระมหามฆวินทร์ ปุริสุตฺตโม.วิเคราะห์แนวคิดทางปรัชญาของพลาโต้กับอริสโตเติล.วารสารวนัมฎองแหรก

พุทธศาสตรปริทรรศน์ 2016; 2:48-50.

Bandura A. Social learning theory. New Jersy: Englewood Cliffs; 1997.

Roger CR. Client-centered therapy: its current practice implication and theory. London:

Constable & Co; 2003. p.1902- 87.

Coon D, Mitterer JO. Introduction to psychology: gateways to mind and behavior.Boston: Cengage

Learning; 2013. p. 25-6.

Watson JB. Psychology as the behaviorist views it. Psychological Review 1913; 20: 158-77.

Nova Bizz. ทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยการหยั่งรู้ [อินเทอร์เน็ต]. 2563[เข้าถึงเมื่อ 22ต.ค. 2564].เข้าถึงได้จาก:

https://www.novabizz.com/NovaAce/Learning/insight.

Gilmour H, Patten SB. Depression and work impairment. Health Rep 2007; 18: 9-22.

จุฬาลักษณ์ คุปตานนท์. การตรวจคัดกรองภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิดในประเทศไทย.

วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2561; 12: 452-5.

Dewey J, McDermott EW. The philosophy of John Dewey. New York: Putnam Sons; 1973.

สุพัตรา กวีธนกุล, สิริวัฒน์ ศรีเครือดง, วิชชุดา ฐิติโชติรัตนา. การพัฒนารูปแบบการเปลี่ยนผ่านทางจิต ตามหลักพุทธจิตวิทยาจําแนกตามประเภทจริต.วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์2563; 6: 72.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย เล่มที่ 19.พิมพ์ครั้งที่ 39.กรุงเทพฯ:

โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย; 2557. หน้า 194.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม เล่มที่ 37. พิมพ์ครั้งที่34.

สํานักพิมพ์การศึกษาเพื่อสันติภาพพระธรรมปิฎก; 2559.หน้า 237-8.

Karlsson ML. Healthy workplaces: factors of importance for employee health and organizational

production. Stockholm: Karolinska Institute; 2010.

สุรางค์ โค้วตระกูล. จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย;2553. หน้า238-9.

Senge PM. The fifth discipline: the art and practice of learning organization. New York: Doubleday/Currency; 1990. หน้า 139-73.

พระครูวิโรจน์กาญจนเขต, พระครูสิริกาญจนาภิรักษ์.วิปัสสนากรรมฐานเพิ่มพลังจิตสู้ภัยโควิด - 19 :

บทเรียนจากองค์ดาไลลามะ.วารสารศิลปการจัดการ 2563; 4: 409.

พระพรหมคุณาภรณ์. (ประยุทธ์ ปยุตฺโต).ธรรมนูญชีวิตพุทธจริยธรรมเพื่อชีวิตที่ดีงาม.กรุงเทพฯ :

บริษัทพิมพ์สวยจำกัด; 2556. หน้า 160.

เสาวลักษณ์ สุทธิพรโอภาส. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อองค์การแห่ง

การเรียนรู้ในโรงเรียนกลุ่มกรุงธนใต้สังกัดกรุงเทพมหานคร.วารสารบัณฑิตศาสน์2563;19: 41.

ชำนาญ วงรัศมีเดือน, สุวิญ รักสัตย์, ธวัช หอมทวนลม, พระเมธาวินัยรส. การจัดการพฤติกรรมมนุษย์ตาม

แนวจริตในพระพุทธศาสนา. วารสารสันติศึกษาปรทรรศน์ มจร 2562; 7: 766-77.