ผลลัพธ์ของการดูแลแบบประคับประคองตามการรับรู้ของผู้ป่วยโรคมะเร็งและญาติผู้ดูแล โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์

Main Article Content

สุพัตรา คงปลอด
นิตยา ศักดิ์สุภา
ทิวา เกียรติปานอภิกุล

บทคัดย่อ

บทนำ: โรคมะเร็งเป็นโรคที่คุกคามต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว เมื่อโรคมะเร็งดำเนินเข้าสู่


ระยะท้ายจะส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดความทุกข์ทรมานจากอาการรบกวนต่าง ๆ ทั้งร่างกายและจิตใจ ปัญหาที่ตามมาไม่เฉพาะผู้ป่วยเท่านั้น ที่ต้องเผชิญกับความทุกข์ทรมานแต่รวมถึงญาติผู้ดูแลด้วยเช่นกัน


วัตถุประสงค์:เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการดูแลแบบประคับประคองตามการรับรู้ของผู้ป่วยโรคมะเร็งและญาติผู้ดูแล


วิธีดำเนินการวิจัย:การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบพรรณนาเชิงสังเกตการณ์ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคมะเร็ง ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ - ตุลาคม พ.ศ. 2563 จำนวน 104 คนและญาติผู้ดูแล จำนวน 104 คนคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและแบบประเมินผลลัพธ์ของการดูแลแบบประคับประคองฉบับของผู้ป่วยและฉบับของญาติผู้ดูแล เก็บรวบรวมข้อมูล 2 ครั้ง โดยเก็บข้อมูลครั้งที่ 1 ในช่วงวัน ที่ 1-3 หลังจากเข้าสู่ระบบการดูแลแบบประคับประคองและเก็บข้อมูลครั้งที่ 2 หลังจากการประเมิน ครั้งที่ 1 ภายใน 3-7 วัน วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบโดยใช้สถิติ Wilcoxon t-test และ Mann-Whitney U test


ผลวิจัย:พบว่าค่าคะแนนผลลัพธ์ของการดูแลแบบประคับประคองของผู้ป่วยโรคมะเร็งและญาติผู้ดูแลครั้งที่1แตกต่างจากครั้งที่ 2อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.001) และค่าคะแนนผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคอง ตามช่วงเวลาการศึกษาครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ระหว่างผู้ป่วยโรคมะเร็งและญาติผู้ดูแลพบว่าไม่แตกต่างกันทั้งสองช่วงเวลา


สรุป: จากการศึกษาครั้งนี้สนับสนุนว่าการดูแลแบบประคับประคองสามารถช่วยลดอาการทางกายและทางใจของผู้ป่วยได้และกระบวนการดูแลแบบประคับประคองยังส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งและญาติผู้ดูแลรับรู้สภาวะความเจ็บป่วยในทิศทางเดียวกัน ทำให้ญาติผู้ดูแลสามารถประเมินอาการผู้ป่วยได้ตรงตามความรู้สึกของผู้ป่วยอย่างแท้จริงและช่วยเหลือผู้ป่วยได้ซึ่งเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. WHO. Cancer Control Programme [Internet]. [cited 2019 Jan 10 ]. Avialable from: http://who.int/cancer/en/.
2. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2561 กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข . ตาราง 2.3.1 จำนวนและอัตราตายต่อประชากร 100,000 คน ตามกลุ่มสาเหตุ (บท) การตาย 10 กลุ่มแรก (ตามบัญชีจําแนกโรคระหว่างประเทศฉบับแก้ไขครั้งที่ 10) พ.ศ. 2557 – 2561. (เข้าถึงเมื่อ 3 มกราคม 2563) เข้าถึงได้จาก: http://bps.moph.go.th/new_bps /sites/default/files/statistic%2061.pdf
3. หน่วยวิชาการและแผนงาน โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์. รายงานสถิติสาเหตุการตายผู้ป่วยใน ปีงบประมาณ 2560-2561.
4. วริสรา ลุวีระ. การดูแลสุขภาพของผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย. ศรีนครินทร์เวชสาร 2556; 28(2): 266-70
5. วารุณี มีเจริญ. ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็ง: การปรับตัวต่อบทบาทและการส่งเสริมคุณภาพชีวิต. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2557; 20(1): 10-22.
6. World Health Organization. WHO Definition of Palliative Care. [Internet]. 2012 [cited 2019 Jan 16]. Available from: http://www.who.int/cancer/palliative/ definition/en/.
7. Zimmermann C, Swami N, Krzyzanowska M, Hannon B, Leighl N, Oza A,. et al. Early palliative care for patients with advanced cancer : a cluster-randomised controlled trial.Lancet 2014 [internet]. 2014. [cited 2019 Jan 5 ]. Avialable from: https://www .thelancet.com/journals/ lancet/article/PIIS0140-6736(13)62416-2/fulltext.
8. ลดารัตน์ สาภินันท์. คู่มือการใช้แบบประเมินผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยแบประคับประคอง (Palliative care Outcome Scale : POS). เชียงใหม่: กลางเวียงการพิมพ์; 2556.
9. ปนัดดา สุวรรณ, ลดารัตน์ สาภินันท์, ธนพัฒน์ ไชยป้อ, ตุลา วงค์ปาลี, วันทนีย์ แสงวัฒนะรัตน์, เรไร พงศ์สถาพร. ผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคอง ในการรับรู้และมุมของพยาบาลและผู้ป่วยมะเร็งที่ เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. พยาบาลสาร 2560; 44(2): 89-103.
10. ภัควีร์ นาคะวิโร. ผลลัพธ์การดูแลของผู้ป่วยมะเร็งแบบประคับประคอง ในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา.วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2560; 7(1): 11-23.
11. สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข. ระบบบริการพยาบาลแบบประคับประคอง. นนทบุรี: สื่อตะวัน; 2559.
12. กิตติกร นิลมานัต. การดูแลระยะสุดท้ายของชีวิต. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์; 2555.
13. พรปวีณ์ อธิธัญชัยพงษ์. แนวทางการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองระยะท้าย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2559.
14. ประสพชัย พสุนนท์. การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามแนวทาง Krejcie and Morgan (1970) ในการวิจัยเชิงปริมาณ. วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ 2557; 12(2): 112-25.
15. Chewaskulyong B, Sapinun L, Downing GM, Intaratat P, Lesperance M, Leautrakul S, et al. Reliabilityand validity of the Thai translation (Thai PPS Adult Suandok) of the Palliative PerformanceScale(PPSv2).Palliat Med 2012 Dec; 26(8):1034-41.
16. Bausewein C, Daveson BA, Currow DC, Downing J, Deliens L, Radbruch L,. et al. EAPC White Paper on outcome measurement in palliative care: Improving practice, attaining outcomes and delivering quality services-Recommendations from the European Association for Palliative Care (EAPC) Task Force on Outcome Measurement. Palliative Medicine 2015; 30:6-22.
17. พัชรีรัตน์ อันสีแก้ว เยาวรัตน์ มัชฌิมและหทัยวรรณ รัตนบรรเจิดกุล. ผลของโปรแกรมการดูแลระยะท้ายต่อผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคอง และการรับรู้ระยะท้ายของชีวิตที่สงบในผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย. วารสารพยาบาลทหารบก 2562; 21(2):315-23.