แรงจูงใจและวัฒนธรรมองค์การที่มีผลต่อความคงอยู่ในการทำงานของบุคลากรสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

อรรถพล เกิดอรุณสุขศรี

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์:1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความคงอยู่ในการทำงานของบุคลากรสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร2) เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการทำงาน วัฒนธรรมองค์การและ ความคงอยู่ในการทำงานของบุคลากรสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการปรับปรุงและพัฒนาแรงจูงใจในการทำงานและวัฒนธรรมองค์การที่มีผลต่อความคงอยู่ในการทำงานของบุคลากรสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร


วิธีดำเนินการวิจัย: เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยเน้นการวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลัก เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการแจกแบบสอบถามและใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นข้อมูลเสริมการวิจัยเชิงปริมาณ โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร จำนวน 5,841 คน  กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรสำนักการแพทย์ จำนวน 406 คนประกอบด้วยกลุ่มตัวอย่างในงานเชิงปริมาณ 394 คน และกลุ่มตัวอย่างในการสัมภาษณ์เชิงลึก 12 คน ทำการศึกษาในช่วงเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2564  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ (enter multiple regression analysis)


ผลการวิจัย:พบว่า บุคลากรที่ตอบแบบสอบถามจำนวน 394 คน  ส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง ร้อยละ 86.29 อายุในช่วง 21-40 ปี ร้อยละ 61.67 สถานภาพโสด ร้อยละ 61.93 พยาบาลวิชาชีพ ร้อยละ 63.96 รายได้อยู่ในช่วง 25,001-35,000 บาท ร้อยละ 30.96 อายุการทำงาน 6 - 15 ปี ร้อยละ 32.99 และภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 51.52ปัจจัยที่ส่งผลต่อความคงอยู่ในการทำงานของบุคลากรสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร พบว่า ตำแหน่งงาน รายได้ แรงจูงใจในงานและวัฒนธรรมองค์การร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความคงอยู่ในการทำงานได้ร้อยละ 76.00 และบุคลากรฯ มีแรงจูงใจในการทำงานภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.74 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.58  วัฒนธรรมองค์การในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.42 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.84  มีความคงอยู่ในงานในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.29 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.78


สรุป: แนวทางการปรับปรุงและพัฒนาแรงจูงใจในการทำงานและวัฒนธรรมองค์การที่มีผลต่อความคงอยู่ในการทำงานของบุคลากรสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ได้แก่ การสนับสนุนความก้าวหน้าในอาชีพวางแผนจัดทำเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ ส่งเสริมให้เกิดการยอมรับนับถือต่อผู้ปฏิบัติงานที่มีผลงานโดดเด่น ให้ความสำคัญต่อการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคลากรของสำนักการแพทย์ ส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศในการทำงานแบบกัลยาณมิตร และส่งเสริมให้ตระหนักถึงความสำคัญของการทำงานในรูปแบบทีม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Robbins SP, Coulter M. การจัดการและพฤติกรรมองค์การ Management. กรุงเทพฯ: ท้อป; 2559.

จตุรงค์ ศรีวงษ์วรรณะ. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ Human resource management. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์; 2558.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, สมชาย หิรัญกิตติ, ธนวรรธ ตั้งสินทรัพย์ศิริ. การจัดการและพฤติกรรมองค์การ Management and organizational behavior. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์; 2550.

ชาญเดช วีระกุล. ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานในการปฏิบัติงานกับขวัญในการปฏิบัติงานของบุคลากร สังกัดสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ 5 (จังหวัดอุบลราชธานี). วารสารพิชญทรรศน์2552;4:57-64.

Maslow AH. Motivation and personality. New York: Harper & Row; 1954.

ธนวรรธ ตั้งสินทรัพย์ศิริ. พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์;2550.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ;2553.

สุรพล สุวรรณแสง. ปัจจัยการคงอยู่ของครูโรงเรียนเอกชนในระบบที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต].กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์; 2553.

ปาริชาติ วิเศษรัตน์. ปัจจัยที่มีผลต่อการรักษาบุคลากรฝ่ายบริการลูกค้าของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ บธ.ม. (การจัดการองค์การเภสัชกรรม) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ[อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2564] เข้าถึงได้จาก http://thesis.swu.ac.th/wuthesis/ sPha_En_Man/Parichart_V.pdf http://ils.swu.ac.th:8991/F?func=service&doc_library=SWU01&

local_base=SWU01&doc_number=000430118&sequence=000001&line_number=0001&func_code=DB_RECORDS&service_type=MEDIA.

นิศาชล ภูมิพื้นผล. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ของพนักงาน: กรณีศึกษา บริษัท เดลแมกซ์ แมชินเนอรี่ จำกัด [การค้นคว้าอิสระ]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี;2559.

นิตยา วันทยานนท์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพกลุ่มลูกจ้างชั่วคราว โรงพยาบาลในเขตจังหวัดสกลนคร [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา;2556.