ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อผู้สูงอายุที่มีโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ร่วมกับภาวะน้ำหนักเกินในคลินิกผู้สูงอายุโรงพยาบาลราชพิพัฒน์

Main Article Content

ธนกร จงเจษฎ์
วิไลลักษณ์ ทีปประสาน
ภูริทัต แสงทองพานิชกุล

บทคัดย่อ

บทนำ : ประชากรผู้สูงอายุที่มากขึ้นในปัจจุบัน มีโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ส่งผลสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง


โรคเบาหวาน และโรคร่วมเรื้อรังที่มาพร้อมกับโรคเบาหวาน คือ ภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน คำแนะนำ


ที่เป็นสากลกำหนดให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ อาจเป็นได้ทั้งการปรับเปลี่ยนที่เป็นอิสระหรือมี


การใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพมาร่วมด้วย การศึกษานี้ต้องการศึกษาว่าโปรแกรม


ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของโรงพยาบาลราชพิพัฒน์มีประสิทธิผลเป็นอย่างไรโดยเฉพาะอย่างยิ่งใน


กลุ่มผู้สูงอายุ


วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่มีผลต่อการควบคุม


ระดับน้ำตาลสะสม ค่าดัชนีมวลกาย ระหว่างกลุ่มที่เข้าโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และกลุ่มที่


รักษาตามมาตรฐาน


วิธีการศึกษา : งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการศึกษาแบบเก็บข้อมูลย้อนหลัง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลพื้นฐาน


สำหรับงานวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบแมน-วิทนียู และสถิติทดสอบ


ไคสแควร์ ทดสอบความแตกต่างของคะแนนในกลุ่มด้วยสถิติทดสอบฟรีดแมน สำหรับความแตกต่าง


ของคะแนน ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองใช้สถิติทดสอบฟรีดแมน 


ผลการศึกษา : จากการทบทวนข้อมูลผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 500 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับโปรแกรม


ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 250 คน และกลุ่มที่รักษาตามมาตรฐาน 250 คน เมื่อเข้าร่วมโปรแกรมครบ        


6 เดือน พบว่า กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมมีการลดลงของดัชนีมวลกายและระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1c)


อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และเมื่อเทียบระหว่างกลุ่มแล้วพบมีความแตกต่างกันอย่างมี


นัยสำคัญทางสถิติ  (p <0.001)


สรุป : โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพสามารถลดค่าดัชนีมวลกาย และค่าระดับน้ำตาลสะสมใน


เลือด (HbA1c) ได้ดีกว่าการรักษาตามมาตรฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<0.05 และสามารถลดค่า


ดัชนีมวลกายและน้ำตาลสะสมในเลือดให้ลงมาอยู่ในเกณฑ์ปกติได้มากกว่ากลุ่มที่รักษาตามมาตรฐานอย่าง


มีนัยสำคัญทางสถิติ p<0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

World Health Organization. Ageing and life course [Internet]. 2018 [cited 2019 Jun 19]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/ageing-and-health

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. สารประชากรมหาวิทยาลัยมหิดล 2566.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2566. หน้า 1-2.

วิชัย เอกพลากร, หทัยชนก พรรคเจริญ, วราภรณ์ เสถียรนพเก้า. การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ.2562 - 2563. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2559: หน้า 321,325-6.

World Health Organization. Diabetes [Internet]. 2023 [cited 2023 May 2]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/diabetes

ราม รังสินธุ์. สรุปการประเมินผลลัพธ์การดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2553-2558. สำนักงานหลักประกันสุขภาพและเครือข่ายวิจัยกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย; 2558.

American Diabetes Association. Standards of medical care in diabetes-2019. Diabetes Care 2019; 42:S1.

Gæde P, Lund-Andersen H, Parving HH, Pedersen O. Effect of a multifactorial intervention on mortality in type 2 diabetes. N Engl J Med 2008;358:580-91.

Gregg EW, Lin J, Bardenheier B, Chen H, Rejeski WJ, Zhuo X, et al. Impact of intensive lifestyle intervention on disability-free life expectancy: the look ahead study. Diabetes Care 2018;41:1040-8.

WHO Consultation on Obesity (1999: Geneva, Switzerland). Obesity: preventing and managing the global epidemic: report of a WHO consultation. World Health Organization technical report series. Geneva: World Health Organization; 2000. p. 69-72.

วินัฐ ดวงแสนจันทร์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพและระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาล 2565; 7:28-37.

ขวัญใจ เพ็ญนิ่ม, สุจิตร์ พูนเกิด. ผลการใช้โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีค่า HbA1c มากกว่าร้อยละ 7 ต่อระดับน้ำตาลในเลือดสะสม: กรณีศึกษา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแหลมโตนด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง [รายงานการวิจัย]. พัทลุง: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง; 2560.

ชลทิพย์ ธีระชาติสกุล. ผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อภาวะน้ำหนักเกินหรือภาวะอ้วนในเจ้าหน้าที่เครือข่ายสุขภาพอำเภอยางตลาด. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว2562;2:42-52.

Jamal SN, Moy FM, Azmi Mohamed MN, Mukhtar F. Effectiveness of a Group Support Lifestyle Modification (GSLiM) programmed among obese adults in workplace: a randomised controlled trial. PLOS ONE 2016;11:e0160343.

Khalil H. Diabetes microvascular complications-a clinical update. Diabetes & Metabolic Syndrome: Clinical Research & Reviews 2017;11,S133-9.

Vinik A, Flemmer M. Diabetes and macrovascular disease. Journal of Diabetes and its Complications 2002;16:235-45.