ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดของผู้ปฏิบัติงานในศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ ของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ยุทธนา เศรษฐนันท์
ทะเนตร์ สายมัน
ทัศไนย ลิ้มเจียมรังษี
ฟ้าสว่าง ฟองจำ
นันทนา เมษประสาท
สิรินทรา ราษฎร์มณี
นัตติยา พรมมินทร์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: 1) เพื่อศึกษาระดับความเครียดผู้ปฏิบัติงานในศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และอิทธิพลของปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดของผู้ปฏิบัติงานในศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร


วิธีดำเนินการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (survey research) โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปฏิบัติงาน ในศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร จำนวน 116 คน และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม (questionnaire) และแบบวัดระดับความเครียดสวนปรุง กรมสุขภาพจิต ซึ่งระยะเวลาในการเก็บข้อมูลตั้งแต่ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าส่วนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและแบบบางส่วน ค่าการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ


ผลการวิจัย: ความเครียดของผู้ปฏิบัติงานในศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานครโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (Mean=3.17, SD=0.560) และปัจจัยทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ปัจจัยด้านบทบาทในองค์กร (r=-0.197, p=0.039) ปัจจัยด้านสัมพันธภาพในที่ทำงาน (r=-0.222, p=0.049)  และปัจจัยด้านความสมดุลระหว่างชีวิตทำงานและชีวิตส่วนตัว (r=0.309, p=0.001) มีความสัมพันธ์กับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 0.01 โดยปัจจัยด้านบทบาทในองค์กร (β=-0.279, p=0.039)  ปัจจัยด้านสัมพันธภาพในที่ทำงาน (β=-0.310, p=0.019) และปัจจัยด้านความสมดุลระหว่างชีวิตทำงานและชีวิตส่วนตัว (β=0.399, p=0.001) มีผลต่อความเครียดของผู้ปฏิบัติงานในศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 0.01


สรุป: ปัจจัยที่ส่งผลให้บุคลากรผู้ปฏิบัติงานในศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร เกิดความเครียดในการปฏิบัติงาน มี 3 ด้าน ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านบทบาทในองค์กร (การมอบหมายงานที่ชัดเจนและมีทีมงานคอยให้คำแนะนำ) 2) ปัจจัยด้านสัมพันธภาพในที่ทำงาน (การทำงานเป็นทีมและมีช่องทางช่วยเหลือในการปฏิบัติงาน) และ 3) ปัจจัยด้านความสมดุลระหว่างชีวิตทำงานและชีวิตส่วนตัว (มีบุคคลที่สามารถปรึกษาได้และมีเวลาพักผ่อนที่เพียงพอ)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

องค์การ เรืองรัตนอัมพร. สาเหตุของความเครียดจากการทำงาน [อินเทอร์เน็ต]. 2553 [เข้าถึงเมื่อ 5 มิ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก http://cmruir.cmru.ac.th/bitstream/123456789/1390/5/Chapter%202.pdf

กลุ่มงานมาตรฐานและระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน. รายงานประจำปี 2565.ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) รายงานประจำปี; 2565.

ภาพรรณ พุทธิยาวัฒน์. ความเครียดของเจ้าหน้าที่รับเรื่องทางโทรศัพท์ศูนย์ช่วยเหลือสังคม (1300) [วิทยานิพนธ์ปริญญาพัฒนาแรงงานและสวัสดิการมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2558.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.ข้อมูลประเมินสุขภาพจิตคนไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 6 มิ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก:https://checkin.dmh.go.th/dashboards

Cartwright S, Cooper CL. Managing workplace stress Vol.1. [Internet].1997 [cited 2023 Jun 5]. Available from:

https://books.google.co.th/booksid=RQ85DQAAQBAJ&lpg=PP1&ots=c5Z4a3hG_B&dq=Cartwright%20S%2C%20Cooper%20CL.%20(1997).%20Managing%20workplace%20stress%20Vol.%201.%20Sage.&lr&hl=th&pg=PP1#v=onepage&q&f=false

จินดารัตน์ บุตรจินดา. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเครียดของบุคลากร: กรณีศึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี 2561;10(1):289-94.

วิภัสสร มากนคร, วัฒน์ บุญกอบ, จันทร์จารี เกตุมาโร, เกษม ชูรัตน์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของเจ้าหน้าที่งานเวชระเบียนโรงพยาบาลศิริราช. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ 2563; 12(2):249-57.

กชพรรณ ลัภโนปกรณ์, ประสพชัย พสุนนท์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. วารสารจันทรเกษมสาร 2557;20(38):133-42.

นวนันท์ คำมา. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดในการทำงานของบุคลากร สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินในเขตกรุงเทพมหานคร [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 19 ก.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://mmm.ru.ac.th/ MMM/IS/mlw12/6114961006.pdf

นิรชา สายสังข์ . ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารความสัมพันธ์ของพนักงานในองค์กร [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 19 ก.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.me-abstract.ru.ac.th/AbstractPdf/2561-6-1_1594615938.pdf

นวพร ชิณวงศ์. ความขัดแย้งในองค์กรด้านงาน ด้านความสัมพันธ์ และด้านกระบวนการที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ความเครียดในที่ทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการเปรียบเทียบระหว่างธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจค้าปลีก [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 19 ก.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.repository.rmutt. ac.th/xmlui/handle/123456789/2853

นฤมล เมียนเกิด. ความสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัว และการทํางานของพนักงานออฟฟิศในเขตกรุงเทพมหานคร เปรียบเทียบกับพนักงาน บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ฟู้ดส์ จํากัด [สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558.

สราวลี แซงแสวง. คุณภาพชีวิตในการทำงานและความสมดุลของชีวิตในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการเจนเนอเรชั่น Xและเจนเนอเรชั่น Y [สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2559.

วริศรา กลมทุกสิ่ง, วิลาวัณย์ พึ่งตัว, พรพจน์ วิรุฬห์ธนวงศ์. ประโยชน์ของการปรับสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว. Journal of Roi Kaensarn Academi 2566;8(4):587-95.