ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรโรงพยาบาลบุรีรัมย์

Main Article Content

พิมพ์พจี พันธุลี

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรและเปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรโรงพยาบาลบุรีรัมย์โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล
รูปแบบการศึกษา: การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research)
วิธีดำเนินการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ จำนวน 1,438 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ T-test และ Chi-square
ผลการศึกษา: บุคลากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 76.3 อายุระหว่าง 25-35 ปี ร้อยละ 42.6 มีตำแหน่งงานปัจจุบันเป็นพยาบาลวิชาชีพ ร้อยละ 36.0 ระดับการศึกษาปริญญาตรี ร้อยละ 61.1 มีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 30,000 บาท ขึ้นไป ร้อยละ 22.7 ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 1-5 ปี ร้อยละ 33.7 สถานภาพของตำแหน่งเป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข ร้อยละ 39.1 ปฏิบัติงานในระดับผู้ปฏิบัติงาน ร้อยละ 92.1 และบทบาทหน้าที่ที่รับผิดขอบหลักด้านการรักษาพยาบาล ร้อยละ 54.7 ความผูกพันต่อองค์การ ของบุคลากรโรงพยาบาลบุรีรัมย์โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ผลการเปรียบเทียบ ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรโรงพยาบาลบุรีรัมย์จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ปัจจัยที่ทำให้ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรโรงพยาบาลบุรีรัมย์แตกต่างกัน ได้แก่ อายุ ตำแหน่งงานปัจจุบัน ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน สถานภาพของตำแหน่ง และระดับของการปฏิบัติงาน
สรุป: ผู้มีหน้าที่ในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล จะต้องเสาะหาวิธีการในการสร้างความผูกพัน ให้กับบุคลากร เพื่อธำรงรักษาบุคลากรที่ดีไว้ในองค์การให้ได้นานที่สุด

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. นคร ศิลปอาชา. คำนิยมใน: วิริณธิ์ กิตติพิชัย, อรทัย เลิศพิชิตกุล และถนอมรัตน์ ฟองเลา. HR Check up การประเมินการเตรียมความพร้อม ด้านทรัพยากรมนุษย์ในองค์การเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. กรุงเทพมหานคร: แฮฟ ไอเดีย, 2557:2.

2. นิดาขวัญ ร่มเมือง. ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรกรณีศึกษาโรงเรียนธิดาแม่พระ จังหวัด สุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 2554.

3. ประชากรในจังหวัด พ.ศ. 2557. Available from:URL: https://th.wikipedia.org/wiki/จังหวัดบุรีรัมย์.

4. กลุ่มงานยุทธศาสตร์บริการและแผนงาน. รายงานประจำปี 2556 โรงพยาบาลบุรีรัมย์. บุรีรัมย์, 2556. (เอกสารอัดสำเนา).
5. กลุ่มงานทรัพยากรบุคคล. ข้อมูลบริหารงานบุคคลโรงพยาบาลบุรีรัมย์, 2556.

6. จุติรัตน์ ถาวโร และภาสชนก พิชญเวทย์วงศา. ปัจจัยทำนายที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การ ของบุคลากรฝ่ายบริการพยาบาล โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ สงขลานครินทร์เวชสาร 2551;26:5:441-9.

7. เนตรนภา บันทพรวิญญ. ความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัท เซ็นทรัล รีเทลคอร์ปอเรชั่น จำกัด. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราซภัฏพระนคร, 2551.8. สิริลักษณ์ ชูทวด, สิทธิชัย เอกอรมัยผล. คุณภาพชีวิตการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรของ บุคลากรในโรงพยาบาล. Journal of Health Education 2009;32(112):19-32.

9. ปาริชาติ บัวเป็ง. ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัท ไดกิ้น อินดัสทรีส์ ประเทศไทย (จำกัด). การค้นคว้าอิสระหลักสูตร บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกธุรกิจระหว่าง ประเทศ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 2554.

10. พรทิพย์ ไชยฤกษ์. ความผูกพันต่อองค์กรและพฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์ของบุคลากร สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน). วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, 2555.

11. นูรีมัน ดอเลาะ, อนิวัช แก้วจำนง, อรจันทร์ คิริโชติ. ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2556;5(3):110-121.