การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีการล้างไตทางหน้าท้องชนิดถาวร (CAPD)
Main Article Content
บทคัดย่อ
เหตุผลการศึกษา: โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายเป็นปัญหาที่สำคัญของทางสาธารณสุขในปัจจุบัน และมี แนวโน้มของการเจ็บป่วยเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ และส่งผลกระทบต่อการทำหน้าที่ของอวัยวะต่างๆในร่างกาย การรักษาด้วยวิธีการล้างไตทางหน้าท้องชนิดถาวรเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วย ให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษา ลดภาวะคุกคามจากการเจ็บป่วยของโรคลงได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอัตราการเสียชีวิต การติดเชื้อ ความพึงพอใจของผู้ป่วยและพยาบาลโดยใช้ระบบการดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีล้างไตทางหน้าท้อง ชนิดถาวรตามกระบวนการที่ออกแบบใหม่
รูปแบบการศึกษา: การศึกษาเชิงปฏิบัติการ (Action Research)
วิธีการศึกษา: ชั้นตอนการดำเนินการศึกษามี 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลสถานการณ์ และปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้อง ระยะที่ 2 พัฒนาระบบการดูแล ระยะที่ 3 นำระบบการดูแลที่ได้ ไปปฏิบัติ ดำเนินการเป็นวงจร คือ วางแผน นำแผนสู่การปฏิบัติ ตรวจสอบปรับปรุง พัฒนา และสรุปประเมินผลระบบที่พัฒนาขึ้น ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552- เดือนกันยายน พ.ศ. 2557 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบวัดคุณภาพการดูแลผู้ ป่วย โดยเก็บข้อมูลตามตัวชี้วัดคุณภาพการดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบถาวรได้แก่ อัตราการเสียชีวิต อัตราการติดเชื้อทางเยื่อบุ ช่องท้อง แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วยและพยาบาล แบบสอบถามความรู้ของผู้ป่วย และแบบประเมินการปฏิบัติกิจกรรมการล้างไตทางหน้าท้องด้วยตนเอง ซึ่งผ่านการ ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา และปรับปรุงแก้ไขตามที่ผู้เชี่ยวชาญเสนอแนะ เก็บ รวบรวมข้อมูลตัวชี้วัดการดูแลจากผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่เข้ารับบริการด้วย วิธีการล้างไตทางหน้าท้องชนิดถาวร ในปี 2554-2557จำนวน 114, 160, 201 และ 259 ตามลำดับ เก็บข้อมูลความพึงพอใจ ความรู้ และการปฏิบัติกิจกรรมการล้างไตจากผู้ป่วย จำนวน 30 คน และพยาบาลวิชาชีพจำนวน 160 คน
ผลการศึกษา: ภายหลังนำระบบการดูแลที่พัฒนาขึ้นไปใช้ พบว่า 1) อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยลดลงจากร้อยละ 15.4 เป็น 10.0 ในปี 2557 อัตราการติดเชื้อในตำแหน่งทางออกของสายลด ลงจากร้อยละ 45.8 เป็น 19.7 ในปี 2557 2) ผู้ป่วยและพยาบาลมีคะแนนความพึงพอใจ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.001 ความรู้ของผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.001 และปฏิบัติกิจกรรมการล้างไตทางหน้าท้องด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง
สรุป: ระบบการดูแลที่พัฒนาขึ้นส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตและอัตราการติดเชื้อลดลง ผู้ป่วยและพยาบาลมีคะแนนความพึงพอใจเพิ่มขึ้น
Article Details
References
2. Shokebumroong K. Care models for persons with chronic renal failure. Doctor of philosophy in nursing. Graduate school, KhonKaen University, Thailand; 2008.
3. Li PKT, Lui SL, Leung CB, Yu AWY, Lee E, Just PM, et al. Increased utilization of peritoneal dialysis to cope with mounting demand for renal replacement therapy: Perspectives from Asian countries. Peritoneal Dialysis International 2007;27:59-61.
Grassmann A, Gioberge S, Moeller S, Brown G. ESRD patients in 2004: global overview of patient numbers, treatment modalities and associated trends. Nephrol dial transplant 2005;20:2587-93.
5. National Kidney and Urologic Diseases Information Clearinghouse. Kidney disease statistics for the United States. U.S. department of health and human service national institutes of health 2012;June:1-16.
6. Jittinun A. Risk factor of kidney disease. [Database on the Internet]. 2013 [cited 2013 March 10]. Available from : https://www.matichon.co.th.
7. ศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศโรงพยาบาลสุรินทร์. รายงานสถิติประจำปี 2554. สุรินทร์ : โรงพยาบาลสุรินทร์; 2553.
8. ระพล บดีรัฐ. PDCA วงจรสู1ความสำเร็จ. กรุงเทพมหานคร: ประชาชน; 2543.
9. เพ็ญจันทร์ แสนประสาน. การบริหารจัดการบริการสุขภาพ: Lean Management. กรุงเทพมหานคร : สุขุมวิทการพิมพ์, 2551.
10. สุกัญญา อึ้งตระกูล, ศุพรรณี ตั้งภักดี, จุธาลักษณ์ แก้วมะไฟ. การพัฒนารูปแบบบริการผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบถาวรโรงพยาบาลร้อยเอ็ด. วารสารการพยาบาล และการดูแลสุขภาพ 2557;32:4:49-59.
11. Angel AMQ, Miriam VC, Concepcion MA, Beatriz BM, Cristina QR, Oscar RB, et al. Effectiveness of different type of care for the peritoneal dialysis. JBI database of systematic reviews & implementation reports 2013;11:133-79.
12. Kong ILL, Yip ILP, Mok GWS. Setting up a continuous ambulatory peritoneal dialysis training program : Proceeding of the Lirst Asian Chapter Meeting-ISPD. Peritoneal Dialysis International 2003;23:178-82.
13. งามพิศ ธนไพศาล. ผลของการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมในการผ่าตัดและดนตรีบำบัดต่อ ความวิตกกังวล และความพึงพอใจของผู้ป่วยที่ ได้รับการวางสายล้างไตทางหน้าท้องชนิดถาวร โรงพยาบาลศรีนครินทร์ [รายงานการศึกษา อิสระปริญญาพยาบาลศาลตรมหาบัณฑิต]. บัณฑิตวิทยาลัย; ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.