ความสัมพันธ์และความสำคัญทางคลินิกระหว่างทารกน้ำหนักน้อยและภาวะโลหิตจางระหว่างตั้งครรภ์ที่โรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

สุนารี พิชญ์ชัยประเสริฐ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของภาวะโลหิตจางระหว่างตั้งครรภ์ต่อทารกน้ำหนักตัวน้อยและผลลัพธ์ของการคลอดในช่วงปริกำเนิด
สถานที่ทำการศึกษา: กลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลสุรินทร์
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลัง ของสตรีตั้งครรภ์ที่มาคลอดบุตรที่โรงพยาบาลสุรินทร์ 6,171 ราย ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2555 มีโลหิตจาง 1,336 ราย (ความเข้มข้นเลือด น้อยกว่า ร้อยละ 33 ในการฝากครรภ์ครั้งแรก) และไม่มีโลหิตจาง 4,835 ราย (ความเข้มข้นเลือดเท่ากับหรือมากกว่า ร้อยละ 33) เก็บรวบรวม ข้อมูลพื้นฐานและภาวะแทรกซ้อนของทารกปริกำเนิด (ประกอบด้วย คลอดทารก น้ำหนักตัวน้อย คลอดก่อนกำหนด ทารกขาดออกซิเจนแรกเกิด วิธีการคลอดและการนอนโรงพยาบาลของทารก) นำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน (mean + SD) และ เปอร์เซ็นต์ ใช้ Chi-square test and Fisher’s Exact test เพื่อศึกษาความแตกต่างของข้อมูลเชิงคุณภาพ และ Multivariate analysis-test เพื่อศึกษาความแตกต่างของข้อมูลต่อเนื่อง ค่า p-value น้อยกว่า 0.05 ถือว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ
ผลการศึกษา: มารดาที่มีโลหิตจางมีอายุน้อยกว่า น้ำหนักน้อยกว่า ฝากครรภ์ครั้งแรกช้ากว่า พบว่ากลุ่มที่มีโลหิตจางระหว่างตั้งครรภ์และกลุ่มที่ไม่มีโลหิตจางระหว่างตั้งครรภ์คลอดทารก น้ำหนักตัวน้อย (ร้อยละ 9.4, 11.1 ; P = 0.216) มีภาวะทารกแรกเกิดขาดออกซิเจน (ร้อยละ 3.3, 3.7 ; P = 0.540) ทารกแรกเกิดนอนรักษาตัวใน หอผู้ป่วย Sick Newborn และ NICU (ร้อยละ 5.0, 6.0 ; P = 0.150) ไม่แตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และกลุ่มที่มีโลหิตจางระหว่างตั้งครรภ์และกลุ่มที่ไม่มีโลหิตจางระหว่างตั้งครรภ์คลอด ทารกโดยวิธีการคลอด (ร้อยละ 70.6, ร้อยละ 64.1; p=0.0001) ไม่แตกต่างกัน อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: กลุ่มที่มีโลหิตจางระหว่างตั้งครรภ์มีวิธีการคลอด ไม่แตกต่างจากกลุ่มที่ไม่มีโลหิตจาง ระหว่างตั้งครรภ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Cunningham FG, Gant NF, Leveno KJ, Gilstrap LCIII, Hauth JC, Wenstrom KD. Williams obstetrics. 23st ed. New York: McGraw-Hill; 2010:1079-85.

2. Amalia L A, Drora F B, Miriam Katz C, Moshe M C, Eyal S. Maternal anemia during pregnancy is an independent risk factor for low birthweight and preterm delivery. EJOGRB. Elsevier Ireland Ltd 2005;122:182-6.

3. Bondevik GT, Lie RT, Ulstein M, Kvale G. Maternal hematological status and risk of low birth weight and preterm delivery in Nepal. Acta Obstet Gynecol Scand 2001;80:402-8.

4. Ren A, Wang J., Ye R.W., Li S., Liu J.M., Z. Li. Low first-trimester hemoglobin and low birth weight, preterm birth and small for gestational age newborns. Int J Gynecol Obstet 2007;98:124-8.

5. Henna Hamalainen, Katja Hakkarainen, Seppo Heinonen. Anaemia in the first but not in the second or third trimester is a risk factor for low birth weight. Clin Nutr 2003;22:271-5

6. Farah Wali Lone, Rahat Najam Qureshi, Faran Emanuel. Maternal anaemia and its impact on perinatal outcome. Trop Med Int Health 9. 2004;486-90.

7. Monika Malhotra, Sharma J.B., Batra S., Sharma S., Murthy N.S., Arora R. Maternal
and perinatal outcome in varying degrees of anemia. Int J Gynecol Obstet 2002;79:93-100.

8. Scanlon KS, Yip R, Schieve LA, Cogswell ME. High and low haemoglobin levels
during pregnancy: differential risks for preterm birth and SGA. Obstet Gynecol 2000;96:741-7.

9. Chumnijarakij T, Nuchprayoon T, Chiti-nand S, Onthuam Y, Quamkul N, Dusitsin
N, et al. Maternal risk factors for low birth weight newborn in Thailand. J Med Assoc Thai 1992;75:445-52.

10. Cessie S Le, Verhoeff F H, Mengistie G, Kazembe P, Broadhead R, Brabin B J. Changes in Haemoglobin levels in infants in Malawi: effect of low birth weight and fetal anaemia. Arch Dis Child Fetal Neonatal Ed 2002;86:182-7.

11. World Health Organization. Managing Complications in Pregnancy and Childbirth. Geneva: World Health Organization; 2000.

12. World Health Organization. Pregnancy, Childbirth, Postpartum and Newborn Care: A Guide for Essential Practice. Geneva: World Health Organization, 2nd Edition; 2005.