ผลการทำงานของไตในผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับยาทีโนโฟเวียร์คู่กับโลปินาเวียร์ร่วมกับยาริโทนาเวียร์เปรียบเทียบกับได้รับยาทีโนโฟเวียร์คู่กับยาเนไวราปินหรือยาอิฟาเวอเร็นซ์ติดตามเป็นเวลาสองปี
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: ยาต้านไวรัสเอดส์ tenofovir disoproxil fumarate (TDF) เป็นยาทีอยู่ในสูตรสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสเอชไอวีที่มีเชื้อดื้อยา แต่ยา TDF มีผลข้างเคียงต่อการทำงานของไต ปัจจุบันในประเทศไทยยังไม่มีการศึกษาติดตามการทำงานของไตจากการใช้ยาTDF ในระยะเวลาสองปี การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การลดลงของการทำงานของไตร้อยละ 25 หลังได้รับยา TDF ร่วมกับยา lopinavir/ritonavir (LPV/r) เทียบกับยา TDF ที่ใช้ร่วมกับยาในกลุ่ม Nonnucleoside Reverse-Transcriptase Inhibitor (efavirenz หรือ nevirapine) เป็นเวลาสองปี
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลังในผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสเอชไอวีที่ได้เริ่มยา TDF ร่วมกับ LPV / r หรือ NNRTlsในคลินิกภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรงพยาบาลสุรินทร์ ตั้งแต่มกราคม พ.ศ. 2553 ถึงเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2557 เพื่อประเมินอัตราการกรองของไตโดยวิธีคำนวณด้วยสูตร modification of diet in renal disease (MDRD) โดยประเมินที่ก่อนเริ่มยาและสองปี โดยศึกษาข้อมูลทั่วไป ประวัติการรักษา และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยทั้งหมด 135 ราย มีผู้ป่วยทีได้รับยาด้านไวรัสเอดส์ร่วมเป็นยา efavirenz 49 ราย ร้อยละ 36.3 ยา nevirapine 47 ราย ร้อยละ 34.8 และยา lopinavir/ritonavir 39 ราย ร้อยละ 28.9 โดยอัตราการกรองของไตจากการใช้สูตร MDRD เมื่อก่อนเริ่มยา TDF เท่ากับ 92.72 ม.ล./นาทีต่อพื้นที่ผิวกาย 1.73 ตรม. เมื่อเฝ้าติดตามการใช้ยาTDFไปสองปี มีอัตราการกรองของไตลดลงเหลือ 81.75 ม.ล./นาทีต่อพื้นที่ผิวกาย 1.73 ตรม. พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) เมื่อแบ่งผู้ป่วยตามชนิดของยาต้านที่ใช้ร่วมจะพบว่ายา TDF ที่ใช้ร่วมกับยา LPV/r มีอัตราการกรองของไตลดลงมากที่สุดเมื่อครบสองปี เท่ากับ 15.36 มิลลิลิตรต่อนาทีต่อพื้นที่ผิวกาย 1.73 ตารางเมตร รองมาเป็นยา NVP และ EFV ตามลำดับ (11.38 และ 7.66 มิลลิลิตรต่อนาทีต่อพื้นที่ผิวกาย 1.73 ตารางเมตร) โดยกลุ่มที่ได้รับยา TDF ร่วมกับยา LPV/r มี creatinine clearance ลดลงจากเดิม ก่อนเริ่มยามากกว่า ร้อยละ 25 จำนวน 9 ราย จากทั้งหมด 39 ราย ร้อยละ 23.1 และกลุ่มที่ได้รับยา TDF ร่วมกับยา NVP หรือยา EFV มี creatinine clearance ลดลงจากเดิมก่อนเริ่มยามากกว่า ร้อยละ 25 จำนวน 17 ราย จากทั้งหมด 96 ราย ร้อยละ 17.7 คิดเป็น relative risk เท่ากับ 1.3 ที่ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (95% confidence interval) เท่ากับ 0.6 - 2.7 แต่อย่างไรก็ตามไม่พบ ผู้ป่วยที่ต้องหยุดยา TDF ระหว่างการศึกษาหรือมีการเปลี่ยนแปลงทางคลินิกของผู้ป่วย
สรุป: ที่ระยะเวลา 2 ปีหลังจากใช้ยา TDF ร่วมกับยา LPV/r พบมีอัตราการกรองของไตลดลงมากกว่า ร้อยละ 25 เป็น 1.3 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ยา TDF ร่วมกับยา NVP หรือยา EFV แต่ไม่มีการ เปลี่ยนแปลงทางคลินิกของผู้ป่วย และยังคงต้องการการศึกษาที่เฝ้าติดตามผู้ป่วยในระยะเวลานานขึ้น มีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น และมีกลุ่มควบคุมต่อไปในอนาคต
Article Details
References
2. ประพันธ์ ภานุภาค นมล, ทวีทร้พย์ ศิรประภาศิร, วสันต์ จันทราทิตย์, วิชัย เตชะสาธิต, อัจฉรา ธีรรัตน์กุล, กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ, สมนึก สังฆานุภาพ และคณะ. แนวทางการตรวจวินิจฉัยและ การดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ระดับชาติ ปี พ.ศ. 2553. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด: ศูนย์พัฒนาระบบบริการยาต้านไวรัสสำหรับ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยเอดส์ในประเทศไทย; 2553.
3. Zimmermann AE, Pizzoferrato T, Bedford J, Morris A, Hoffman R, Braden G. Tenofovir-associated acute and chronic kidney disease: a case of multiple drug interactions. Clin Infect Dis 2006;42:2:283-90.
4.Verhelst D, Monge M, Meynard JL, Fouqueray B, Mougenot B, Girard PM, et al. Fanconi syndrome and renal failure induced by tenofovir: a first case report. Am J Kidney Dis 2002;40:6:1331-3.
5.Karras A, Lafaurie M, Furco A, Bourgarit A, Droz D, Sereni D, et al. Tenofovir-related nephrotoxicity in human immunodeficiency virus-infected patients: three cases of renal failure, Fanconi syndrome, and nephrogenic diabetes insipidus. Clin Infect Dis 2003;36:8:1070-3.
6. Coca S, Perazella MA. Rapid communication: acute renal failure associated with tenofovir: evidence of drug-induced nephrotoxicity. Am J Med Sci 2002;324: 6:342-4.
7. Creput C, Gonzalez-Canali G, Hill G, Piketty C, Kazatchkine M, Nochy D. Renal lesions in HIV-1-positive patient treated with tenofovir. AIDS 2003;17:6:935-7.
8. Perazella MA. Drug-induced renal failure: update on new medications and unique mechanisms of nephrotoxicity. Am J Med Sci 2003;325:6:349-62.
9. Izzedine H, Hulot JS, Vittecoq D, Gallant JE, Staszewski S, Launay-Vacher V, et al. Long-term renal safety of tenofovir disoproxil fumarate in antiret- roviral-naive HIV-1-infected patients. Data from a double-blind randomized active-controlled multicentre study. Nephrol Dial Transplant. 2005;20:4:743-6.
10. Izzedine H, Launay-Vacher V, Deray G. Antiviral drug-induced nephrotoxicity. Am J Kidney Dis 2005;45:5:804-17.
11. Pierrat A, Gravier E, Saunders C, Caira MV, Ait-Djafer Z, Legras B, et al. Predicting GFR in children and adults: a comparison of the Cockcroft-Gault, Schwartz, and modification of diet in renal disease formulas. Kidney Int 2003;64:4:1425-36.
12. Goicoechea M, Liu S, Best B, Sun S, Jain S, Kemper C, et al. Greater tenofovir- associated renal function decline with protease inhibitor-based versus nonnucleoside reverse-transcriptase inhibitor-based therapy. J Infect Dis 2008;197:l:102-8.
13. Gallant JE, Parish MA, Keruly JC, Moore RD. Changes in renal function associated with tenofovir disoproxil fumarate treatment, compared with nucleoside reverse-transcriptase inhibitor treatment. Clin Infect Dis 2005;40:8:1194-8.