การศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตและภาวะสุขภาพจิต ระหว่างผู้ดูแลเด็กสมองพิการและผู้ดูแลเด็กปกติ

Main Article Content

จันทิรา หงส์รพิพัฒน์

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ภาวะสมองพิการเป็นกลุ่มอาการเรื้อรังที่มีสาเหตุมาจากพยาธิสภาพของสมอง ผู้ดูแล เด็กสมองพิการ ต้องใช้ทั้งเวลาและมีความยุ่งยากในการปฏิบัติกิจกรรมดูแล ซึ่งอาจ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและมีผลต่อภาวะจิตใจเพิ่มความเครียด ความวิตกกังวลได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิต ภาวะซึมเศร้าและภาวะวิตกกังวลของผู้ดูแลเด็กสมอง พิการ เปรียบเทียบกันผู้ดูแลเด็กปกติ และหาความสัมพันธ์ของระดับข้อจำกัดทางการเคลื่อนไหว (Gross motor function classification system-GMFCS) ของเด็กสมองพิการกับ คุณภาพชีวิต ภาวะซึมเศร้า และภาวะวิตกกังวลของผู้ดูแลเด็กสมองพิการ
รูปแบบการวิจัย: การศึกษากึ่งทดลอง
สถานที่ทำการศึกษา: คลินิกกระตุ้นพัฒนาการ แผนกเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลสุรินทร์
กลุ่มตัวอย่าง: ผู้ดูแลเด็กสมองพิการจำนวน 28 คน และผู้ดูแลเด็กปกติ จำนวน 28 คน
วิธีการศึกษา: ผู้ดูแลเด็กสมองพิการและผู้ดูแลเด็กปกติ จำนวนกลุ่มละ 28 คน ตอบแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามเครื่องชี้วัดคุณภาพขององค์การอนามัยโลกซุดย่อฉบับภาษาไทย แบบสอบถามประเมินและคัดกรองภาวะซึมเศร้า แบบสอบถามประเมินและคัดกรองภาวะวิตกกังวล
ผลการศึกษา: คุณภาพชีวิตชองผู้ดูแลเด็กสมองพิการมีความแตกต่างและตํ่ากว่าผู้ดูแลเด็กปกติ ในทุกด้าน (p= <0.001) โดยเฉพาะด้านจิตใจและส้มพันธภาพทางสังคม รวมถึงภาวะซึมเศร้าซึ่งพบในผู้ดูแลเด็กสมองพิการถึง 20 คน ร้อยละ 71.4 โดยที่กลุ่มควบคุม พบเพียง 5 คน ร้อยละ 17.9 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p=0.041) ส่วนภาวะวิตก กังวลมีน้อยเซ่นเดียวกับผู้ดูแลเด็กปกติซึ่งไม่แตกต่างในทางสถิติ (p=0.317)
สรุป: ภาวะทุพพลภาพของเด็กสมองพิการส่งผลให้ผู้ดูแลเด็กสมองพิการมีคุณภาพชีวิตใน ทุกด้าน โดยเฉพาะด้านจิตใจและส้มพันธภาพทางสังคมตํ่ากว่า รวมถึงมีภาวะซึมเศร้า ที่มากกว่าผู้ดูแลเด็กปกติอย่างชัดเจน ส่วนภาวะวิตกกังวลไม่มีความแตกต่างกัน ระดับ ของข้อจำกัดทางการเคลื่อนไหวของเด็กสมองพิการไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต ภาวะซึมเศร้า และภาวะวิตกกังวลของผู้ดูแลสมองพิการ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. ศรีนวล ชวศิริ. ภาวะสมองพิการ. ใน : กิ่งแก้ว ปาจรีย์. การฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์กรีนพริ้นท์ ; 2542 : 59

2. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานผลการสำรวจคนพิการและทุพพลภาพ ปี พ.ศ.2545 . กรุงเทพมหานคร : สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2545

3. Basaran A, Karadavut Kl, Uneri SO, Balbaloglu O, Atasoy N. The effect of having a children with cerebral palsy on quality of life, burn-out, depression and anxiety scores. Eur J Phys Rehabil Med 2013;49:1-8.

4. นวพร ชัชวาลพาณิชย์, กมลทิพย์ หาญผดุงกิจ, อรฉัตร โตษยานนท์. ภาวะสุขภาพจิตของผู้ดูแลเด็กกลุ่มอาการดาวน์ในช่วงอายุ 6 เดือน ถึง 18 เดือนที่หน่วยกระตุ้นพัฒนาการเด็ก โรงพยาบาลคิริราช. เวชศาสตร์ฟิ้นฟูสาร 2543;10:2:65-72.

5. Braddom RL, Chan L. Physical medicine and rehabilitation. 4th ed. Philadelphia : Elsevier/Saunders; 2011.

6. สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วิระวรรณ ตันติพิ วัฒนสกุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย. เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย. โครงการจัดทำโปรแกรมสำเร็จรูปในการสำรวจสุขภาพจิตในพื้นที่ 2545.

7. ธรรมนาถ เจริญบุญ. แบบประเมินและ แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าในประเทศไทย ข้อควรพิจารณาในการเลือกใช้. ธรรมศาสตร์เวชสาร 2554;11:4:667-76.

8. Beck AT, Steer & Brown GK. Manual for the Beck Depression Inventory; 1996. Available from: https:// WWW. med.navy.mil/sites/NMCP2/Patient Services/SleepClinicLab/ Documents/ Beck_Depression_lnventory.pdf.

9. Beck AT, Steer & Brown GK. Manual for the Beck Anxiety Inventory; 1996. Available from: https://www.childre- nandautism.com/wp-content/ uploads/2014/03/Beck-Anxiety-and- Depression-lnventory.pdf.

10. Ones K, Yilmaz E, Cetikaya B, Caglar N. Assessment of the quality of life of mothers of children with cerebral palsy (primary cargivers). Neurorehabil Neural Repair 2005;19:232-7.

11. Kaya L, Unsal-Delialioglu S, Ordu-Gokkaya NK, Ozisler Z, Er-gun N, Ozel S, et al. Musculo-skeletal pain, quality of life and depression in mothers of children with cerebral palsy. Disabil Rahabi 2010;32:1666-72.