การประเมินหลักสูตรการฝึกปฏิบัติการพยาบาลห้องคลอด โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: การฝึกปฏิบัติการพยาบาลห้องคลอด เป็นหลักสูตรที่มีความสำคัญต่อการพัฒนา พยาบาลวิชาชีพในการดูแลมารดาและทารก เนื่องจากการฝึกปฏิบัติการนี้พยาบาลวิชาชีพได้มีการทบทวนและพัฒนาความรู้ความมั่นใจในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินความคิดเห็นผู้เข้าอบรมหลักสูตรการฝึกปฏิบัติการพยาบาลห้องคลอดโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดศรีสะเกษ 4 ด้าน คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต
วิธีการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้เป็นการประเมินหลักสูตรการฝึกปฏิบัติการพยาบาลห้องคลอดโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดศรีสะเกษ โดยอาศัยหลักการประเมินผลรูปแบบซิปโมเดล (CIPP Model) ของแดเนียลแอลสตัฟเฟิลบีม กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในห้องคลอด โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดศรีสะเกษ สมัครใจเข้ารับการอบรมตามหลักสูตร 5 วัน ระหว่างวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2556 ถึง 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาดังนี้ ส่วนที่ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนที่ 2) แบบประเมินระดับความคิดเห็นของผู้รับการอบรมต่อการอบรม ส่วนที่ 3) แบบสอบถามความรู้ ก่อน-หลัง เรื่องการให้การพยาบาลมารดาทารก ทุกระยะของการคลอด ส่วนที่ 4) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะผู้เข้าอบรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์ได้แก่ Pair-Samples Test
ผลการศึกษา: ผู้เข้าอบรมมีความคิดเห็นต่อการจัดอบรมด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า(Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต(Products) ในระดับ เห็นด้วยมาก ผู้เข้าอบรมมีความรู้เรื่องการให้การพยาบาลมารดาทารกทุกระยะของ การคลอดหลังการอบรมสูงกว่าความรู้ก่อนการอบรมของพยาบาลวิชาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
Article Details
References
2. นฤมล ตรีเพชรแสงอุไร. การประกันคุณภาพการพยาบาลในโรงพยาบาล : งานบริการพยาบาลทางสูติกรรม. กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์ขุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย ; 2554.
3. สุกัญญา ประจุศิลปะ. การพิทักษ์ผู้ป่วยบทบาทพยาบาลวิชาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.
4. มนทรัตน์ อโณวรรณพันธ์ และคณะ. สมรรถนะของพยาบาลวิซาชีพที่ปฏิบัติงานในห้องคลอด โรงพยาบาลชุมชนเขตภาคเหนือตอนล่างตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพและหัวหน้างานห้องคลอด. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2551;20:150-64.
5. Kirkpatrick, DL. Evaluating In-House Training Program. Training and Development journal 1978;32:6-9.
6. เพราพรรณ เปลี่ยนภู่. จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ; 2542.
7. วิบูลย์ บุญยธโรกุล. คู่มือวิทยากรและผู้จัดการฝึกอบรม. กรุงเทพๆ : ด่านสุทธา ; 2545.
8. วัลลี สัตยาศัย. การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก รูปแบบการเรียนรู้โดยผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ : บุ๊คเนต ; 2547.
9. ชูชัย สมิทธิไกร. การอบรมบุคลากรในองค์การ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย; 2542.