เปรียบเทียบการให้ออกซิเจนและไม่ให้ออกซิเจนในระยะที่ 2 ของการคลอด ต่อผลของ Blood Gas ในหลอดเลือดแดงของสายสะดือ

Main Article Content

พรไพโรจน์ มิตรปราสาท

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: การให้ออกซิเจนแก่มารดาขณะคลอดได้มีการปฏิบัติกันทั่วไปโดยเฉพาะในกรณีที่ ตรวจพบหรือสงสัยว่าทารกในครรภ์มีการขาดออกซิเจน ซึ่งมีหลายการศึกษาสนับสนุนแต่ได้มีการศึกษาที่พบว่า การให้ออกซิเจนเป็นระยะเวลานาน หรือให้ในขนาดสูงอาจส่งผลต่อค่า blood gas ของทารก ในครรภ์ได้ การศึกษาครั้งนี้ จึงต้องการทราบประโยชน์ของการให้ออกซิเจนแก่มารดาขณะคลอดในโรงพยาบาลศูนย์ สุรินทร์ ซึ่งได้มีการปฏิบัติเป็นประจำโดยเฉพาะกรณีสงสัยทารกในครรภ์มีการขาดออกซิเจน
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบค่าของ blood gas ในหลอดเลือดแดง ของสายสะดือระหว่างการ ให้ออกซิเจนและไม่ให้ออกซิเจนในระยะที่ 2 ของการคลอดในสตรีตั้งครรภ์ที่คลอดในโรงพยาบาลศูนย์สุรินทร์
สถานที่ศึกษา: กลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลศูนย์สุรินทร์
รูปแบบการวิจัย: วิจัยเชิงทดลองแบบไปข้างหน้า (prospective randomized clinical trial)
วิธีการวิจัย: สตรีตั้งครรภ์ครบกำหนดคลอดที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะขาดออกซิเจนของทารกในครรภ์ ที่มาคลอดในโรงพยาบาลศูนย์สุรินทร์ จำนวน 52 ราย แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับออกซิเจน 10 ลิตรต่อนาทีผ่านทาง mask with bag และไม่ได้รับออกซิเจนในระยะที่2 ของการคลอดแบบสุ่มสลับเจาะเลือดจากหลอดเลือดแดงของสายสะดือ ทันทีหลังคลอด ส่งตรวจหา blood gas บันทึกข้อมูลทั่วไปและ ค่า blood gas เปรียบเทียบทั้ง 2 กลุ่ม
สรุปผลการศึกษา: กลุ่มที่ได้รับและไม่ได้รับออกซิเจนไม่พบความแตกต่างของ APGAR score ที่ 1 นาที, 5 นาที และ 10 นาที ค่าเฉลี่ยความดันก๊าซออกซิเจนในหลอดเลือดแดงของสายสะดือในกลุ่มที่ได้รับออกซิเจนมีค่าต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ออกซิเจน คือ 15.15±3.0 mmHg และ17.38±4.58 mmHg ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.043) ค่าเฉลี่ยความดันก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ กลุ่มที่ได้รับออกซิเจน มีค่าสูง กว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับออกซิเจน คือ 58.50±7.04 mmHg และ 53.62±8.39 mmHg ตามลำดับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.028) ค่าเฉลี่ย bicarbonate กลุ่มที่ได้รับออกซิเจนมีค่าสูงกว่ากลุ่มที่ไมได้รับออกซิเจนคือ 27.60±1.33mmol/l และ 26.60±2.13 mmol/l ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.048) ส่วนค่าเฉลี่ยของ pH และค่าเฉลี่ยของ base excess ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ ในกลุ่มที่ได้รับออกซิเจน ระยะเวลาที่ให้เฉลี่ย 23.81±16.58 นาที
สรุป: การให้ออกซิเจนในสตรีตั้งครรภ์ ขณะคลอดเป็นระยะเวลานานมีแนวโน้มส่งผล กระทบต่อระดับก๊าซในเลือดของทารก ควรจะมีการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อยืนยันผลที่ได้เพื่อจะนำไปปฏิบัติใช้ต่อไป

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Althabe O, Schwarcs RL, Pose SV, Escarcena L. Effects on fetal heart rate and fetal PO2 of oxygen adminis tration to the mother. Am J obstet Gynecol 1967;98:858-70.

Mandez-Bauer C, Arnt IC, Gulin L, Escarcena L. Relationship between blood pH and heart rate in the human fetus during labor. Am J Obstet Gynecol 1967;97:530-45.

Gare DJ, Shime J, Paul WM, Hoskins M. Oxygen administration during labor. Am J Obstet Gynecol 1969;105:954-61.

Khazin AF, Hon EH, Hehre FW. Effect of maternal hyperoxia on the fetus. Am J Ostet Gynecol 1971;109:628-37.

Willcourt RJ, King JC, Queenan JT. Maternal oxygenation administration and the fetal transcutaneous PO2. Am J Obstet Gynecol 1983;146:714-5.

McNamara H, Johnson N, Lilford R. The effect on fetal arteriolar oxygen saturation resulting from giving oxygen to the mother measured by pulse oximetry. Br J Obstet Gynecol 1993;100:446-9.

Thorp JA, Trobough T, Evans R, Hedrick J. The effect of maternal oxygen administration during the second stage of labor on umbilical cord blood gas values : a randomized controlled prospective trial. Am J Obstet Gynecol 1995;172:465-74.

Simpson KR, James DC. Efficacy of intrauterine resuscitation techniques in improving fetal oxygen status during labor. Obstet Gynecol 2005;105:1362-8.

Piggott SE, Bogod DG, Rosen M, Rees GA. Isoflurane with either 100% oxygen or 50% nitrous oxide in oxygen for caesarean section. Br J Anaesth 1990 ; 65:325-9.

Ramanathan S, Gandhi S, Arismendy J, Chalon J. Oxygen transfer from mother to fetus during cesarean section under epidural anesthesia. Anesth Analg 1982;61:576-81.

Miller FC, Petrie RH, Arce JJ. Hyperventilation during labor. Am J Obstet Gynecol 1974;120:489-95.

Motoyuma EK, Rivard G, Acheson F. Adverse effect of maternal hyperventi-lationon foetus. Lancet 1966;1:286-8.

Peng AT, Blancato LS, Motoyama EK. Effect of maternal hypocapnia V. eucapnia on the foetus during caesarean section. Br J Anaesth 1972; 44:1173-8.

Perreault c, Blaise GA, Meloche R. Maternal inspired oxygen concentration and fetal oxygenation during caesarean section. Can J Anaesth 1992;39:155-7.

Crosby ET, Halpern SH. Supplemental maternal oxygen therapy during caesarean section under epidural anesthesia : a comparison of nasal prongs and face mask. Can J Anaesth 1992;39:313-6.

Nattie EE. Central chemosensitivity, sleep, and wakefulness. Respir Physiol 2001;129:257-68.

Busija DW, Orr JA, Rankin JH. Cerebral blood flow during normocapnic hyperoxia in the unanesthetized pony. J Appl Physiol 1980;48:10-5.

Khaw KS, Wang CC, Ngan Kee WD, Pang CP. Effects of high inspired oxygen fraction during elective caesarean section under spinal ananesthesia on maternal and fetal oxygenation and lipid peroxidation. Br J Anaesth 2002;88:18-23.