รายงานผู้ป่วย : ผู้ป่วยที่เกิดภาวะพอร์ไฟเรียหลังจากการระงับความรู้สึก

Main Article Content

สุริสา ศิริวงศ์

บทคัดย่อ

โรคพอร์ไฟเรีย เป็นโรคที่พบได้น้อยในประชากรไทย ผู้ป่วยอาจมาพบแพทย์ด้วยอาการผิดปกติทางจิตเวชหรือระบบประสาทร่วมกับอาการปวดท้องแบบเฉียบพลัน แต่ผ่าตัดแล้วไม่มีความผิดปกติในช่องท้อง หากมีอาการปัสสาวะเข้ม อาจทำให้สับสนกับภาวะอื่น ทำให้การวางแผนการรักษาไม่เหมาะสม กระตุ้นโรคให้เป็นมากขึ้นและอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้
รายงานนี้ได้นำเสนอผู้ป่วยชายไทย 36 ปี ซึ่งเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยอาการปวดท้อง เฉียบพลัน ผู้ป่วยมีอาการขาดน้ำค่อนข้างรุนแรงร่วมกับมีอาการหัวใจเต้นเร็ว ผ่าตัดไม่พบความผิดปกติ แต่ หลังผ่าตัดสังเกตพบปัสสาวะเปลี่ยนสี ภายหลังพยายามหาสาเหตุ พบว่า ผู้ป่วยเป็นโรคพอร์ไฟเรีย และในการระงับความรู้สึกมีการใช้ยา Thiopental ซึ่งอาจเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดภาวะโรคดังกล่าว ดังนั้นผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้องเฉียบพลัน ร่วมกับการมีอาการผิดปกติทางจิตเวชหรือระบบประสาท มีภาวะหัวใจเต้นเร็ว ผ่าตัดไม่พบความผิดปกติ ควรนึกถึงภาวะพอร์ไฟเรียร่วมด้วยเสมอ และ หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่อาจกระตุ้นให้ เกิดภาวะโรค และปัจจัยกระตุ้นอย่างอื่น รวมทั้งให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวและการดูแลตัวเองของผู้ป่วย

Article Details

บท
รายงานผู้ป่วย

References

Nick Lane (2002-12-16). “Born to the purple: the story of porphyria.” Scientific American. Retrieved 2008-08-05. Available from : URL : https://en.wikipedia.org/wiki/Porphyria.

Jensen NF. Fiddler DS., Striepe V. Anesthetic Considerations in Porphyrias. Anesth Analg 1995;80:591-9.

Robert J. Desnick, Kenneth H. Astrin. “The porphyrias”. In AnThony S. Fauci et al. Editors. Harrisons Principles of internal medicine. 17th ed. New York: MaGraw-Hill, 2008. p. 2434-2444.

Tschudy DP, Valsamis M, Magnussen CR. Acute Intermittent porphyria : clinical and selected researck aspects. Ann Int Med 1975;83: 851-64.

Moore MR, McColl KEL, Remington C, Goldberg A. Disorders of porphyrin metabolism. IN : ed. New York: Plenum Medical book company, 1987;

Stein JA, Tschudy DP. Acute intermittent porphyria: a clinical and biochemical study of 46 patients. Medicine 1970;49:1-16.

Srugo I, Said E Korman S, Jaffe M. Acute intermittent porphyria - an unusual case of “Surgical abdomen”. Euro J Pediatr 1987; 146: 305-8.

Eales L. Linder GC. Porphyria - the acute attack : analysis of 80 cases. S Afr Med J 1962;284-92

Eales L, Dowdle EB. Electrolyte abnormalities in porphyria. Lancet 1969 ; 1:51

อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ. “เรียนอายุรศาสตร์จากกรณีผู้ป่วย เล่ม 5” พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพมหานคร : ซิล์คโรดพับบลิเซอร์เอเยนซี; 2549 .

Zaider E, Bickers DR. Clinical laboratory methods for diagnosis of the porphyrias. Clin Dermatol, Mar-Apr 1998;16(2):277-93.

Atle Brun. “The drug database of acute porphyria” 2007. [cited October 16th, 2011], Available from : URL : https://www.drugs-porphyria.org/languages/UnitedKingdom/sl.php?l=gbr.

Moore MR, McColl KEL, Goldberg A. Drugs and the acute porphyrias. Trends in Pharmacol Sci 1981; 2 : 330-4

Porphyrias. The Merck Manuals: The Merck Manual for Healthcare Professionals. [Cited October 12th, 2011], Available from: URL: https://www.merckmanuals.com/professional/print/secl2/chl55/ch155a.html.

Lange B, Hofweber K, Waldherr R, Scharer K. Congenital erythropoietic porphyria associated with nephrotic syndrome and renal siderosis. Acta Paediatr. 1995 Nov;84(11):1325-8.

Elder GH, Smith SG, Smyth SJ. Laboratory investigation of the porphyrias. Ann Clin biochem. Sep 1990;27(Pt5):395-412

Puy H, et al. Porphyrias. The Lancet. 2010;375:924.

Anderson KF. Porphyrias: An overview. [Cited October 12th, 2011]. Available from : URL : https://www.uptodate.com/home/index.html.

Baccino E, Wah LSHLC, Bressolette L, Mottier D. Cimetidine in the treatment of acute intermittent porphyria. JAMA 1989; 262 : 3000.

Kanaan C, Veille JC, Lakin M. Pregnancy and acute intermittent porphyria. Obstet Gynecol Surv 1989 ; 44 : 244-9.