ผลสัมฤทธิ์ของคลินิกโรคหืดโรงพยาบาลกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

โสมนัส โกยสวัสดิ์

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: โรคหืดเป็นโรคเรื้อรังทีพบบ่อยและเป็นสาเหตุสำคัญของการเข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉินและในโรงพยาบาล จากการสำรวจผลการรักษาโรคหืดในประเทศไทย พบว่าการรักษาโรคหืดยังต่ำกว่ามาตรฐานจากปัญหาดังกล่าวโรงพยาบาลกระสังจึงได้ตั้งคลินิกโรคหืด (Easy asthma clinic) ตามแนวทางของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อ เดือนตุลาคม 2548 โดยการนำ GINA guideline มาใช้ในการดูแล
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับการควบคุมโรคหืด, อัตราการเข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉิน, อัตราการนอนโรงพยาบาล, ภาวะแทรกซ้อน ของผู้ป่วยก่อนและหลังการรักษาในคลินิก โรคหืด (Easy asthma clinic)
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบเก็บข้อมูลย้อนหลัง
วิธีการวิจัย: ประชากรคือผู้ป่วยโรคหืดที่มีอายุมากกว่า 5 ปีที่เข้ารับการรักษาที่โรคหืดติดต่อกันอย่างน้อย36 เดือน จำนวน 105 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่แบบบันทึกการรักษาของคลินิก โรคหืดในช่วง 1 ตุลาคม พ.ศ.2548 - 30 ก.ย. พ.ศ.2554โดยวัดผลเดือนที่ 0, 12, 24, 36 วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์ ได้แก่ วิเคราะห์ความแปรปรวน (One -way Anova), Chi-sqaure, Paired t-test และ Fisher exact test.
ผลการวิจัย: ระดับการควบคุมอาการโรคหืดที่ 0,12,24,36 เดือนหลังการรักษา พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.000) โดยสามารถควบคุมอาการได้ (controlled) คือร้อยละ 14.1, 59.0, 57.3, 53.3 ตามลำดับ และการมารักษาในห้องฉุกเฉินลดลง เท่ากับร้อยละ 78.8, 10.5, 4.8, 4 ร้อยละการนอนโรงพยาบาลด้วยภาวะหืดฉับพลันลดลง เท่ากับร้อยละ 40, 2.9, 1.9, 5 ตามลำดับ ซึ่งผลลัพธ์มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.000) โดยปริมาณระดับยาพ่นสเตียรอยด์ไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนด้วย โรควัณโรค ปอดอักเสบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: การจัดตังคลินิกโรคหืดสามารทำได้ในโรงพยาบาลชุมชนและทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาตามมาตรฐานมากขึ้น สามารถควบคุมโรคได้ดีขึ้น และมีความปลอดภัย

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Primatesta P, Golacre MJ. Inguinal herniarepair, incidence of elective and emergency surgery.Int J Epidemol 1996; 25:835-9.
2. ชาญวิทย์ตันติ์พิพัฒน์. hernias. ใน : สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ, พัฒน์พงศ์ นาวีเจริญ, บรรณาธิการ. ตำราศัลยศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ; 2553.
หน้า 633-49.
3. Russell RCG, William NS.Bulstrode CJK. Bailey &Love’s Short practice of surgery 24th ed. London : Arnold ; 1272-1293
4. Terranova O, Battocchio F. The bassini- operation.In:Lioyd MN. Ed. Mastery ofsurgery. 3rd ed. Boston : Little Brown, company; 1997:1807-10.
5. Paul A, Troidl H, Williams JL, RixenD, Langen R. Randomizedtrial of modified Bassini versus Shouldice inguinal hernia repair. The cologne Hernia study group.Br J Surg 1994; 81:1531-4.
6. Lichtenstein IL, Schulman AG. Ambulatory outpatient hernia surgery.Including a new concept: Introducing tension-free repair.IntSurg 1986; 71:1-4.
7. Malik Zl, Ahmad E, Ayub GH, Khan SH. Lichtenstein repair. J Surg PIMS 1993; 5: 18 - 9.
8. Bhopal FG, Niazi GHK, Iqbal M. Evaluation of Lichtenstein repair for morbidity and recurrence. J Surg Pak 1998; 3(1): 20 2.
9. Moloney G. Darning in inguinal hernias. Ach Surg 1972; 104:129.
10. Manzar S. Inguinal hernia incidene, complications and management. JCPSP 1992;2: 7-9.
11. Ali N, Israr M, Isman M. recurrence after primary inguinal hernia repair: mesh versus darn. Pak J Surg 2008; 24:3:153-5.
12. Koukourou A, Lyon W, Rice J, Wattchow DA. Prospective randomized trial of polypropylene mesh compared with nylon darn in inguinal hernia repair. Br J Surg 2001; 88:931-4.
13. Friis E. Tension free herniotomy using the Lichtenstein method. Results of five years experience. Ugeskr-Laeger 2000; 162:11: 1556-9.
14. Moloney GE. Results of nylon darn repairs of hernia. Lancet 1958; 1: 273-8.
15. Bhopal FG, Niazi GHK, Iqbal M. Evaluation of Lichtenstein repair for morbidity and recurrence. J Surg Pak 1998; 3:1: 20 2.