ความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมในการบริหารงาน กับความสุขในการทำงาน ของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลขนาด 60 เตียง จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

ภุชงค์ ไชยชิน

บทคัดย่อ

เหตุผลของการวิจัย: ปัญหาการขาดอัตรากำลังเนื่องจากการลาออกของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน นับเป็นปัญหาสำคัญในปัจจุบัน การมีส่วนร่วมในการบริหารงานนั้นเป็นวิธีหนึ่งที่จะทำให้บุคลากรสามารถทำงานได้อย่างมีความสุข
วัตถุประสงค์: เพื่อวัดระดับการมีส่วนร่วมในการบริหารงาน ระดับความสุขในการทำงาน และ ความสัมพันธ์ ระหว่างการมีส่วนร่วมในการบริหารงานกับระดับความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ
สถานทีศึกษา: โรงพยาบาลชุมชน ขนาด 60 เตียง 5 แห่งในจังหวัดบุรีรัมย์
รูปแบบการศึกษา: การวิจัยเชิงสำรวจ
วิธีการศึกษา: เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม รวบรวมข้อมูลวิเคราะห์หาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ความแปรปรวนทางเดียว และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 80.7 มีส่วนร่วมในการบริหารงานในระดับปานกลาง และระดับสูง และร้อยละ 65.9 มีความสุขในการทำงานในระดับปานกลาง ผู้ที่มีอายุมาก และระยะเวลา การปฏิบัติงานนานกว่า จะมีส่วนร่วมในการบริหารงาน และมีความสุขในการปฏิบัติงาน มากกว่าผู้ที่มีอายุน้อย และระยะเวลาการปฏิบัติงานน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญ และ ผู้ทีมีส่วนร่วมในการบริหารงานมากจะมีความสุขในการทำงานมากกว่าผู้ที่มีส่วนร่วมในการ บริหารงานน้อยอย่างมีนัยสำคัญ (r=0.64, p-value<0.001)
สรุป: กลุ่มอายุ อายุงาน และสถานภาพการจ้างงาน มีผลต่อความสุขในการทำงานและการมีส่วนร่วมกับการบริหารงาน และการมีส่วนร่วมในการบริหารงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับ ความสุขในการทำงาน
คำสำคัญ: ความสุขในการทำงาน / การมีส่วนร่วมในการบริหารงาน / พยาบาลวิขาชีพ/โรงพยาบาล ขนาด 60 เตียง

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. ข้อมูลประกอบการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครอง ผู้เสียหายจากการรับบริการ สาธารณสุข. นนทบุรี:สำนักงานคณะกรรมการ สุขภาพแห่งชาติ; 2553.
2. ทัศนา บุญทอง. พลังพยาบาลกับการปฏิรูป การบริการใกล้บ้านใกล้ใจ.วารสารหมออนามัย 2551; 18:41-5.
3. กองแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงมหาวิทยาลัย. ความต้องการกำลังคนสาขาพยาบาลศาสตร์ ในช่วง 10 ปีข้างหน้า (พ.ศ.2535-2544); กรกฎาคม 2535.
4. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์. รายงาน ประจำปี 2553. บุรีรัมย์:สำนักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข; 2553(5/7):11-8.
5. สุวิริยา สุวรรณโคตร. ปัญหาจริยธรรมทางการ พยาบาล. วารสารวิทยาลัยศรีมหาสารคาม 2546;5:1:1-9.
6. Laschinger HK, Finegan J, Shamian J, Wilk P. Impact of structural and psycho¬logical empowerment on job strain in nursing work setting expanding Kanter’s model. J NursAdm 2001;31:5:260-72.
7. LetrakeS. Retraining the older nurse. J NursAdm 2002; 32(7/8):387-92.
8. Diener E. Subjective Well-Being. The science of happiness and proposal for a national index. Am Psychol 2000; 1:34-43.
9. ธงชัย สันติวงษ์. การบริหารงานบุคคล: Personal Management. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ :ไทยวัฒนาพานิช; 2546.
10. อภิรดี สุขแสงดาว. ความสัมพันธ์ระหว่าง บรรยากาศองค์การกับการมีส่วนร่วมในการ บริหารงานตามการรับรู้ของอาจารย์พยาบาล วิทยาลัยพยาบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาคุรุศาสตร์มหาบัณฑิต]. นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา; 2530
10. วิศรุต ขันริกุล. สัมฤทธิ์ผลการทำงานแบบกลุ่ม และการมีส่วนร่วมในการบริหารงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในพื้นที่ท่า อากาศยานไทย.[วิทยานิพนธ์ปริญญา ดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2552.
11. นภัชชล รอดเที่ยง. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรที่สังกัดศูนย์อนามัยในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. [วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาคาสตรมหาบัณฑิต] สาขาวิชาเอกอนามัยครอบครัว. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล; 2550
12. รัชนี หาญสมสกุล. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการทำงาน ลักษณะงานกับความสุขในการทำงานของบุคคลากรพยาบาลประจำสถานพยาบาล สังกัดกรมราชทัณฑ์. [วิทยานิพนธ์ปริญญา พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต]. กรุงเทพๆ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.
13. Swansburg RC. Management and leadership for nurse managers. Sudbury Massachusetts : Jones and Bartlett Publishers; 1996.