ผลการรักษาและภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บ ของกล่องเสียงในโรงพยาบาลบุรีรัมย์

Main Article Content

ประเสริฐ ว่องชูวงศ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการรักษาและภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บของกล่องเสียงใน โรงพยาบาลบุรีรัมย์
รูปแบบการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง
ผู้ป่วยและวิธีการ: ทำการศึกษาในผู้ป่วยที่ได้รับการบาดเจ็บของกล่องเสียงจำนวน 6 ราย และได้รับ การรักษาโนโรงพยาบาลบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2548-30 พฤษภาคม
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่ได้รับการบาดเจ็บของกล่องเสียงจำนวน 6 ราย แบ่งเป็นชนิด blunt injury 3 ราย penetrating injury 3 ราย ได้รับการรักษาแบบประคับประคอง (conservative treatment) 2 ราย และการผ่าตัดรักษา (surgical treatment) 4 ราย ผู้ป่วย 5 รายมีผลการรักษาอยู่ในเกณฑ์ที่ดีไม่มีปัญหาเรื่องการหายใจ การพูดและการกลืน ผู้ป่วย 2 รายพบแผลติดเชื้อ และ 2 ราย มีอัมพาตของสายเสียง ผู้ป่วย 1 ราย เสียชีวิตจากภาวะหายใจล้มเหลว
ผลสรุป: การบาดเจ็บของกล่องเสียงเป็นภาวะที่มีความสำคัญมากเนื่องจากมักพบปัญหาต่อ ระบบทางเดินหายใจได้บ่อย ซึ่งถ้ารุนแรงอาจมีผลต่อการหายใจของผู้ป่วยจนถึง ขั้นทำให้เสียชีวิตได้ หรือถ้าไม่รุนแรงก็อาจทำให้เกิดทุพพลภาพของกล่องเสียงตาม มาในภายหลังได้ การวินิจฉัยที่ถูกต้อง และการรักษาที่เหมาะสมจะช่วยลดการเสีย ชีวิตของผู้ป่วย หรือลดความพิการของกล่องเสียงลงได้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Cummings: Otolaryngology Head &Neck Surgery, 4th ed. Chapter 92-Laryngeal and esophageal trauma. St.Louis : Mosby, 2005.

2. Eliachar 1. Management of acute laryngeal trauma. Acta Otorhinolaryngol Belg. 1996:50:151-8.

3. Bent JP, Silver JR, Porubsky ES. Acute laryngeal trauma: a review of 77 patients. Otolaryngol Head Neck Surg 1993:109:441-9.

4. Schaefer SD. The acute management of external laryngeal trauma. A 27-year experience. Arch Otolaryngol Head Neck Surg 1992:118(6):598-604.

5. Gussack GS, Jurkovich GJ, Luterman A. Laryngotracheal trauma: a protocol approach to a rare injury. Laryngoscope 1986:96:660-5.

6. Walter T Lee; Ron Eliashar; Isaac Eliachar. Acute external laryngotracheal trauma: Diagnosis and management. Ear, Nose &Throat Journal 2006;85(3):179-84.

7. Bell RB, Verschueren DS, Dierks EJ. Man¬agement of laryngeal trauma, Oral Maxillofacial SurgClin N Am 2008;20:415-30.

8. Jewett BS, Shockley WW, Rutledge R. External laryngeal trauma analysis of 392 patients. Arch Otolaryngol Head Neck Surg 1999:125:877-80.

9. Juutilainen M, Vintturi J, Robinson S, Back L, Lehtonen H, Makitie AA. Laryngeal fractures: clinical findings and considerations on suboptimal outcome. Acta Oto- Laryngologica 2008:128:213-8.

10. Hwang SY, Yeak SCL. Management dilemmas in laryngeal trauma. The Journal of Laryngology and Otology 2004;118:325-8.

11. Weigelt JA, Thai ER, Snyder WH, et al. Diagnosis of penetrating cervical esoph-ageal injuries. Am J Surg 1987;154:619-22.

12. Schaefer SD, Brown OE. Selective application of CT in the management of laryngeal trauma. Laryngoscope 1983;93:1473-5.