การศึกษาประสิทธิผลการระงับปวดของยา Parecoxib ที่ให้ก่อนผ่าตัดในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้อง

Main Article Content

วิภาวี ศิริเดช

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปริมาณการให้ morphine, VNRS และผลข้างเคียงจากยา ระงับปวดหลังผ่าตัด 24 ชั่วโมง ในผู้ป่วยที่ได้รับ parecoxib40 mg ก่อนการผ่าตัด และผู้ป่วยที่ได้รับยา morphine ตามปกติ
รูปแบบการวิจัย: Randomized controlled trial (RCT)
สถานที่ศึกษา: ห้องผ่าตัด, หอผู้ป่วยนรีเวช โรงพยาบาลสุรินทร์
กลุ่มเป้าหมาย: ผู้หญิง อายุ 18-55 ปี ASA class I-II มารับการผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้องที่ห้องผ่าตัดโรงพยาบาลสุรินทร์ จำนวน 60 ราย
วิธีการศึกษา: การศึกษาแบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 34 คน โดยวิธีสุ่มตัวอย่าง กลุ่มทดลองได้รับยา parecoxib40 mg ก่อนผ่าตัด 30 นาที และ 12 ชั่วโมงหลัง จากนั้นกลุ่มควบคุมได้รับการดมยาสลบ และให้ morphine เพื่อระงับปวดตามแนวทางปฏิบัติ ผู้ป่วยจะได้รับการประเมิน VNRS ที่ 4, 8, 12, 24 ชั่วโมง หลังผ่าตัด บันทึกปริมาณ morphine และผลข้างเคียงจากยาระงับปวด
สถิติ: Independent t-test และ Chi-square Test
ผลการศึกษา: ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม ไม่แตกต่างกันทางสถิติ
- ปริมาณยา morphine เฉลี่ยที่ให้หลังผ่าตัด 24 ชั่วโมง ในกลุ่ม parecoxibน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
- คะแนนความปวด (VNRS) หลังผ่าตัดที่ 4, 8, 12 ชั่วโมง ในกลุ่ม parecoxibน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ที่ 24 ชั่วโมง หลังผ่าตัด VNRS ไม่แตกต่างกัน
พบว่าในกลุ่มควบคุม มีผู้ป่วยที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนมากกว่ากลุ่ม parecoxibอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: การใช้ยา parecoxibร่วมกับ morphine ช่วยลดระดับความปวดแผล ทำให้ผู้ป่วย ต้องการมอร์ฟินลดลง เกิดผลข้างเคียงเรื่องคลื่นไส้ อาเจียนลดลง ช่วยให้ผู้ป่วย ฟื้นตัวจากการผ่าตัดได้เร็วขึ้น
Key words: Parecoxib, การระงับปวดหลังผ่าตัด, การผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้อง

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. ปิ่น ศรีประจิตติชัย. การระงับปวดหลังผ่าตัด. ฟื้นฟูวิชาการวิสัญญีวิทยา 2543;26:225-32

2. Suansanae S. Update clinical evidence of specific COX-2 inhibitor for acute pain management. Medicaltime 2007;July:1-8

3. สุรกิจ นาฑีสุวรรณ. บทบาทของยา parecoxibในการรักษาอาการปวดจากการผ่าดัด. Medical Progress 2006 ; December : 1-4

4. นุชนารถ บุญจึงมงคล, วรวุธ ลาภพิเศษพันธ์, ณัฏฐิรา ปิ่นทุกาศ, ศรัญยา ปาระมีธง. ผลการให้ Rofecoxib ก่อนการผ่าตัดต่อการระงับปวดหลังการผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้อง. วิสัญญีสาร 2547;4:135-139

5. G. Riest, J. Peter, et al. Preventive effects of perioperative parecoxib on post- discectomy pain. British Journal of Anesthesia 2007;7:1-7

6. Sinatra R. Role of COX-2 Inhibitors in the evolution of acute pain management. J. Pain Symptom Manage 2002;24:518-27

7. Woolf CJ. Pre-emptiveanalgesia: treating postoperative pain by preventing the establishment of Central sensitization. Anesth Analg 1993;77:362-79

8. Jeffery S. Kroin, Robert B. Steinberg, et al. Postoperative Modulation of Central nervous System Prostaglandin E2 by Cyclooxygenase Inhibiters after Vascular Surgery. Anesthesiology 2006;104:411-6