ภาวะสุขภาพและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตในผู้ป่วยโรค หลอดเลือดสมองหลังถูกจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

พรรณทิพย์ มูลศาสตรสาธร

บทคัดย่อ

บทนำ: จากข้อมูลของโรงพยาบาลสุรินทร์ ในปีพ.ศ.2546 พบว่าโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เป็นสาเหตุการตายลำดับที่ 3 รองจากโรคหัวใจ, อุบัติเหตุและการเป็นพิษ ทั้งนี้เพราะ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสุรินทร์ ได้รับการฟื้นฟู สมรรถภาพในระยะเวลาอันสั้นและการติดตามผลการฟื้นฟูทำได้ด้วยความยากลำบาก
วัตถุประสงค์: เพื่ออธิบายภาวะสุขภาพหลังถูกจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลสุรินทร์ และหาความ สัมพันธ์ของปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิต ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) โรงพยาบาลสุรินทร์ เลือกตัวอย่าง โดยเจาะจง จำนวน 298 ราย โดยทำการศึกษาเชิงวิเคราะห์ (Analytical Study) ใช้ แบบประเมินที่ปรับปรุงจาก Barthel Index มีเนื้อหา 2 ส่วนคือ การทำงานของ อวัยวะข้างที่เป็นอัมพาต/อัมพฤกษ์ จำนวน 4 รายการ และการช่วยเหลือตัวเองใน ชีวิตประจำวันจำนวน 12 รายการ โดยศึกษาภาวะสุขภาพ และหาความสัมพันธ์ ระหว่างการมีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ กับ การเสียชีวิตของผู้ป่วย หลังถูกจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลสุรินทร์ ในระยะเวลา 1 ปี โดยใช้สถิติถดถอยพหุแบบลอจีสติก (Multiple logistic Regression) ที่ระดับนัย สำคัญทางสถิติ a = 0.05
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเป็นชาย 36.58% เป็นหญิง 63.42% ส่วนใหญ่มีอายุ 71-80 ปี (26.86%) จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา (75.50%) ประกอบอาชีพเกษตรกรรม (53%) มีรายได้/เดือนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 2,000 บาท (68.50%) หลังจากถูกจำหน่าย ออกจากโรงพยาบาลสุรินทร์แล้ว 1 ปี พบว่า การทำงานของแขน มือ ดีขึ้น การ ช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีพัฒนาการมากขึ้น คือสามารถลุก นั่งได้เอง (66.17%) กินอาหารได้เอง (77.44%) แปรงฟันล้างหน้าหวีผมได้ด้วยตนเอง (59.02%) แต่งตัวได้ด้วยตัวเอง (31.58%) อาบน้ำ เช็ดล้างหลังขับถ่ายได้แต่ต้องมีคน ช่วย (47.70%) เดินได้ด้วยตัวเอง (63.80%) และขึ้นบันไดด้วยตัวเอง (51.70%) ไปหา เพื่อนบ้านได้ด้วยตนเอง (63.80%) ไปตลาดหรือร่วมงานต่างๆ ได้เอง (36.10%) แต่ไม่ สามารถทำงานบ้านได้ (55.60%) และไม่ได้ประกอบอาชีพ (72.89%) เมื่อหาความ สัมพันธ์โนการเสียชีวิตพบว่า มีผู้เสียชีวิต 32 ราย โดยผู้ชายมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าผู้ หญิงถึง 2.43 เท่า [OR =2.43 (95%CI=1.176-5.198)] สาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตมากที่สุด คือ การป่วยเป็นทั้ง3 โรค ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ พบว่ามี โอกาสเสียชีวิตถึง 8.185 เท่า [OR= 8.185 (95%CI=4.825-12.367)]
สรุป: หลังถูกจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลแล้ว 1 ปี ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความสามารถในการช่วย เหลือตนเองดีขึ้น แต่ไม่สามารถทำงานบ้านและประกอบอาชีพเดิมได้อีก ผู้ป่วยที่เสีย ชีวิตส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย และผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวพร้อมกันทั้งโรคเบาหวาน ความดัน โลหิตสูงและโรคหัวใจ จะมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าผู้ป่วยที่มีโรคดังกล่าวเพียง 1 หรือ 2 โรค หรือไม่มีโรคประจำตัว
คำสำคัญ: โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะสุขภาพ คุณภาพชีวิต

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Doyle, Patrick J. PhD. Measuring Health Outcome in Stroke Survivors. Ach Phys Med Rehabil 2002 ; supplz:39-43.

2. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือความรู้เรื่องอัมพาต อัมพฤกษ์ สำหรับประชาชน. กรุงเทพฯ : กระทรวงสาธารณสุข, 2550. หน้า 43.

3. นิพนธ์ พวงวรินทร์. โรคหลอดเลือดสมอง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เรือนแก้ว, 2534.

4. Medical and Geriatric Unit, Shatin Hospital, Hong Kong. Outcome After Stroke Rehabilitation in Hong Kong. Clin Rehabil 1997 Aug; 11(3):236-42.

5. Lai, Sue Min, Alter, Milton, Friday, Gary and Sobel, Eugene. Prognosis for Survival After an Initial Stroke. Stroke 1995;26:2011-5.

60 Thom, Thomas, Haase, Nancy, Rosamond, Wayne, Howard, Virginia J., Rumsfeld, John, et al. Heart Disease and Stroke Statistics-2006 Update: A Report From the American Heart Association Statistics Committee and Stroke Statistics Subcommittee. Circulation 2006;113:e85-e151.

7. Almadal, Thomas. Scharling, Henrik. Jensen, Jan Skov and Vestergaard, Henrik. The Independent Effect of Type 2 Diabettes Mellitus on Ischemic Heart Disease, Stroke, and Death. Archives of Internal Medical 2008;164 :1422-26.

8. Patel, M.D., McKevitt, C., Lawrence, E„ Rudd, A.G. and Wolfe, C.D.A. Clinical Determinants of Long-term Quality of Life After Stroke. Age and Ageing 2007;36:316-22.

9. Willmot, Mark. Leonardi-Bee, Jo and Bath, Phillip M
.w. High Blood Pressure in Acute Stroke and Subsequent Outcome ; A systematic Review. Hypertension 2004;43:18-24.

10. Wilkinson, Peter R, Wolfe, Charles D.A., Warburton, Fiona G., Rudd, Anthony G., Howard, Robin S., Ross-Russell, Ralph W. and Beech, Roger R. A Long-term Follow-up of Stroke Patients. Stroke 1997;28:507-12.

11. Thomgren, M , Westling, B and Norrving, B. Outcome After Stroke in Patients Discharged to Independent Living. Stroke 1990;21:236-40.

12. ธัญลักษณ์ โอบอ้อม. หน้าต่างวิจัย : ปกป้อง ครอบครัวจาก “ภัยอัมพาต”. https://www.doctor.or.th หน้า 1 จาก 14