การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจดการทรัพยากรมนุษย์ และบรรยากาศองค์กรที่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงาน ของบุคลากรโรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

สุภัทรา สงครามศรี

บทคัดย่อ

เหตุผลในการวิจัย: การจัดการทรัพยากรมนุษย์สามารถนำไปใช้ได้ในทุกระดับชั้นขององค์กร ทั้งใน หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน เพราะทรัพยากรมนุษย์ เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของการจัดตั้งองค์กรได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ ระดับการส่งผล และค้นหาตัวพยากรณ์ที่ดีสำหรับทำนาย ผลการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลสุรินทร์ จากตัวพยากรณ์การจัดการ ทรัพยากรมนุษย์ และบรรยากาศองค์กร
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงสำรวจ
วิธีการศึกษา: กำหนดขนาดตัวอย่างร้อยละ 10 ของประชากร ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 150 คน โดยการสุ่มแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใซ้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม 1 ฉบับ ที่มืค่าความเชื่อมั่น 0.96 เก็บรวบรวมข้อมูลเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ และค้นหาตัว พยากรณ์ที่ดี ใช้วิธีวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้น
ผลการศึกษา: ตัวพยากรณ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ และบรรยากาศในองค์กร มีความสัมพันธ์ ทางบวกกับผลการปฏิบัติงานในระดับต่ำมากถึงปานกลาง แต่มีการส่งผลอยู่ในระดับสูง มีค่าเท่ากับ 0.719 หรือร้อยละ 51.70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 และตัวพยากรณ์ที่ดี ประกอบด้วย การจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้านการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ ด้านการสรรหาและการคัดเลือกทรัพยากรมนุษย์ ด้านการพัฒนา และการฝึกอบรมทรัพยากรมนุษย์ ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้านการยุติการจ้างงาน และบรรยากาศในองค์กรด้านโครงสร้างองค์กร ด้านความสามัคคี ด้านการติดต่อสื่อสารภายใน และด้านความเป็นอิสระในองค์กร โดยตัวพยากรณ์ที่ดีทั้งหมดร่วมกันส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับสูง มีค่าเท่ากับ 0.717 หรือ ร้อยละ 51.40 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05
สรุป: การจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้านการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ ด้านการสรรหา และการคัดเลือกทรัพยากรมนุษย์ ด้านการพัฒนาและการฝึกอบรมทรัพยากรมนุษย์ ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้านการยุติการจ้างงาน และบรรยากาศ ในองค์กรด้านโครงสร้างองค์กร ด้านความสามัคคี ด้านการติดต่อสื่อสารภายใน และด้านความเป็นอิสระในองค์กร สามารถพยากรณ์ผลการปฏิบัติงานได้ร้อยละ 51.40 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05
คำสำคัญ: การจัดการทรัพยากรมนุษย์, บรรยากาศองค์กร

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

ดนัย เทียนพุฒ. การบริหารทรัพยากรบุคคล สู่ศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ดี เอ็น ที คอนซัลแตนท์ ; 2545 : 17.

Singer, Marc G. Human Resource Management. Boston : PWS-KENT ; 1990; 3.

Mescon Albert and Khedouri. Management. New York : Harper & Row; 1985 : 17.

Warner, D. and Palfreyman, D. Higher Education Management. Buckingham : The Society for Research into Higher Education & Open University Press. ; 1996 ; 93.

ชนันนัทธ จันทร์รินทร์. อิทธิพลของการจัดการทรัพยากรมนุษย์และบรรยากาศองค์การต่อ ผลการปฏิบัติงานของพนักงานในเขตนิคม อุตสาหกรรมภาคเหนือ. การค้นคว้าอิสระ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (จิตวิทยาอุตสาหกรรม และองค์การ) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ; 2550 : บทคัดย่อ.

เพชรมณี วิริยะสืบพงศ์. การพัฒนาตัวบ่งชี้รวมคุณภาพกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ของวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. (การบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ; 2545 : บทคัดย่อ.