ภาวะหลอดเลือดดำในสมองอุดตันในผู้ป่วยโรงพยาบาลสุรินทร์ ปี 2547-2552
Main Article Content
บทคัดย่อ
เหตุผลของการวิจัย: ภาวะหลอดเลือดดำในสมองอุดตัน เป็นภาวะที่พบไดไม่บ่อย การวินิจฉัยโรคนี้ทำ ได้ลำบาก เนื่องจากอาการแสดงของโรคสามารถแสดงได้หลายอย่างแตกต่างกันไป ส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยเพศหญิงอายุน้อยจนกระทั่งวัยกลางคน การวินิจฉัยโรคนี้ มี ความ สำคัญเพราะถ้า ผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจเกิดภาวะ แทรกซ้อนตามมาและทำให้เกิดการเสียชีวิตได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอาการและอาการแสดง การวินิจฉัยแรกรับ สาเหตุ การรักษา และ ผลการรักษา รวมทั้งภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยที่มีภาวะหลอดเลือดดำในสมองอุดตันในโรงพยาบาลสุรินทร์
สถานที่ศึกษา: โรงพยาบาลสุรินทร์
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนา โดยเป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง
วิธีการศึกษา: รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลของผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 15 ปี ที่มีภาวะหลอดเลือดดำในสมองอุดตัน และเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสุรินทร์ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ค. 2547 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2552
ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยจำนวน 8 ราย เพศหญิง 4 ราย เพศชาย 4 ราย อายุระหว่าง 19-41 ปี อาการแสดง ปวดศีรษะ 8 ราย เห็นภาพซ้อน 2 ราย ชัก 4 ราย แขนขาอ่อนแรง 3 ราย พูดไม่ชัดร่วมกับมีอาการกลืนลำบาก 1 ราย ผลการตรวจทางรังสีพบว่า ผู้ป่วยมีภาวะหลอดดำในสมองอุดตันบริเวณ Superior sagittal sinus (SSS) จำนวน 6 ราย Transverse sinus (TS) 3 ราย Sigmoid sinus (SS) 2 ราย Vein of Galen 1 ราย ปัจจัยเสี่ยงที่มีความลัมพันอกับการเกิดภาวะหลอดเลือดดำโน สมองอุดตันมีตังนี้ พบภาวะเลือดแข็งตัวตัวผิดปกติ (Coagulopathy) ทั้งหมด 3 ราย ทุกรายมีภาวะ Protein S deficiency ภาวะโรคเม็ดเลือดแดงมากผิดปกติ (Polycythemia vera) 1 ราย มีประวัติใช้ยาคุมกำเนิด 1 ราย Antiphospholipid syndrome 1 ราย ผู้ป่วย 1 ราย มีโรคประจำตัวเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวร่วมกับ มีประวัติได้รับยาเคมีบำบัด L-asperagenase อีก 2 ราย ไม่ทราบสาเหตุชัดเจน สำหรับการรักษาผู้ป่วยในระยะแรก ผู้ป่วย 7 ราย ได้รับการรักษาโดยการฉีดยา ป้องกันการแข็งตัวของเลือด Low molecular weight heparin (LMWH) ตาม ด้วยรับประทานยาเพื่อป้องกันการแข็งตัวของเลือด (Warfarin) ต่อเนื่อง ในการศึกษาครั้งนี้มีผู้ป่วยเสียชีวิตจำนวน 1 ราย โดยที่ผู้ป่วยรายนี้มีภาวะหลอดเลือดดำในสมองส่วนลึกอุดตัน (Deep venous system)
สรุป: อาการแสดงภาวะหลอดเลือดดำในสมองตีบมีได้หลากหลายอาจส่งผลให้แพทย์ ผู้รักษาวินิจฉัยได้ลำบาก การวินิจฉัยโรคนี้ส่วนใหญ่ต้องอาศัยการตรวจเอกซเรย์ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง การที่แพทย์ผู้รักษาตระหนักถึงภาวะนี้และส่งการตรวจ รักษาเพิ่มเติมที่เหมาะสมจะช่วยให้การวินิจฉัยเป็นไปอย่างรวดเร็วและสามารถให้ การรักษาได้อย่างเหมาะสมทันท่วงที ส่งผลให้ลดอัตราความพิการและอัตราการ เสียชีวิตของผู้ป่วย
คำสำคัญ: ภาวะหลอดเลือดดำในสมองอุดตัน อาการแสดง สาเหตุ การรักษา การพยากรณ์โรค ผลการรักษา
Article Details
References
David SL. Venous disorders. In: John HN, editor. Neurological therapeutics principles and practice. 2nd. ed. United kingdom: Informa Healthcare ; 2006. p. 613-29.
Stam J. Thrombosis of the cerebral veins and sinuses. NEJM 2005;352:1791-8.
Kimber J. Cerebral venous thrombosis. QJ MED 2002;95:137-42.
Canhao P, Ferro JM Lindgren AG, Bousser MG, Stam J, Barinagarrementeria F. Causes and predictors of death in cerebral venous thrombosis. Stroke 2005;36:1720-5.
Khealani BA, Wasay M, Saadah M, Sultana E, Mustafa S, Khan FS, et al. Cerebral venous thrombosis: A descriptive multicenter study of patients in Pakistan and Middle East. Stroke 2008 ;39:2707-11.
De Bruijn SFTM, Haan RJ, Stam J. Clinical features and prognostic factors of cerebral venous sinus thrombosis in a prospective series of 59 patients. Neurol Neurosurg Psychiatry 2001;70: 105-8.
Ferro JM, Canhao P, Stam J, Bousser MG, Barinagarrementeria F. Prognosis of cerebral vein and dural sinus thrombosis: results of the International Study on Cerebral Vein and Dural Sinus Thrombosis (ISCVT). Stroke 2004;35:664-70.
De Bruijn SFTM, Stam J. Randomized, placebo-controlled trial of anticoagulant treatment with low-molecular-eight heparin for cerebral sinus thrombosis. Stroke 1999;30:484-8.
Stam J, de Bruijn S, deVeber G. Anticoagulation for cerebral sinus thrombosis. Stroke 2003 ;34:1054-55.