การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบองค์รวม โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี

Main Article Content

นวลจันทร์ ประเคนรี
สมพร เทพสุริยานนท์
พัชนี ทองประเสริฐ

บทคัดย่อ

เหตุผลในการทำวิจัย: ความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยและครอบครัวที่เผชิญกับวาระสุดท้ายของชีวิต และ การดูแลแบบมีส่วนร่วม ครอบคลุมทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ เพื่อให้ ผู้ป่วยเผชิญกับวาระสุดท้ายได้อย่างเหมาะสม และเสียชีวิตอย่างสงบสมศักดิ์ศรี
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลสำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบองค์รวม
สถานที่วิจัย: โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี
รูปแบบการวิจัย: วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participation Action Research)
วิธีการวิจัย: ผู้ร่วมวิจัยเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 67 คน ผู้ป่วย และ ครอบครัว 60 คน ใน 13 หน่วยงาน จาก 7 แผนก คือ อายุรกรรม กุมารเวชกรรม ศัลยกรรม นรีเวชกรรม หน่วยบาดเจ็บไขสันหลัง โสต ศอ นาสิก และงานการ แพทย์ทางเลือก จากตุลาคม 2551 - ธันวาคม 2552 แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ 1) ศึกษาข้อมูลสถานการณ์และปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2) พัฒนารูปแบบ แนวทางปฏิบัติ 3) นำแผนสู่การปฏิบัติ ลักษณะเป็นวงจร คือ วางแผน นำแผน รุปการปฏิบัติ สังเกต สะท้อนการปฏิบัติ และนำมาปรับปรุงจนได้รูปแบบการดูแล ที่เป็นความต้องการร่วมกัน 4) ประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบที่พัฒนาได้ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ สังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม สนทนา แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และการตอบแบบสอบถามปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูล เชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และการสรุปจากข้อเท็จจริง ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ
ผลการวิจัย: รูปแบบที่พัฒนาได้ ประกอบด้วย 1) การพัฒนาสมรรถนะผู้ให้บริการ ได้แก่ เพื่อ องค์ความรู้ ฝึกปฏิบัติพัฒนาจิต เรียนรู้ร่วมกันโดยการประชุมสะท้อนคิด สะท้อน การปฏิบัติ สะท้อนความรู้ศึกที่แท้จริง และสนทนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การนิเทศติดตาม และประเมินการปฏิบัติ 2) การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างผู้ป่วยครอบครัวและทีมสุขภาพ พัฒนานวัตกรรม แนวทางปฏิบัติ และจัดเวทีนำเสนอเพื่อเผยแพร่ 3) การประสานส่งต่อเครือข่าย ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังและระยะสุดท้ายในชุมชน ร่วมกับศูนย์องค์รวม (จิตอาสาชุมชน) ศูนย์ประสานการดูแลต่อเนื่อง และศูนย์ดูแลที่บ้าน
สรุป: ปัจจัยสำคัญในการดูแลเป็นองค์รวม คือ การส่งเสริมการเรียนรู้ การสื่อสาร การมีส่วนร่วม ประสานเครือข่ายการดูแล และประเมินผลการปฏิบัติ ประสิทธิผล ของรูปแบบ เมื่อสิ้นสุดการวิจัย พบว่าผู้ให้บริการมีความพึงพอใจ ร้อยละ 88.62 เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร้อยละ 87.69 ครอบครัว/ญาติได้มีส่วนร่วมดูแล ร้อยละ 92.31 ได้แสดงความคิดเห็นและมีการตัดสินใจร่วมกัน ร้อยละ 90.15 เกิดปองทางการสื่อสารระหว่างผู้ป่วย/ครอบครัวและสมาชิกในทีมสุขภาพ ร้อยละ87.38 เกิดความร่วมมือระหว่างสหวิชาชีพ ร้อยละ 81.85 เกิดเครือข่ายการมี ส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยที่มีคุณภาพ ทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลครอบคลุมทั้ง ร่างกาย จิตใจ สังคม จิตวิญญาณ เศรษฐานะ เผชิญกับวาระสุดท้ายของชีวิต ได้อย่างมีคุณภาพ และเสียชีวิตอย่างสงบ ครอบครัวมีความพึงพอใจ ร้อยละ 90.15
คำสำคัญ: องค์รวม ผู้ป่วยระยะสุดท้าย การพัฒนารูปแบบ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

เต็มศักดิ์ พึ่งรัศมี. การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ใน การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : อักษรสัมพันธ์; 2550.

สกล สิงหลกะ. Palliative care : how to improve your care. ใน : การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: อักษรสัมพันธ์; 2550.

สุมาลี นิมมานิตย์. ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะใกล้ตาย. ใน : ก่อนวันผลัดใบ. ใน ไพศาล ลิ้มสถิตย์ และ อภิราชย์ ขันธ์เลน บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ : บริษัท เอมี่ เอนเตอร์โพรส์ จำกัด ; 2551.

อัมพรพรรณ ธิรานุต ดลวิวัฒน์ แสนโสม นงลักษณ์ เมธากาญจนศักดิ์ วาสนา รวยสูงเนิน. การพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องแบบเป็นองค์รวมสำหรับผู้ป่วยสูงอายุโรคเรื้อรัง : กรณีศึกษาในโรงพยาบาลศูนย์. วารสารสมาคมพยาบาลสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 2552;27(2):65-76.

พัชนี ทองประเสริฐ, ชมพู ขาววงศ์, พัชรากร มิ่งไชย และคณะ. โครงการรักษาใจยามป่วยไข้ : การดู แลองศ์รวมวิถีพุทธ. อุบลราชธานี. โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ; 2549. (อัดส์าเนา)

Emanuel LL, von Gunten CF, Ferris FD. The education for physicians on End-of- Life Care (EPEC) curriculum, Participant, Handbook, Elements and Models of End- of-Life Care; 1999.

สีฟ้า เวหะชาติ ปนัดดา ลิ้มธงเจริญ. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลบางละมุง. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2550 ;15(2):47-60.

Malacrida, R. Reason for dissatisfaction : A survey of relatives of intensive care patients who died. Critical Care Nursing Medicine 1998; 26(7):1187-93.

ภุชงค์ เหล่ารุจิสวัสดิ์. การสื่อสารกับผู้ป่วยระยะสุดท้าย. ใน : การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพมหานคร: อักษรสัมพันธ์; 2550.

สิวลี ศิริไล. การพยาบาลแบบองค์รวม ใน จริยศาสตร์สำหรับพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร. ส์านักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย; 2551:152-93.

Cassem NH, Brendel RW. End of Life Issues : Principles of Care and Ethics. In Stern TA, et al. อ้างใน ภุชงค์ เหล่ารุจิสวัสดิ์ การสื่อสารกับผู้ป่วยระยะสุดท้าย ใน : การดูแล ผู้ป่วยระยะสุดท้าย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: อักษรสัมพันธ์; 2550. 114-33.