ผลการใช้ Care Map ในการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรง กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

พงศ์นเรศ โพธิโยธิน

บทคัดย่อ

เหตผลของการวิจัย: การบาดเจ็บที่ศีรษะเป็นปัญหาที่พบบ่อยประมาณ 2% ของประชากรต่อปี และมี แนวโน้มรุนแรงมากขึ้น ทำโห้ผู้ป่วยเสียชีวิตหรืออาจเกิดภาวะแทรกช้อนหาก]ม่ ได้รับการดูแลรักษาที่ทันท่วงที การพัฒนาระบบการดูแลผู้ปวยบาดเจ็บที่ศีรษะ รุนแรงโดยไข้แผนการดูแล (Care Map) จะทำให้การดูแลผู้ป่วยมีประสิทธิภาพ
มากขน
วัตถุประสงค์: เพี่อประเมินการใช้ Care map ในการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรงและศึกษา เปรียบเทียบผลการใช้ Care Map ก่อนและหลังการศึกษา
สถานที่ศึกษา: กลุ่มงานสัลยกรรม โรงพยาบาลสุรินทร์
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเปรียบเทียบผลก่อนและหลังการศึกษา (Before and after study) กลุ่มตัวอย่าง: ขนาดและการลุ่มกลุ่มตัวอย่าง ใช้การเลือกแบบเจาะจงก่อนการใช้ Care Map จำนวน 30 ราย และหลังการใช้ Care Map จำนวน 30 ราย
วิธีการศึกษา: เก็บข้อมูลวันที่ 1 มกราคม 2550 - 31 ธันวาคม 2551 การวิจัยเป็นการประเมิน แผนการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรง วิเคราะห์ข้อมูล สถิติพรรณนาใช้จำนวน ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอนุมานใช้ Independent t-test
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพคชายลัดส่วน 9 : 1 มีอายุอยู่ระหว่าง 15-44 ปี สาเหตุ การบาดเจ็บเกิดจากอุบัติเหตุจราจร พยาธิสภาพส่วนใหญ่เป็น Diffuse Axonal Injury (DAI) ก่อนการใช้ Care Map มิการปฏิบัติตามแผนการดูแลโดยรวม ร้อยละ 73.3 อัตราการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ 15.6 : 1,000 วันคาท่อ ช่วยหายใจ อัตราการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ 0.9 : 1,000 วันคาสายสวน อัตราการเกิดแผลกดทับ 1.3 : 1,000 วันนอนโรงพยาบาล อัตราการเกิดภาวะ ทุพโภชนาการระดับสูง ร้อยละ 0.5 อัตราการเกิดภาวะซัก ร้อยละ 3.3 อัตรา การเกิดเลือดออกในทางเดินอาหาร ร้อยละ 3.3 หลังการใช้ Care Map มิการ ปฏิบัติตามแผนการดูแลโดยรวมดิขึ้นเป็น ร้อยละ 90.6 ทำให้พบภาวะแทรกช้อน ลดลง คือ อัตราการติดเชื้อทางเดินระบบทางเดินหายใจ 10.9 : 1,000 วัน คาท่อช่วยหายใจ อัตราการเกิดแผลกดทับ 1.1 : 1,000 วันนอนโรงพยาบาล และ พบว่าคาเฉลี่ยของจำนวนวันคาท่อช่วยหายใจ จำนวน-วันคาสายสวนปัสสาวะ และ จ่านวนวันนอนโรงพยาบาลลดลงอย่างมินัยส์าคัญทางสถิติ (p < .05) หลังการใช้ Care Map ส่วนค่าเฉลี่ยจ่านวนวันนอนก่อนเข้า ICU จ่านวนวันนอนโน ICU และค่าใช้จ่าย พบว่าไม่แตกต่างกัน
สรุป: การปฏิบัติตามแผนการดูแล (Care Map) จะช่วยให้คุณภาพของการดูแลรักษา ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรงดีขี้น โดยช่วยลดภาวะแทรกช้อน ลดจำนวนวันนอน และจำนวนวันการรักษาพยาบาล Care Map, บาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรง

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Elegant S, Horn R, Yong H, Kuo K, Xu J, Rajan S, Zabriskie P. Mean streets. Time. 2004 ;164:6:34 - 41.

ศุภกิจ สงวนดีกุล. ศิลปะในการรักษาบาดเจ็บที่ศีรษะสมาคมประสาทศัลยศาสตร์แห่งประเทศไทย. [2 ธ.ค. 2552], แหล่งข้อมูล. https://ebrainl.com/hbtbi.html

Jennett B, Snoek J, Bond MR, Brooks N. Disability after severe head injury : Observations on the use of the Glasgow Outcome Scale. J Neurol Neurosurg Psychiatry 1981;44(4):285-93.

Andrew IR, Stocchetti N, Bullock R. Moderate and severe traumatic brain injury in adults. The Lancet Neurology 2008;7:8:728-41.

Iacono LA, Neurosci nurs. Exploring the guidelines for the management of severe head injury. J Neurosci Nurs 2000;32:1:54-60

โรงพยาบาลสุรินทร์ งานเวชระเบียนและสถิติ ศูนย์ข้อมูล. สถิติโรงพยาบาลสุรินทร์ ปี 2548-2550. สุรินทร์ : โรงพยาบาลสุรินทร์ ; 2550. (เอกสาร อัดสำเนา)

อรุณ กิจมหาตระกูล. บาดเจ็บที่ศีรษะโรงพยาบาลหาดใหญ่. สงขลานครินทร์เวชสาร. 2542:17:2:103-108

สุรกรานต์ ยุทธเกษมสันต์. การศึกษาผลการรักษาผู้ป่วยบาดเจ็บทางสมองในโรงพยาบาล ขอนแก่นและการวิเคราะห์ปัจจัยทางคลินิกที่มีความสัมพันธ์กับ Glasgow Outcome Scale. วารสารอุบัติเหตุ 2549;25:2:53-61

ศักดิ์ชัย ตั้งจิตวิทยา. บาดเจ็บรุนแรงที่ศีรษะ ในโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการ แพทย์เขต 15-17 2549;20:2:73

ประภัสร บัณทุรัตน์. การติดเชื้อในโรงพยาบาล ในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะโรงพยาบาลมหาราชนคร เชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ภาควิชาพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย ; มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ; 2542.